"สถานการณ์เงินเฟ้อหลุดกรอบเป้าหมายดังกล่าวอาจจะยังไม่กดดันให้ ธปท.ต้องปรับเปลี่ยนท่าทีมาใช้เครื่องมือผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติมในทันที โดย ธปท.อาจจะยังสามารถยืนอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% เพื่อรอประเมินโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ซึ่งถูกคาดหมายว่า จะทยอยได้รับอานิสงส์จากการใช้จ่ายและมาตรการกระตุ้นของภาครัฐ โดยอาจเก็บทางเลือกในการปรับลดดอกเบี้ยไว้ใช้ในยามจำเป็น หากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไม่เป็นไปตามที่คาด" เอกสารเผยแพร่ ระบุ
โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยอยู่ที่ -0.53% (YoY) ในเดือน ม.ค.59 ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานชะลอตลอด 4 เดือนที่ผ่านมาลงมาอยู่ที่ 0.59% (YoY) สะท้อนสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการในส่วนอื่นๆ นอกเหนือจากราคาน้ำมันยังคงทรงตัวอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ ตามการฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของกำลังซื้อผู้บริโภค ขณะที่การฟื้นตัวในกรอบที่จำกัดของราคาน้ำมันในตลาดโลกอาจมีผลต่อเนื่องให้ราคาสินค้าและบริการในภาพรวมทรงตัวอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง และทำให้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า แม้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะติดลบต่อเนื่อง แต่ก็ยังคงสามารถอธิบายได้ว่า เป็นผลมาจากราคาพลังงาน (โดยเฉพาะราคาน้ำมัน) ที่ลดต่ำลง น่าจะสะท้อนว่า ไทยยังไม่เข้าข่ายเผชิญกับความเสี่ยงจากภาวะเงินฝืดในขณะนี้ ซึ่งจากการติดตามดูเครื่องชี้การใช้จ่ายของภาคครัวเรือน อาทิ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ปริมาณการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ตลอดช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ก็ยังคงพบว่า การบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัว ซึ่งอาจเป็นนัยว่า ราคาน้ำมันที่ต่ำมีผลบวกทางอ้อมต่อภาวะการบริโภคและการครองชีพของครัวเรือน เพราะช่วยให้ราคาสินค้าและบริการยังคงสามารถทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ และ/หรือยังไม่ปรับตัวสูงขึ้น
การที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยอยู่ที่ -0.53% (YoY) ในเดือน ม.ค.59 โดยนับเป็นตัวเลขเงินเฟ้อที่อยู่ต่ำกว่าระดับ 0% เป็นเดือนที่ 13 ติดต่อกัน (ต่อเนื่องจาก -0.85% YoY ในเดือน ธ.ค.58) สะท้อนว่า ราคาสินค้าและบริการในภาพรวมของผู้บริโภคยังคงลดต่ำลงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเฉพาะราคาสินค้าในกลุ่มน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ลดลง -21.7% (YoY) สอดคล้องกับราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 12 ปีในกรอบต่ำกว่าระดับ 30 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรล และค่ากระแสไฟฟ้าที่ลดลง -4.1% (YoY) ตามรอบการปรับลดอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ Ft เดือน ม.ค.-เม.ย.59 นอกจากนี้การที่เกษตรกรหันมาปลูกพืชผักที่ใช้น้ำน้อยในช่วงภัยแล้งทำให้มีปริมาณผัก/ผลไม้ออกสู่ตลาดมากขึ้นส่งผลต่อเนื่องให้ภาพรวมราคาสินค้าในหมวดอาหารสดยังคงทรงตัวอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่นับรวมการเคลื่อนไหวของราคาในกลุ่มอาหารสดและพลังงาน) ยังคงชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 มาอยู่ที่ 0.59% (YoY) ซึ่งต่ำสุดนับตั้งแต่ เม.ย.53 สถานการณ์ดังกล่าวสะท้อนว่า ราคาสินค้าและบริการในส่วนอื่นๆ (นอกจากน้ำมัน) ก็มีแรงกดดันน้อยลงตามทิศทางกำลังซื้อของผู้บริโภค/ภาคประชาชนที่ยังคงฟื้นตัวอย่างช้าๆ รวมถึงยังอาจเป็นผลมาจากการปรับลดราคาสินค้าอุปโภคบริโภคบางรายการลงมาตามโครงสร้างต้นทุนที่ทบทวนใหม่ หลังจากราคาน้ำมัน/ราคาวัตถุดิบ และต้นทุนค่าขนส่ง ลดต่ำลงด้วยเช่นกัน