ทั้งนี้ กนอ.คาดว่าจะเสนอโครงการนิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษกิจพิเศษ จังหวัดสระแก้วให้สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)เห็นชอบโครงการในเดือน มี.ค.นี้ และจะยื่นเสนอรายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม(EIA) ได่ในปลายเดือนเม.ย.นี้ หลังจากเข้าที่ประชุมให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เห็นชอบก่อนเสนอเข้าครม.เพื่ออนุมัติโครงการ ซึ่งงบลงทุนบางส่วนจะมาจารัฐบาล อีกส่วนมาจาก กนอ.เอง คาดจะเริ่มก่อสร้างได้ในเดือน ต.ค.-พ.ย. 59
"เขตเศรษฐกิจพิเศษที่สระแก้วมีคนสนใจมาก มีคนมาสอบถามเยอะ มีทั้งนักลงทุนไทยและต่างชาติ มีทั้งอุตสาหกรรที่ส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้าน อุตสาหกรรมที่ย้ายฐานการผลิตจากกรุงเทพหรือปริมณฑล ธุรกิจแปรรูปสินค้าเกษตร โลจิสติกส์ที่นี่มีจุดเด่นที่ใช้เวลา 1-2 ชั่วโมงไปท่าเรือแหลมฉบัง"นายอัฐพล กล่าว
ส่วนโครงการนิคมอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตาก จำนวน 837.37 ไร่ ขณะนี้ยังไม่สามารถดำเนินการใดๆได้เพราะยังมีประชาชาน 97 รายเข้าไปตั้งรกรากที่ดินของราชพัสดุดังกล่าว ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมท จึงต้องให้ทางจังหวัดตากเจรจากับประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวจึงจะเริ่มดำเนินการได้ ทั้งนี้ ตั้งงบลงทุนประมาณ 1 พันล้านบาท
เช่นเดียวกับการพัฒนาโครงการนิคมอุตสาหกรรมในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดสงขลา จำนวน 1,121.50 ไร่ ที่มีชาวบ้านเข้าไปอยู่อาศัยราว 200 ราย ซึ่งเดิมเป็นที่ดินที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เข้ายึดทรัพย์สินจากเจ้าของเดิมที่ทำผิดกฎหมาย และคดีเพิ่งจบไปเม่อ 2 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ที่ดินแห่งนี้มีปัญหาซับซ้อนมากกว่าในจังหวัดตาก จึงต้องรอให้ทางจังหวัดสงขลาลงมาดำเนินการ ก่อนที่กนอ.จะเข้าไปพัฒนาโครงการ ซึ่งต้งงบลงทุนไว้ประมาณ 1,200 ล้านบาท ทั้งนี้ ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐิจพิเศษทั้งในจังหวัดตากและสงขลาก็จะให้เช่าเช่นเดียวกับจังหวัดสระแก้ว
นายโชคดี แก้วแสง รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กล่าวว่า สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ BOI ให้กับอุตสาหกรรมที่ดำเนินการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยจะให้สิทธิประโยชน์กับ 13 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมการเกษตรประมง และกิจการที่เกี่ยวข้อง 2. เซรามิกส์ 3.อุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มและเครื่องหนัง 4.อุตสาหกรรมผลิตเครื่องเรือน 5. อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ 6. การผลิตเครื่องมือแพทย์ 7.อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องจักรและชิ้นส่วน 8.อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 9.การผลิตพลาสติก 10.การปลิตยา 11 กิจการโลจิสติกส์ 12. นิคมหรือเขตอุตสาหกรรม และ 13.กิจการสนับสนุนการท่องเที่ยว
ทั้งนี้ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ มี 10 แห่ง ระยะที่ 1 มี 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดสระแก้ว จังหวัดตราด และ จังหวัดสงขลา ส่วนระยะที่ 2 มี 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดหนองคาย จังหวัดนครพนม จังหวัดกาญจนบุรี และ จังหวัดนราธิวาส