"รฟม.ยังไม่มีศักยภาพ เพราะกู้เงินจากกระทรวงการคลังมาดำเนินการไม่ครบ loop ทำให้ประกาณการผู้โดยสาร ประมาณการรายได้ยังไม่เป็นไปตามเป้า ไม่สามารถหาเงินมาจ่ายภาระหนี้ได้...รฟม.คำนวณว่าจะมีรายได้มากกว่ารายจ่ายเป็นปีแรกในปี 67" พล.ต.สรรเสริญ กล่าว
เดิม ครม.เมื่อปี 38 มีมติที่จะแบกรับภาระดอกเบี้ยเงินกู้ค่าออกแบบ ค่าก่อสร้าง ค่าจ้างที่ปรึกษาแทน รฟม.เป็นเวลา 10 ปี โดยมีการจ่ายดอกเบี้ยแทนเป็นระยะๆ ต่อมาเมื่อปี 46 ครม.มีมติเปลี่ยนแปลงให้รับภาระชำระคืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเงินกู้ในช่วง 3 ปีแรก(ปี 2546-2549) พอมาถึงปี 49 ครม.มีมติให้ยืดระยะเวลาออกไปเป็น 5 ปี(ปี 2550-2554) และเมื่อปี 53 ครม.มีมติขยายเวลาต่ออีก 5 ปี(ปี 2555-2559)
ทั้งนี้ รฟม.มีภาระหนี้เงินกู้เพื่อดำเนินโครงการรถไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2537-2583 ทั้งหมดราว 1.62 แสนล้านบาท ซึ่งหากคำนวณถึงวันที่ 31 ส.ค.58 จะมีหนี้สินจากโครงการเดิม 4.6 หมื่นล้านบาท และโครงการใหม่และส่วนต่อขยายอีก 7 หมื่นกว่าล้านบาท โดยรัฐบาลจะเข้ามาช่วยรับภาระหนี้แทน รฟม.เป็นรายปีไปตามภาระหนี้ที่เกิดขึ้นจริงประมาณ 2.67 หมื่นล้านบาท