กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการใน 2 มาตรการ คือ1.) มาตรการที่ 1 การส่งเสริมความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน โครงการสร้างรายได้จากพืชทดแทนนาปรัง ในพื้นที่ 22 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 งบกลาง ซึ่งเสนอให้กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการดังกล่าว เกษตรกรเป้าหมาย จำนวน 155,183 ราย งบประมาณ 356,920,900 บาทโดยสำนักงบประมาณได้จัดสรรงบประมาณดังกล่าวให้กรมส่งเสริมการเกษตร และดำเนินการโอนจัดสรรให้จังหวัดแล้ว เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2558 โดยมีการถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรแล้ว จำนวน 38,645 ราย ส่งมอบปัจจัยการผลิตแล้ว จำนวน 37,521 ราย และดำเนินการเพาะปลูกแล้ว จำนวน 12,853 ราย 2.) มาตรการที่ 4 การเสนอโครงการตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง โครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้ง ปี 2558/59 กรณีพืชน้ำน้อยทั้งประเทศ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2558 อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 งบกลาง ซึ่งเสนอให้กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการกรณีพืชน้ำน้อย ระยะที่ 1 จำนวน 167 โครงการงบประมาณ 167,566,685 บาท โดยกรมส่งเสริมการเกษตรขอรับการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงบประมาณ จำนวน 155 โครงการ งบประมาณ 151,936,060 บาท ดำเนินการโอนจัดสรรให้จังหวัดแล้ว เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2558 และดำเนินการโอนจัดสรรให้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล (ศบกต.) เรียบร้อยแล้ว
สำหรับกรณีพืชน้ำน้อย ระยะที่ 2 ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการแก้ไขปัญหาวิกฤติภัยแล้ง ปี 2558/59 แล้ว จำนวน 406 โครงการ อยู่ระหว่างนำเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดการประชุมสัมมนาเจ้าหน้าที่ เพื่อชี้แจงสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยาสถานการณ์การเพาะปลูกข้าวนาปรัง และเชื่อมโยงผลผลิตกับตลาด/ผู้รับซื้อ ตามมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปี 2558/59 ให้เจ้าหน้าที่ได้รับความรู้ และสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการตามมาตรการดังกล่าวได้ โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1, 2, 3 และ 9 เกษตรจังหวัด และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำแม่กลอง รวมทั้งสิ้น 150 คนการดำเนินงานตามาตรการดังกล่าว ถือว่าเป็นภารกิจสำคัญที่กรมส่งเสริมการเกษตรต้องร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และต้องบริหารจัดการเพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างสอดคล้อง เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสถานการณ์น้ำในพื้นที่ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตทางการเกษตรของเกษตรกร รวมถึง การบริหารจัดการด้านการตลาดที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ในช่วงฤดูแล้ง