โดยสินค้าประมงที่สหภาพยุโรปให้สิทธิลดและยกเลิกภาษีภายใต้ระเบียบดังกล่าว เป็นสินค้าเฉพาะรายการที่ EU มีความต้องการเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบที่ต้องนำไปแปรรูป โดยมีสินค้าสำคัญที่ไทยส่งออก เช่น กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง (พิกัด 03061792) กุ้งสุกสำหรับแปรรูป (พิกัด 1605219 และ 16252900) ปลาทูน่า (พิกัด 160414 16041463 16041446) ปลาหมึก (พิกัด 03074959 03079911 03079917) และปูอัด (พิกัด 03049910) เป็นต้น นอกจากนี้ สหภาพยุโรปได้ออกกฎระเบียบ Commission Implementing Regulation (EU) 2015/2455 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2558 กำหนดพิกัดศุลกากรของสินค้าจำนวน 1 รายการ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
สินค้าอาหารแช่แข็งที่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ทะเล (crustaceans and molluscs) ชนิดต่างๆ เช่น กุ้ง กั้ง ปู หอย และปลาหมึก เป็นต้น (คิดเป็นร้อยละของน้ำหนักของสินค้า) แบ่งเป็น
- หมึกกล้วย (squid) และหนวดหมึกกระดองสด (cuttlefish tentacles) ร้อยละ 25
- หมึกกล้วย (squid) และหมึกกระดองสดหั่นตามขวาง (cuttlefish strips) ร้อยละ 20
- หมึกกล้วยสดหั่นเป็นแว่น (squid rings) ร้อยละ 20
- หอยลายที่ปรุงสุกแล้ว (baby yellow clam) ร้อยละ 20
- กุ้งลวก (blanched shrimps) ร้อยละ 15
ทั้งนี้ สินค้าดังกล่าวที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ทะเลสดหรือที่ผ่านการลวก (raw or blanched) (HS 0307) และบางส่วนได้ผ่านกระบวนการปรุงสุกแล้ว (HS 1605) จึงถูกจัดหมวดหมู่ให้อยู่ในกลุ่มเนื้อสัตว์ทะเลแปรรูป หรือทำไว้ไม่ให้เสีย (prepared or preserved cuttlefish and squid) (พิกัดหมายเลข 1605 54 00) โดยพิจารณาถึงกระบวนการปรุงสุกที่ไม่ได้จัดอยู่ในคำนิยามของหมวดสินค้า 03 ถึงแม้ว่าจะมีเพียงบางส่วนก็ตาม
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า สาระสำคัญของการบริหารการนำเข้าสินค้าประมงของสหภาพยุโรปตามระเบียบนี้คือ กำหนดโควตานำเข้าในลักษณะ First come - First serve ตามปริมาณความต้องการเพื่อเป็นการรักษาอุปทานวัตถุดิบของอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าประมงภายใน EU ดังนั้นผู้ประกอบการที่สนใจต้องเร่งวางแผนการตลาดและการส่งออกเพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากระเบียบดังกล่าวให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะแต้มต่อจากการได้รับการลดและยกเลิกภาษีศุลกากร ทำให้สินค้าส่งออกของไทยมีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดสหภาพยุโรป