โดยสาระสำคัญ คือ แก้ไขเพิ่มเติมนิยามของคำว่า “หลักทรัพย์" “สถาบันการเงิน" และ “การให้สินเชื่อ" เพื่อให้ บสย. สามารถช่วยเหลือ SMEs ผ่านการค้ำประกันสินเชื่อได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง, แก้ไขเพิ่มเติมในหมวดการจัดการ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ และกฎหมายจัดตั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจแห่งอื่น ๆ, แก้ไขการให้รัฐบาลค้ำประกันเงินกู้ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ และเพิ่มบทบัญญัติให้ บสย. เป็นสถาบันการเงินภาครัฐ ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อให้ บสย. เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงานเช่นเดียวกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น ๆ, เพิ่มเติมการสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการหนี้ โดยการเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา รวมไปถึงยกเว้นบรรดาค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้น เพื่อลดเวลา และค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของ บสย. ซึ่งจะช่วยลดกระบวนการทางศาลสำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ภายหลังจากแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวแล้วจะช่วยให้ บสย.สามารถช่วยเหลือ SMEs ผ่านการค้ำประกันสินเชื่อได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น เป็นการช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ SMEs และก่อให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ตลอดจนสามารถบริหารองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพในภาวะเศรษฐกิจและการเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงไป