ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบการกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ รวม 5 กลุ่มอุตสาหกรรม 20 สาขาอาชีพ โดยให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้น ไป ดังนี้
กลุ่มอุตสาหกรรม/สาขาอาชีพ อัตราค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ (บาท) ระดับ 1 ระดับ 2 1.ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ - พนักงานประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง 360 430 - พนักงานประกอบมอเตอร์สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า 370 445 - ช่างเทคนิคบำรุงรักษาเครื่องจักรกล สำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 410 490 - ช่างเทคนิคระบบรักษาความปลอดภัย 400 480 2.ชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ - ช่างกลึงสำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 400 480 - ช่างเชื่อมมิก-แม็กสำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 400 480 - ช่างเทคนิคบำรุงรักษาเครื่องจักรกล สำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 400 480 - ช่างเทคนิคเครื่องกลึงอัตโนมัติ สำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 400 480 3.ยานยนต์ - ช่างเทคนิคพ่นสีตัวถังสำหรับอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ 400 480 - ช่างเทคนิคพ่นซีลเลอร์ตัวถังสำหรับอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ 400 480 - พนักงานประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ยานยนต์ (ขั้นสุดท้าย) 400 480 - พนักงานประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ยานยนต์ (ขั้นสุดท้าย) 400 480 4.อัญมณี - ช่างเจียระไนพลอย 420 550 - ช่างหล่อเครื่องประดับ 420 550 - ช่างตกแต่งเครื่องประดับ 420 550 - ช่างฝังอัญมณีบนเครื่องประดับ 420 550 5.โลจิสติกส์ - นักบริหารขนส่งสินค้าทางถนน 415 500 - ผู้ควบคุมรถยกสินค้าขนาดไม่เกิน 10 ตัน 360 430 - ผู้ควบคุมสินค้าคงคลัง 350 420 - ผู้ปฏิบัติการคลังสินค้า 340 410
ทั้งนี้ การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือจะทำให้แรงงานไทยมีรายได้ที่เหมาะสม เป็นธรรม สอดคล้องกับทักษะ ฝีมือ ความรู้ ความสามารถ และการจ้างงานในตลาดแรงงาน อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้แรงงานไทยมีการพัฒนาฝีมือแรงงานและมี ผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพแรงงานไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ
นอกจากนี้ ยังสอดรับกับนโยบายรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อรองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้า หมาย ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยสามารถผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้ใน 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 การต่อยอด 5 อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ ซึ่งเป็นการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วในประเทศ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว กลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และ อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร
และรูปแบบที่ 2 การเติม 5 อุตสาหกรรมอนาคต ซึ่งเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อเปลี่ยนรูปแบบสินค้าและ เทคโนโลยี ได้แก่ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรม ดิจิตอล และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร โดยอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและเป็นที่สนใจของนักลงทุนทั่ว โลก ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของไทยในอนาคต