1. การจัดพื้นที่ตลาด เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้มีสถานที่จำหน่ายสินค้า ทั้งพืชผลทางการเกษตร และสินค้าชุมชน โดยสำนักงานพาณิชย์ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทยดำเนินงานตามมาตรการความช่วยเหลือของรัฐบาลในการปรับเปลี่ยนการผลิตแบบเดิมไปสู่ความยั่งยืนให้มีตลาดรองรับผลผลิตที่ชัดเจน ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีการจัดพื้นที่ตลาด ดังนี้ การจัดกิจกรรมตลาดนัดสีเขียว ใน จ.อุบลราชธานี และ จ.หนองคาย และการเปิดตลาดประชารัฐเพื่อชุมชน ใน จ.ลพบุรี
2. การเชื่อมโยงตลาด โดยที่ จ.ร้อยเอ็ด จัดกิจกรรมเจรจาการค้าข้าวหอมมะลิ ในงานเทศกาลวันข้าวหอมมะลิโลก ปี 2559 เพื่อประชาสัมพันธ์ข้าวหอมมะลิของกลุ่มจังหวัดให้เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ ส่วนที่ จ.น่าน มีการขยายช่องทางการตลาด "กลุ่มผักปลอดภัย ตลาดสีเขียวน่าน" โดยการเชื่อมโยงตลาดกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย 7 กลุ่ม รวมเกษตรกรจำนวน 956 ราย ร่วมกับตัวแทนห้างแม็คโครของจังหวัด
ด้านการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้งจากสถานการณ์ภัยแล้ง กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาวิกฤตแล้ง ตามนโยบายรัฐบาล ดังนี้
- การจำหน่ายสินค้าธงฟ้าช่วยภัยแล้ง มีแผนดำเนินการรวม 400 ครั้ง ปัจจุบันดำเนินการไปแล้ว 240 ครั้ง อยู่ระหว่างดำเนินการอีก 160 ครั้ง โดยจังหวัดที่ดำเนินการแล้วรวมทั้งสิ้น 22 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ฉะเชิงเทรา ชัยนาท ตาก นครปฐม นครนายก นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา พิจิตร พิษณุโลก ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี สุโขทัย อ่างทอง อุตรดิตถ์ และกรุงเทพ มียอดจำหน่ายสินค้ารวม 26.15 ล้านบาท ซึ่งสามารถลดค่าครองชีพให้ประชาชนจำนวน 87,183 คน มูลค่า 17.44 ล้านบาท (ณ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559)
- การพัฒนาและส่งเสริมศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชน (Farm Outlet) เพื่อให้เกษตรกรมีสถานที่จำหน่ายสินค้า และมีการเชื่อมโยงสินค้าระหว่างศูนย์เพื่อเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายในศูนย์ฯ ในสัปดาห์ที่ผ่านมามีการจัดกิจกรรมใน 4 จังหวัด ได้แก่ จ.สุพรรณบุรี อ่างทอง นครปฐม และกาญจนบุรี
- การอบรมเพื่อเพิ่มผลิตภาพทางการผลิตให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง
ส่วนด้านการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายนั้น ได้แก่ 1.การควบคุมการขนย้ายหัวมันสำปะหลังสดและมันเส้น ซึ่งจากการดำเนินมาตรการการควบคุมการเคลื่อนย้ายมันสำปะหลัง ไม่ให้มีการขนย้ายมันสำปะหลังหรือมันเส้นนำเข้ามาผิดกฎหมาย หรือบรรทุกน้ำหนักเกิน ส่งผลให้เกษตรกรที่ปลูกมันในประเทศได้รับผลกระทบด้านราคาที่ไม่เหมาะสม สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ตรวจสอบพบรถพ่วงบรรทุกมันสำปะหลังขนย้ายเกินกำหนด 12.83 ตัน จึงได้นำส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมาย
2.การขนย้ายข้าวสารในสต็อกของรัฐบาลเข้าสู่อุสาหกรรม การขนย้ายข้าวสารในสต็อกของรัฐบาลเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมของบริษัท ว.ธนทรัพย์ จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดราชบุรี มีการขนย้ายจากคลังกลางในหลายจังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครปฐม นครศรีธรรมราช พิษณุโลก และสุรินทร์ มีปริมาณขนย้ายสะสม ตั้งแต่วันที่ 5-16 กุมภาพันธ์ 2559 จำนวน 3,258.17 ตัน คิดเป็นปริมาณ 15% ของยอดรวม