โดยหลังจากนี้จะมีการลงนามร่วมกับ กนอ. ในการเช่าพื้นที่ราชพัสดุเพื่อพัฒนาเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มอีก 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา พื้นที่ 1,196 ไร่ ค่าเช่าเต็มอยู่ที่ 4 หมื่นบาทต่อไร่ต่อวาต่อปี และจังหวัดตาก พื้นที่ 836 ไร่ ค่าเช่าเต็มอยู่ที่ 3.6 หมื่นบาทต่อไร่ต่อวาต่อปี
"พื้นที่ราชพัสดุที่เหลือในจังหวัดตาก วางแผนจะให้ กนอ.เช่าพื้นที่ 836 ไร่ และเอกชนรายอื่นเช่า 1,346 ไร่ ขณะนี้มีความล่าช้าในการดำเนินการ เนื่องจากต้องจัดสรรพื้นที่ให้ผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งกรมธนารักษ์จะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือน เม.ย. นี้"นายจักรกฤศฎิ์ ระบุ
พร้อมกล่าวอีกว่า สำหรับที่ดินราชพัสดุของกรมธนารักษ์ในส่วนที่เหลือที่จะให้เอกชนเข้ามาเช่าพื้นที่นั้น เบื้องต้นคาดว่าจะมีการชี้แจงเงื่อนไขการเช่ากับเอกชนภายในวันที่ 29 ก.พ.นี้ หลังจากนั้น 2 เดือน หรือไม่เกิน 117 วัน ก็จะมีการเปิดให้เอกชนที่สนใจเข้ามาคัดเลือกเพื่อเช่าพื้นที่ลงทุนเพื่อพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งเชื่อว่าจะได้รับความสนใจเป็นอย่างดี
ด้านนายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีเอกชน 5-6 ราย ทั้งรายใหญ่ กลาง และเอสเอ็มอี ที่แสดงความสนใจเข้ามาลงทุนในพื้นที่ดังกล่าว อาทิ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP)และ เครือเอสซีจี ที่จะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและก่อสร้าง รวมทั้งมีบริษัทอื่นๆ ในกลุ่มโลจิสติกส์ คลังกระจายสินค้า อาหารแปรรูป และเครื่องดื่ม เป็นต้น โดยขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาค่าเช่า ซึ่งจะมีการเสนอให้คณะกรรมการ กนอ.พิจารณาภายในเดือน มี.ค.นี้ เบื้องต้นคาดว่าค่าเช่าจะอยู่ในอัตราไร่ละ 1.6 แสนบาทต่อไร่ต่อปี ขณะที่กนอ.มีต้นทุนในการปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่ กนอ.เฉลี่ยไร่ละ 1.2-1.5 ล้านบาท โดยคาดว่าจะสามารถชี้แจงรายละเอียดในส่วนนี้ได้ภายในเดือน เม.ย.59
โดยในพื้นที่ราชพัสดุในจังหวัดสระแก้วนั้น สามารถแบ่งพื้นที่เช่าได้ 60 แปลง คาดว่าจะมีเอกชนเช่า 40-50 ราย เชื่อว่าจะมีเงินลงทุนเบื้องต้นประมาณ 5 พันล้านบาท และจะทำให้ กนอ.มีรายได้ 4 พันล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานอย่างน้อย 3-4 พันคน
"ตอนนี้ กนอ.อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในเชิงลึก และจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ตั้งแต่เดือน ม.ค. ที่ผ่านมา คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน มี.ค.นี้ และจะเริ่มก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมได้ภายในปี 2560 และเปิดดำเนินการในปี 2561 ตามแผนของรัฐบาล ซึ่งตามแผนแล้วเราจะมีการแบ่งพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม อาทิ ธุรกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์ภาคเกษตร ประมาณ 2-3 ไร่ และพื้นที่ที่จะบริหารในธุรกิจโลจิสติกส์ ราวๆ 80%" นายวีรพงษ์ กล่าว