"อนุสรณ์"ชี้มาตรการช้อปลดหย่อนภาษี มีนัยสำคัญต่อศก.น้อย,หวั่นบริโภค Q1/59 ลด

ข่าวเศรษฐกิจ Sunday December 27, 2015 11:52 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า

มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายช่วงเทศกาลปีใหม่ของรัฐบาล ด้วยการให้ผู้มีเงินได้ซื้อสินค้าหรือบริการระหว่างวันที่ 25 ธ.ค.-31 ธ.

ค.58 สามารถนำเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่ได้จ่ายไปนั้นมาหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี

ภาษี 2558 ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาทนั้น น่าจะส่งผลบวกต่อการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในช่วงดังกล่าวแต่จะไม่ได้มี

ผลทำให้เศรษฐกิจปีหน้าเติบโตเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด และจะทำให้การบริโภคสินค้าบางชนิดในช่วงไตรมาสแรกลดลง

"มาตรการนี้มีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจโดยรวมน้อยมาก แต่อาจทำให้ประชาชนรู้สึกว่า รัฐบาลไม่ได้อยู่นิ่งเฉย พยายามแก้

ปัญหา ซึ่งตอนนี้เศรษฐกิจก็ไม่ได้มีปัญหาวิกฤติอะไร มีเพียงมาตรการนี้มีแนวคิดคล้ายกับมาตรการลดภาษีสำหรับรถคันแรก...ส่วนกรณี

ลดหย่อนภาษีกระตุ้น Shopping จะทำให้ยอดขายและเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้นช่วงก่อนเทศกาลปีใหม่ แต่พอคนซื้อสินค้าจำนวนมากกว่า

ปกติเพื่อให้ได้สิทธิลดหย่อนภาษีแม้นจะเป็นสินค้าจำเป็นและเป็นสินค้าไม่คงทนก็ตาม อุปสงค์ในการบริโภคในช่วงไตรมาสแรกก็จะลด

ลง แต่หากซื้อเป็นสินค้าคงทน อาจทำให้ยอดขายสินค้าคงทนปรับตัวลดลงได้ในช่วง 6 เดือนถึงหนึ่งปีข้างหน้า"นายอนุสรณ์ กล่าว

นายอนุสรณ์ กล่าวว่า สิ่งที่จะมีผลการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคมากกว่า คือความมั่นคงในงาน

ความเชื่อมั่นต่อรายได้ในอนาคต การเพิ่มค่าจ้าง ราคาพืชผลเกษตรปรับตัวสูงขึ้น ระดับหนี้ครัวเรือนที่ลดลง อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ รวม

ทั้งเสถียรภาพทางการเมือง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มาตรการลดหย่อนภาษีดังกล่าวแม้นจะมีผลระยะสั้นและชั่วคราว แต่จะเป็น

ประโยชน์ต่อผู้มีรายได้ระดับปานกลางมากที่สุด และมาตรการนี้จะมีผลกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่า หากผู้ซื้อสินค้าและบริการไปซื้อสินค้า

และบริการที่ผลิตในประเทศจากกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก

ทั้งนี้ หลักการที่ดีของนโยบายภาษีต้องยึดหลักประสิทธิภาพ ยึดหลักความยุติธรรม เป็นการจัดเก็บตามความสามารถในการ

เสียภาษี โดยยึดหลักที่ว่า ผู้ใดได้รับบริการจากรัฐมากกว่าสมควรต้องจ่ายภาษีให้แก่รัฐสูงกว่าผู้ที่ได้รับบริการจากรัฐน้อยกว่า หลัก

ความสะดวก ภาษีอากรที่จัดเก็บจะต้องสะดวก ไม่ยุ่งยากทั้งด้านผู้จัดเก็บและผู้เสียภาษี ค่าใช้จ่ายในการบริหารการจัดเก็บภาษีไม่สูง

เกินไป ไม่เกิดช่องโหว่ทั้งด้านกฎหมายและการจัดเก็บจนทำให้เกิดการเลี่ยงภาษีขึ้น หลักความแน่นอน ภาษีอากรที่จัดเก็บจะต้องมีการ

ระบุรายละเอียดด้านต่างๆ ในการจัดเก็บไว้ชัดเจนและประกาศให้ประชาชนทราบอย่างเปิดเผย

รัฐบาลสามารถประมาณการรายได้จากภาษีอากรที่จะจัดเก็บได้ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานราชการที่จัดเก็บ ซึ่ง

จะเป็นประโยชน์ในการประมาณการรายรับของรัฐบาลต่อไป การใช้มาตรการภาษีเป็นการชั่วคราวบ่อยๆไม่ใช่เรื่องที่ดีนักในการ

บริหารภาษี หลักการนโยบายภาษีที่ดีต้องยึดหลักประหยัด รัฐจะต้องไม่เสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสูงเกินไป การจัดเก็บไม่ซ้ำซ้อน ไม่

ทำให้ผู้เสียภาษีหมดแรงจูงใจในการทำงาน นอกจากควรยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันอีกด้วย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ