ดังนั้น ทำให้ในช่วงวันที่ 25-28 ก.พ.59 มีการน้ำมันในการผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าราชบุรีและโรงไฟฟ้าบางปะกงทดแทนปริมาณก๊าซฯ ที่ลดลงต่ำกว่าแผนที่ประเมินไว้ค่อนข้างมาก โดยมีการใช้น้ำมันเตาจำนวน 15.4 ล้านลิตร และน้ำมันดีเซลจำนวน 4.8 ล้านลิตร จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ว่าจะมีการใช้น้ำมันเตา 34.8 ล้านลิตร และน้ำมันดีเซล 8.1 ล้านลิตร
ประกอบกับ สถานการณ์ราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้การเดินเครื่องด้วยน้ำมันเตามีราคาใกล้เคียงกับราคาก๊าซธรรมชาติ จึงทำให้การหยุดซ่อมแหล่งก๊าซฯ ยาดานาในช่วงวันที่ 25-28 ก.พ. 59 ที่ผ่านมา จะไม่มีผลกระทบต่อค่าเอฟทีที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ กกพ. จะนำผลจากการหยุดซ่อมก๊าซฯที่ต่ำกว่าแผนในช่วงปลายปี 58 ที่เคยประเมินว่าจะมีการหยุดซ่อมในช่วงวันที่ 1-4 มี.ค.59 และมีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้า 0.25 สตางค์ต่อหน่วย ไปปรับลดในการคำนวณค่าเอฟทีที่จะเรียกเก็บในงวดเดือน พ.ค.-ส.ค.59 ต่อไป แต่ค่าเอฟทีจะเป็นเท่าไรนั้น ต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ราคาเชื้อเพลิง อัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น ที่สะท้อนตามต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงในขณะนั้น
อนึ่ง บมจ. ปตท. (PTT) ได้รายงานผลการหยุดซ่อมก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานา ประเทศเมียนมาร์ซึ่งทำให้การจ่ายก๊าซธรรมชาติลดลงประมาณ 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุต ระหว่างวันที่ 25 – 28 ก.พ. 59 ได้แล้วเสร็จ ส่งผลสถานการณ์การจ่ายก๊าซธรรมชาติเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้าได้กลับคืนสู่ภาวะปกติในวันที่ 29 ก.พ. 59 ที่ผ่านมาโดยไม่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้าและผู้ใช้ไฟฟ้าในช่วงการหยุดจ่ายก๊าซฯ