(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เงินบาทเปิด 35.07/09 คาดแกว่งแคบให้กรอบวันนี้ 35.00-35.15

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 11, 2016 12:09 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 35.07/09 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วงเย็นวันศุกร์ที่ ระดับ 35.11/13 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้แข็งค่าขึ้นจากช่วงเย็นวันศุกร์ แต่วันนี้คาดว่าการซื้อขายจะค่อนข้างเงียบๆ เนื่องจากสัปดาห์นี้จะ มีวันหยุดยาว Trader จึงไม่น่าจะเหลือ position ไว้มาก และแม้ตลาดต่างประเทศจะเปิดทำการในสัปดาห์นี้ แต่ตัวเลขเศรษฐกิจ ที่สำคัญ โดยเฉพาะของสหรัฐฯ จะประกาศออกมาในช่วงที่ตรงกับวันหยุดสงกรานต์ของไทย ดังนั้นจึงไม่น่าจะมีผลอะไรมากกับตลาด เงินในประเทศ ซึ่งต้องรอดูหลังจากเปิดทำการวันจันทร์อีกครั้ง

"วันนี้บาทคงเงียบๆ เพราะสัปดาห์นี้มีวันหยุดยาว Trader ไม่น่าจะเหลือ position ไว้มาก" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.00 - 35.15 บาท/ดอลลาร์

ล่าสุด SPOT อยู่ที่ระดับ 35.0550 บาท/ดอลลาร์ ส่วน THAI BAHT FIX 3M (8 เม.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.46247% ส่วน THAI BAHT FIX 6M (8 เม.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.49274%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 107.68/73 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 108.73/76 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรเช้านี้อยู่ที่ระดับ 1.1415/1419 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.1376/1377 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.169 บาท/ดอลลาร์
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลดลงเมื่อเทียบสกุลเงินยูโรเมื่อวันศุกร์ (8 เม.ย.) หลังเจ้าหน้าที่ธนาคารกลาง
สหรัฐ (เฟด) ระบุว่า เฟดควรจะพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างระมัดระวัง
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งเมื่อวันศุกร์ (8 เม.ย.) หลังข้อมูลบ่งชี้
ว่า การผลิตน้ำมันในสหรัฐได้ปรับตัวลดลง โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้น 2.46 ดอลลาร์ หรือ 6.6% ปิดที่
39.72 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้น 2.51 ดอลลาร์ หรือ 6.4% ปิดที่ 41.94 ดอลลาร์/
บาร์เรล
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานในวันนี้ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมี.ค. ปรับตัวขึ้น 2.3% เมื่อ
เทียบเป็นรายปี หลังจากปรับตัวขึ้นในระดับเดียวกันที่ 2.3% ในเดือนก.พ.
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ออกรายงานเตือนว่า นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบอาจจะส่งผลกระทบต่อ
เศรษฐกิจของประเทศที่นำนโยบายดังกล่าวมาใช้ เช่น ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (อียู) โดยมองว่านโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบอาจเป็น
อุปสรรคต่อธนาคารที่มีศักยภาพในการทำกำไรต่ำ หากมีการนำนโยบายดอกเบี้ยต่ำหรือดอกเบี้ยติดลบมาใช้เป็นเวลานานเกินไป ผล
กระทบในด้านลบก็จะลุกลามไปถึงธุรกิจประกันชีวิต กองทุบบำเน็จบำนาญ และเงินออม

นอกจากนี้ IMF ยังได้เรียกร้องให้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ จับตาดูความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด และ วิเคราะห์สถานการณ์ด้านการเงินอย่างรอบคอบ

  • ผลสำรวจภาคธุรกิจซึ่งจัดทำโดยสมาคมหอการค้าอังกฤษ (BCC) ระบุว่า เศรษฐกิจอังกฤษมีแนวโน้มชะลอตัวในช่วง
3 ไตรมาสแรกของปีนี้ เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศทั้งในภาคบริการและภาคการผลิต มีแนวโน้มซบเซาลง ทั้งนี้ แนวโน้มที่อ่อนแอ
ของเศรษฐกิจส่งผลให้ธนาคารกลางอังกฤษประกาศให้สถาบันการเงินภายในประเทศปรับเพิ่มเงินทุนกันชน (capital buffer)
เพื่อรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจ
  • ติดตามการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ เช่น ยอดค้าปลีกเดือนมี.ค., ดัชนีราคาผู้ผลิต

(PPI) เดือนมี.ค., รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการ

ว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมี.ค. เป็นต้น


แท็ก เงินบาท   Trade  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ