"ณ ตอนนี้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจ เติบโตเป็นอันดับสองของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และเป็นผู้มีบทบาทหลักในเครือข่ายการผลิตระดับภูมิภาคในอุตสาหกรรมการผลิตที่สำคัญ เช่น รถยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงเป็นศูนย์กลางการคมนาคมและโลจิสติกส์ ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากการเคลื่อนไปสู่ภาคการผลิตที่สูงขึ้นโดยเพิ่มอาชีพที่ใช้ทักษะระดับสูงผ่านมาตรการต่างๆ เช่น การวิจัยและพัฒนาที่เข้มข้นขึ้น การลงทุนขนานใหญ่ในระดับอุดมศึกษา และความหลากหลายเชิงธุรกิจที่มากขึ้น"นาย ชาง จิน-เว่ย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ประจำเอดีบี กล่าว
ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะสามารถรวมตัวได้ดีกับเครือข่ายการผลิตของภูมิภาคและของโลก แต่เทคโนโลยีอุตสาหกรรม ส่วนมากยังเป็นการนำเข้ามากกว่าที่จะผลิตเองในประเทศ และค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนามีเพียง 0.25% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เพื่อตอบสนองต่อปัญหาเหล่านี้ผู้กำหนดนโยบายของประเทศไทยมีทางเลือกหลากหลายเพื่อจะกระตุ้นภาคการผลิตและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ห่วงโซ่มูลค่าระดับโลกได้ซึ่งรวมถึงการกระตุ้นให้เกิดการวิจัยและพัฒนาโดยนำภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ส่งเสริมให้ประเทศเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีระดับสูงให้กับบรรดาบริษัทระดับโลก และเข้มงวดบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาประเทศไทยกำลังตามหลังประเทศเพื่อนบ้านที่มีรายได้ระดับสูงในเรื่องการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เพื่อให้หลุดพ้นจากช่องว่างนี้ประเทศไทยควรจะลงทุนด้านการศึกษาให้เพิ่มมากขึ้นอย่างน้อย 5% ของ GDP ซึ่งจะต้องเน้นไปที่คุณภาพการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา อุดมศึกษา และการฝึกอบรมทางด้านเทคนิคและอาชีวะศึกษา ข้อจำกัดของกฎระเบียบ รวมทั้งข้อห้ามในเรื่องการลงทุนจากต่างประเทศในภาคบริการ เป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้เกิดการแข่งขัน
ในขณะเดียวกัน การบริการสาธารณะ รวมถึงสาธารณูปโภคที่สำคัญ อย่างเช่น พลังงานไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ ประปา ก็มีรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ดำเนินการหลัก ดังนั้น การอนุญาตให้ชาวต่างชาติถือครองธุรกิจภาคบริการเพิ่มขึ้นถึงเป้าหมายที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนใหม่ตั้งไว้ รวมทั้งการส่งเสิรมการแข่งขันในภาคบริการสาธารณะ จะช่วยให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันเชิงเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น ควบคู่ไปกับโอกาสในการสร้างงานที่มีคุณภาพมากขึ้น
ผลการศึกษายังพบว่า การเพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้ฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านคมนาคมและโลจิสติกส์ จะเป็นอีกหนึ่งความจำเป็นที่จะช่วยให้ประเทศเพิ่มบทบาทในฐานะศูนย์กลางของภูมิภาคมากยิ่งขึ้น การใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยเมื่อเทียบสัดส่วนกับ GDP ลดระดับลงตั้งแต่เกิดวิกฤติการณ์ทางการเงินของเอเชีย โดยเฉพาะด้านคมนาคมขนส่งทางรถไฟและการสื่อสาร ทั้งนี้ ท่ามกลางพลวัตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ณ ปัจจุบัน การเพิ่มการลงทุนในด้านคมนาคม โดยร่วมมือกับภาคเอกชนจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งสินค้าและคนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งคิดเป็นประมาณ 99% ของบริษัททั้งหมด และมีมูลค่ามากกว่า 1 ใน 3 ของ GDP ยังขาดการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ความสามารถ และเทคโนโลยี ในการนำมาต่อยอดการผลิตและนวัตกรรม
ดังนั้น จำเป็นจะต้องให้ความช่วยเหลือกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเหล่านี้เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เพื่อดึงดูดทุนและความรู้ที่จะทำให้ธุรกิจโตขึ้น มีการสร้างงานที่มีคุณภาพ และมีนวัตกรรมมากขึ้น มาตรการความช่วยเหลือดังกล่าว ได้แก่ การขยายการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินภาครัฐให้ครอบคลุมมากขึ้น การสนับสนุนการบริการทางการเงินให้ดีขึ้นสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีศักยภาพสูงและตั้งอยู่นอกภาคกลาง และการให้ความช่วยเหลือแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ในการยกระดับเทคโนโลยีให้สูงขึ้น