ทั้งนี้ เนื่องจากทั้ง 2 โครงการนี้จะให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนงานโยธาแทนรัฐ ดังนั้นเพื่อให้สามารถดึงดูดเอกชนมาร่วมลงทุนจึงกำหนดให้เงินสนับสนุนแก่เอกชนแต่ไม่เกินมูลค่างานโยธาเท่านั้น โดยคณะกรรมการ PPP ได้มอบหมายให้ รฟม.ปรับกรอบวงเงินให้เป็นปัจจุบันและเหมาะสมมากขึ้น เพื่อเป็นการลดภาระเงินสนับสนุนของรัฐก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบโครงการ งบประมาณในการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และกรอบวงเงินสนับสนุนที่ชัดเจนในเดือนมี.ค. 59 ต่อไป
นอกจากนี้ คณะกรรมการ PPP ได้ติดตามความคืบหน้าอีก 3 โครงการ ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค และ บางซื่อ-ท่าพระ), โครงการมอเตอร์เลย์ สายบางปะอิน-นครราชสีมา และ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ซึ่งทั้ง 3 โครงการยังสามารถดำเนินการได้ตามกำหนด โดยโครงการมอเตอร์เวย์ 2 โครงการอยู่ระหว่างทดสอบความสนใจของนักลงทุน และคาดว่าจะเสนอกระทรวงคมนาคมได้ในเดือนเม.ย.นี้
นอกจากนี้ คณะกรรมการ PPP ได้แก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการโรงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Farm) และโรงงานขยะขนาดเล็ก ที่เกิดจากการดำเนินการตามพ.ร..บ.ร่วมทุนฯ ปี 2556 แล้ว โดยกาปรรับปรุงขั้นตอนการดำเนินการของกิจการตามนโยบายรัฐบาลให้มีความกระชับและชัดเจนมากขึ้น เพื่อให้โครงการตามนโยบายรัฐบาลได้รวามเร็วมากขึ้น ทั้งนี้สำหรับปัญหาและอุปสรรคในประเด็นอื่นๆให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนืนการต่อไป