นอกจากนี้ ในปี 59 ธนาคารเตรียมเปิดสาขาในสปป.ลาว แห่งที่ 2 ที่กรุงเวียงจันทน์ โดยปัจจุบันมีธนาคารท้องถิ่น 1 แห่งตั้งอยู่ที่สปป.ลาว ซึ่งจากการจัดตั้งธนาคารปีแรกก็สามารถสร้างกำไรได้แล้ว ทำให้ธนาคารมองถึงโอกาสที่จะมีการเปิดสาขาที่สปป.ลาวแห่งที่ 2 โดยมองระยะเวลาเฉลี่ยหลังการลงทุน 5 ปีจึงจะเริ่มเห็นกำไร
ปัจจุบัน ธนาคารมีสาขาต่างประเทศ 7 แห่ง ได้แก่ สาขาเซิ่นเจิ้น สาขาย่อยหลงกั่ง สาขาเฉิงตู สาขาฮ่องกง สาขาพนมเปญ สาขาลอสแองเจลิส และสาขาหมู่เกาะเคย์แมน อีกทั้งยังมีสำนักงานผู้แทน 8 แห่ง ได้แก่ สำนักงานผู้แทนปักกิ่ง สำนักงานผู้แทนเซี่ยงไฮ้ สำนักงานผู้แทนคุณหมิง สำนักงานผู้แทนย่างกุ้ง สำนักงานผู้แทนฮานอย สำนักงานผู้แทนโฮจิมินห์ สำนักงานผู้แทนจาการ์ตา และสำนักงานผู้แทนโตเกียว
ด้านนายพิพิธ เอนกนิธิ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส KBANK กล่าวว่า ธนาคารมีความสนใจที่จะยกระดับจากสำนักงานตัวแทนเป็นสาขาใน 3 ประเทศ ได้แก่ เวียดนาม พม่า อินโดนีเซีย ซึ่งทางธนาคารอยู่ระหว่างรอทางการของทั้ง 3 ประเทศ ประกาศให้ธนาคารจากต่างชาติทำใบอนุญาตจัดตั้งสาขาในแต่ละประเทศ โดยธนาคารเล็งเห็นถึงศักยภาพของการเติบโตทางเศรษฐกิจของ 3 ประเทศข้างติน โดยเฉพาะการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศเวียดนามที่มีความโดดเด่นมากในกลุ่ม AEC โดย GDP ขยายตัวมากถึง 7-8% ติดต่อกัน 5 ปี
ส่วนในประเทศอินโดนีเซียนั้นธนาคารมองเห็นว่ามีประชากรจำนวนมากที่ยังไม่สามารถเข้าถึงธนาคารต่างๆได้ เนื่องจากธนาคารส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในกรุงจาการ์ตา แต่ประเทศอินโดนีเซียมีหมู่เกาะจำนวนมาก ทำให้ประชากรในประเทศอินโดไม่สามารถเข้าถึงธนารคารได้ ซึ่งธนาคารเล็งเห็นถึงโอกาสดังกล่าวในการขยายสาขาใน AEC+3