"ขณะที่ผลกำไรนั้นเป็นที่ทราบกันก่อนการประมูล ซึ่งมีการคาดการณ์เอาไว้แล้วว่าระยะเวลาคืนทุนน่าจะอยู่ที่ประมาณ 5 ปีขึ้นไปในสถานการณ์เช่นนี้ ความยากในการแข่งขันของผู้ประกอบการทุกรายจึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่สุดท้ายเนื้อหา รายการจะเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้อย่างแท้จริง"ประธาน กสท.กล่าว
สำหรับช่องดิจิตอลทีวีที่ได้รับความนิยมเป็นลำดับต้นๆ ได้แก่ Workpoint เรตติ้งขึ้นมาอยู่ในอันดับ 3 ตั้งแต่ปลายปี 57 ขณะที่ช่อง 8 และช่อง MONO 29 ขึ้นมาติดอันดับ 4 และอันดับ 5 ในช่วงต้นปี 58 ส่วนสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 และช่อง 7 ในระบบ อนาล็อกเดิมนั้น ยังเป็นสองช่องทีวีที่ครองตลาดส่วนใหญ่ แต่มีแนวโน้มที่ช่องทีวีมีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน (Target group) กำลังมี เรทติ้งสูงขึ้น
ประธานกสท. กล่าวว่า รายที่จะอยู่รอดได้ด้วย content ที่ตรงใจและทันใจผู้ชม เนื้อหารายการเป็นตัวชี้วัดความ สำเร็จ และข่องรายการใหม่ต้องเร่งหาทิศทาง สร้างจุดเด่น สร้างฐานผู้ชมที่เข้มแข็ง และทิศทางผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลปี 59 ทุก คนลงทุนเพิ่ม ผลิตช่องรายการใหม่เพื่อให้เป็นช่องที่ติดอันดับต้นๆ
"ปี 59 การแข่งขันเข้มข้นขึ้น รายใหม่เข้ามาแข่งทำให้ gap น้อยลงกับรายเก่า รายที่จะอยู่รอดก็ต้องมีการปรับปรุง หรือสร้าง characterของตัวเองก็จะมีลูกค้าชัดเจนเป็นของตัวเอง ...มีบางคนอาจไปไม่ไหว ก็ขึ้นอยู่กับกลไกตลาด ก็ต้องไปหาพา ร์ทเนอร์ การปรับเปลี่ยนผู่ถือหุ้น และมีสายป่านยาวพอเพียงไหม" พ.อ.นที กล่าว
TV Rating ณ เดือนธันวาคม 58
**ข้อมูลจากสำนักงาน กสทช.
อันดับ ช่องรายการ ประเภทรายการที่เป็นทีนิยม 1 ช่อง7 ละคร, บันเทิงวาไรตี้,กีฬา,ข่าว 2 ช่อง 3HD ละคร, บันเทิงวาไรตี้,กีฬา,ข่าว 3 ช่อง Workpoint เกมส์โชว์, Talent Contest 4 ช่อง 8 ละคร, บันเทิงวาไรตี้ 5 Mono29 ภาพยนตร์/ซีรีย์ ต่างประเทศ 6 ช่อง One ละคร,เกมส์โชว์,บันเทิงวาไรตี้, Talent Contest 7 ช่อง 3 SD ละครรีรัน, กีฬา, ข่าว 8 ช่อง 9 ละคร, เกมส์โชว์, ข่าว 9 TRUE4U กีฬา, ภาพยนตร์/ซีรีย์ต่างประเทศ 10 ช่อง 3 Family ภาพยนตร์/ซีรีย์ต่างประเทศรีรัน, ข่าว, บันเทิงวาไรตี้ 11 ไทยรัฐทีวี 12 PPTV 13 GMM25 14 Amarin 34 15 ช่อง NOW 16 NewTV 17 Nation TV 18 TNN 19 สปริงนิวส์ทีวี 20 MCOT Family 21 Bright TV 22 Voice TV
ประธาน กสท. กล่าวว่า จากอันดับเรทติ้ง มองว่า 3 ช่องเดิมคือ ช่อง 3 ช่อง 7 และช่อง 9 ยังคงมีฐานผู้ชมเหนียว แน่น อย่างไรก็ตามความนิยมของทั้ง 3 ช่องลดลง โดยช่อง 9 ลดลงมากถึง 60% ช่อง 3 ลดลง 30% และ ช่อง 7 ลดลง18% ขณะ เดียวกันพบว่าการเติบโตของสัดส่วนผู้รับชมที่ปรับตัวไปยังกลุ่มช่องใหม่อย่างรวดเร็วในป 1 ปี หลังจากเริ่มมีการออกอากาศ โดยเห็น ได้จาก 7 ช่องใน TOP 10 เป็นช่องใหม่จากกลุ่มผู้ผลิตรายการขนาดใหญ่ นอกจากนี้เห็นว่า กลุ่มที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆถัดจาก TOP10 ได้แก่ ไทยรัฐทีวี ช่อง PPTV ช่องอัมรินทร์ทีวี ช่อง NewTV ช่องเนชั่นทีวี ก็มีโอกาสเบียดเข้ามาใน TOP10 ได้ ส่วนกลุ่มที่ยังต้องสร้าง character ที่ชัดเจน ได้แก่ ช่อง GMM25 ช่อง TNN และ ช่อง MCOT Family นอกจากนี้กลุ่มที่ยังคงต้องปรับกลยุทธ์ คือช่องวอยซ์ทีวี ช่องสปริงนิวส์ ช่องไบรท์ทีวี
"ตั้งแต่อันดับที่ 16-22 เป็นช่องข่าวและช่องเด็ก ซึ่งเป็นช่องรายการมีเค้กน้อยกว่าข่องอื่น ยกเว้นช่อง 3 Family ที่ ติด Top 10 เพราะคนดูข่าวน้อยกว่าดูวาไรตี้...ตอนนี้ยังไม่มีสัญญาณว่าช่องไหนไปไม่รอด" พ.อ.นที กล่าว
อย่างไรก็ตาม กสทช.ต้องเข้ามาช่วยอุตสาหกรรมทีวีดิจิตอล เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านระบบโทรทัศน์เป็นไปได้ด้วยดี แต่ การช่วยยึดหลักไม่เป็นการให้ฝายใดฝ่ายหนึ่งได้เปรียบเสียเปรีบบ จะไม่สร้างกลไกที่บิดเบือนตลาด แต่สิ่งสำคัญ ทุกช่องต้องมีการปรับ เนื้อหาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
พ.อ.นที กล่าวว่า ในปีนี้จะมีการถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในเดือน ส.ค.59 และปี 60 จะมีการถ่ายทอดฟุตบอล โลก คาดว่า 2 ปีนี้ที่มีรายการกีฬาสำคัญจะช่วยปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มความนิยมได้เร็วขึ้นในแต่ละช่องที่มีการถ่ายทอดสด นอกจากนี้ยังมี ฟุตบอลยูโรที่บางช่องจะมีการถ่ายทอดผ่านฟรีทีวีด้วย
พ.อ.นที กล่าวว่า ผลจากการเปลี่ยนผ่านระบบโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกไปสู่การรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินใน ระบบดิจิตอลทีวี ขณะนี้เริ่มเห็นจำนวนผู้ชม เม็ดเงินโฆษณา และเม็ดเงินในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องมีการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือน ธ.ค.58 สัดส่วนการรับชมโทรทัศน์ต่อนาที (%Share of TV Audience) จากทุกช่องทางการรับ ชม (Platform) ระหว่างช่องรายการเดิมและช่องรายการใหม่ขยับขึ้นเป็น 62% ต่อ 38% จาก ณ สิ้นเดือน ธ.ค.57 อยู่ที่ 82% ต่อ 18% สะท้อนว่าประชาชนหันมาสนใจรับชมดิจิตอลทีวีมากขึ้น ประกอบการหลายช่องเริ่มปรับตัวหาจุดแข็งให้กับช่องตัวเอง โดยให้ ความสำคัญกับคุณภาพเนื้อหา และมีการลงทุนด้านความสวยงามของภาพผ่านหน้าจอโทรทัศน์ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ
พ.อ.นที กล่าวว่า ดิจิตอลทีวียังช่วยให้อุตสาหกรรมโฆษณาในปี 58 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด เม็ดเงินโฆษณา ได้กระจายสู่ดิจิตอลทีวีที่เคยกระจุกตัวอยู่ที่ 6 ช่องหลัก โดยปี 58 มูลค่าโฆษณาในดิจิตอลทีวีมีอัตราเติบโตถึง 144% เมื่อเทียบกับปี ก่อนหน้า คิดเป็นเม็ดเงินเข้าช่องดิจิตอลทีวีทั้งสิ้น 20,930 ล้านบาท จากปีก่อนหน้าอยู่ที่ 8,584 ล้านบาท ขณะที่เม็ดเงินโฆษณาใน 6 ช่องเดิมในปี 58 ลดลงเหลือ 57,526 ล้านบาท จากปีก่อนหน้าอยู่ที่ 63,776 ล้านบาท และยังทำให้ภาพรวมการลงโฆษณาใน อุตสาหกรรมทีวีปี 58 สูงขึ้นถึง 78,456 ล้านบาท จากปีก่อนหน้าอยู่ที่ 72,360 ล้านบาท หรือเติบโต 8.43% แม้เศรษฐกิจจะไม่ดีนัก ในช่วงที่ผ่านมา
ขณะที่ในปีที่ผ่านมาโทรทัศน์ที่สามารถรับสัญญาณดิจิตอลทีวีได้มียอดจำหน่าย 4.4 ล้านเครื่อง กล่องรับสัญญาณดิจิตอล (Set-Top-Box) มียอดจำหน่ายกว่า 8.7 ล้านกล่อง และอุปกรณ์สื่อสารที่สามารถรองรับสัญญาณดิจิตอลทีวี เช่น สมาร์ทโฟน แท็บ เล็ต มียอดจำหน่าย 1.4 ล้านเครื่อง ซึ่งทำให้มีช่องทางในการเข้าถึงดิจิตอลทีวีได้มากขึ้นและยังส่งผลดีต่อการขยายตัวของผู้ชมด้วย
นอกจากนี้ พ.อ.นที ยืนยันว่า การขยายโครงข่ายเป็นไปตามประกาศของ กสทช. โดยในเดือนมิ.ย.59 จะครอบคลุม พื้นที่ 90% ของประเทศ จากปัจจุบันครอบคลุม 87% และในเดือน ธ.ค.59 จะครอบคลุม 93%