"รัฐวิสาหกิจทั้งหลายมีปัญหาเรื่องภาษีจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจอยากให้ประเมินต่ำ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็อยากประเมินสูงจะได้เก็บภาษีสูง ๆ จนรัฐวิสาหกิจมักจะอุทธรณ์ให้คณะรัฐมนตรีใช้อำนาจที่มีอยู่ผ่อนผันลดภาษีให้หน่อย ปัญหาก็ค้างคาราคาซังมานาน" พล.ต.สรรเสริญ กล่าว
สำหรับกรณีที่รัฐวิสาหกิจมีเหตุผลความจำเป็นที่จะขอลดหย่อนค่ารายปี โดยอาศัยอำนาจตามนัยมาตรา 31 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 เนื่องจากประสบปัญหาทางการเงินหรือการดำเนินกิจการ เมื่อกระทรวงเจ้าสังกัดของรัฐวิสาหกิจนั้นเสนอเรื่องไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีให้สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งเรื่องดังกล่าวให้กระทรวงการคลังรับไปพิจาณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนได้ข้อยุติก่อน และให้กระทรวงการคลังนำผลการพิจารณาดังกล่าวเสนอ ครม.ภายใน 30 วัน
โดยมีสาระสำคัญ ได้แก่ 1.ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นอัตราเฉลี่ยของปีก่อนหน้าการประเมินค่ารายปีภาษีโรงเรือนและที่ดินปีภาษีปัจจุบันเป็นเกณฑ์คำนวณผลตอบแทนของเครื่องจักรเพื่อกำหนดเป็นค่ารายปีภาษีโรงเรือนและที่ดินกรณีของรัฐวิสาหกิจ 2.ให้นำค่ารายปีของเครื่องจักรที่หักค่าเสื่อมราคาและได้คำนวณผลตอบแทนของเครื่องจักร มารวมกับค่ารายปีของโรงเรือนเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณการลดค่ารายปีของโรงเรือนที่มีเครื่องจักรเป็นส่วนควบที่สำคัญลงเหลือ 1 ใน 3 ตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ
"เรื่องทำนองนี้เคยเกิดขึ้น กรณีองค์กรปกครองท้องถิ่นเก็บภาษีโรงเรือนจากการท่าอากาศยานฯ ขณะเดียวกันพื้นที่บางส่วนของการท่าอากาศยานฯ ก็ให้การบินไทยเช่าช่วงต่อ การบินไทยก็รับภาระจ่ายภาษีให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแทน แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไปเก็บภาษีจากการท่าอากาศยานฯ อีกซึ่งซ้ำซ้อนกัน แนวทางนี้จะไม่ทำให้เกิดปัญหาเช่นนั้นอีก" พล.ต.สรรเสริญ กล่าว