สำหรับแผนการปรับโครงสร้างหนี้ของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจนั้น ปรับเป็น 901,653 ล้านบาท ลดลง 2,969 ล้านบาท จากเดิมที่ 904,623 ล้านบาท ส่วนแผนบริหารความเสี่ยงของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจนั้น ปรับเป็น 155,189 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 32,075 ล้านบาท จากเดิมที่ 123,114 ล้านบาท ทำให้ในภาพรวมแล้วมีการปรับปรุงวงเงินใหม่เป็น 1,619,522 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27,857 ล้านบาท จากเดิมที่ 1,591,664 ล้านบาท
พร้อมกันนี้ที่ประชุม ครม.ยังรับทราบการปรับปรุงแผนบริหารหนี้สาธารณะในส่วนของรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐที่ไม่ตัองขออนุมัติจากครม.ภายใต้กรอบแผน โดยแผนการก่อหนี้ใหม่นั้นอยู่ที่ 50,280 ล้านบาท ลดลง 24,531 ล้านบาท จากเดิมที่ 74,811 ล้านบาท ส่วนแผนปรับโครงสร้างหนี้ ยังคงเดิมที่ 2,300 ล้านบาท ส่วนแผนบริหารความเสี่ยง ปรับมาเป็น 69,320 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9,926 ล้านบาท จากเดิมที่ 59,393 ล้านบาท ทำให้ในภาพรวมแล้วมีการปรับปรุงวงเงินใหม่เป็น 121,900 ล้านบาท ลดลง 14,605 ล้านบาท จากเดิมที่ 136,505 ล้านบาท
"ในส่วนของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ จะเห็นว่าการก่อหนี้ใหม่ลดลง 25,780 ล้านบาท แต่การบริหารหนี้ซึ่งหมายรวมถึงการปรับโครงสร้างหนี้ บริหารความเสี่ยง ทั้ง roll over หรือการทำ swap ก็แล้วแต่มันเพิ่มขึ้น 39,032 ล้านบาท ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเราก่อหนี้ใหม่ลดน้อยลง กู้น้อยลงจากแผนเดิมที่วางไว้ แต่บริหารหนี้ที่มีอยู่แล้วเสียใหม่ ทำให้เห็นว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้น ไม่ได้ก่อหนี้ใหม่เพิ่มขึ้นไปกว่าเดิม และหนี้สาธารณะยังอยู่ในวินัยการคลังคือไม่เกิน 60% โดยปัจจุบันอยู่ที่ 45.1%" โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว