อย่างไรก็ตาม ท่านนายกฯ ก็ได้รับฟังเสียงสะท้อนจากหลายฝ่ายซึ่งพบว่า การปล่อยกู้จำนวนหนึ่ง ยังคงกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มลูกค้าเก่าของธนาคาร ไม่กระจายไปสู่ ผู้ประกอบการหน้าใหม่ๆที่อยากจะเริ่มธุรกิจ
รวมทั้งการพิจารณาปล่อยกู้ยังมีเงื่อนไขหลายประการ เช่น ต้องเป็นบริษัทที่เปิดมาไม่น้อยกว่า 2 ปี ต้องไม่มีผลการดำเนินงานขาดทุน ติดต่อกัน 2 ปี ซึ่งเงื่อนไขเหล่านี้อาจไม่เปิดโอกาสให้เกิดผู้ประกอบการหน้าใหม่ๆ หรือ ช่วยการฟื้นฟูผู้ประกอบการที่กำลังอยู่ในภาวะลำบาก
"ท่านนายกฯ เข้าใจดีว่า ทุกธนาคารมีแนวทางการวิเคราะห์เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อของแต่ละธนาคาร อย่างไรก็ตาม อยากขอให้ธนาคารพานิชย์ทุกแห่งให้ความสำคัญกับเจตนารมย์ของนโยบายนี้ด้วย ที่ต้องการให้เกิดความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ เกิดการจ้างงาน เกิดธุรกิจใหม่ๆ ที่จะแข่งขันกับกระแสการเปลี่ยนของโลกได้ การอนุมัติสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีศักยภาพดี สุดท้ายก็อาจจะกลับมาเป็นลูกค้าของธนาคารในระยะยาว
ท่านนายกฯ อยากให้ช่วยกันทำให้คนรุ่นใหม่ที่มีความคิด มีไอเดีย ได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อสร้างให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ ที่อาจไม่เคยมีในประเทศไทย สร้างงานสร้างรายได้เข้าประเทศ
ดังนั้นการยึดติดกับแนวปฏิบัติเดิมๆ เสียทั้งหมด น่าจะไม่เป็นผลดีและไม่ตรงต่อเจตนารมย์ของนโยบายนี้ จึงอยากให้ธนาคารออมสิน และธนาคารพานิชย์ทุกแห่งร่วมมือกัน ใช้โอกาสที่รัฐบาลหนุนเต็มที่ด้วยนโยบายดอกเบี้ยต่ำนี้ ช่วยกันพลิกฟื้นและพลิกโฉมหน้า SMEs ของประเทศไทยด้วยกัน"พล.ต.สรรเสริญ กล่าว