ภาวะตลาดเงินบาท: เย็นนี้ 35.02 แข็งค่าต่อจากช่วงเช้าตามเยน หลัง BOJ ไร้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday April 28, 2016 16:27 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 35.02 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากเปิดตลาดช่วงเช้าที่ระดับ 35.12 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับค่าเงินภูมิภาคและค่าเงินเยน ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 35.00-35.15 บาท/ดอลลาร์

"บาทแข็งค่าจากช่วงเปิดตลาดตามภูมิภาคและค่าเงินเยน หลังผลประชุม BOJ ไม่มีมาตรการใดเปลี่ยนแปลง" นัก
บริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดว่า วันพรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 34.90-35.10 บาท/ดอลลาร์

ล่าสุด THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 35.0750 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.21 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 111.67 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1352 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1304 ดอลลาร์/ยูโร
  • น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านนโยบายและ
ยุทธศาสตร์ ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สศค.ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 59 คาดว่าจะสามารถ
ขยายตัวได้ 3.3% จากช่วงคาดการณ์ที่ 3.0-3.6% จากเดิมคาดว่าจะขยายตัวได้ราว 3.7% เนื่องจากคาดว่าการส่งออกที่ยังได้รับ
ผลกระทบจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอน ทำให้มีแนวโน้มขยายตัวต่ำลงจากที่คาดการณ์ครั้งก่อน หรือหด
ตัวราว 0.7%
  • ขณะที่เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/59 คาดว่าจะขยายตัว 3% โดยมีแนวโน้มดีขึ้นกว่าไตรมาส 4/58 แต่หากจะให้
อัตราการขยายตัวทั้งปีเติบโตได้ถึง 3.3% ตามที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดการณ์ล่าสุด ในช่วงที่เหลือของปีนี้ก็จะต้อง
ผลักดันให้ศรษฐกิจขยายตัวมากกว่า 3%
  • นายวโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล รองผู้อำนวยการ สศค. แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือน มี.ค.59
และไตรมาส 1/59 ว่า เศรษฐกิจไทยสะท้อนภาพรวมการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็น
ผลจากมาตรการเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ได้ดำเนินการต่อเนื่องและภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดี ขณะที่การลงทุนเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าของไทยยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อ
มั่นทางเศรษฐกิจที่ลดลง และกระทบต่อการบริโภคภาคเอกชนให้ชะลอลง
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายในการเพิ่มฐานเงินรายปีที่ระดับ 80 ล้านล้านเยน ผ่านทางการซื้อ
สินทรัพย์ขนานใหญ่ นอกจากนี้ยังได้ปรับลดแนวโน้มของเงินเฟ้อลง พร้อมคาดการณ์ว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% ได้ใน
ช่วงปีงบประมาณ 2560 ทั้งนี้ BOJ คาดว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคจะขยายตัว 0.5% ในปีงบประมาณที่จะสิ้นสุดลงในเดือนมี.ค.ปีหน้า
และขยายตัวที่ 1.7% ในปีงบประมาณ 2560 เมื่อเปรียบเทียบกับการคาดการณ์เมื่อเดือนม.ค.ว่า จะขยายตัว 0.8% และ 1.8%
ตามลำดับ
  • นายฮารูฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า แบงก์ชาติญี่ปุ่นต้องการใช้เวลาเพื่อประเมิน
ผลกระทบจากการใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบมากกว่านี้ นอกจากนี้ยังมองว่า เศรษฐกิจและตัวเลขราคาต่างๆยังมีความเสี่ยงช่วงขาลง
ในวงกว้างอยู่
  • กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น เผยยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.ปรับตัวลง 1.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี
หลังจากเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนก.พ. การร่วงลงของยอดค้าปลีกเดือนมี.ค.สะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการจับจ่ายใช้สอยใน
ช่วงที่อัตราค่าแรงชะลอตัวลง และเศรษฐกิจทั่วโลกยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอน ส่วนยอดขายของบริษัทค้าปลีกขนาดใหญ่ ร่วงลง
1.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี หลังจากที่มีการปรับเปลี่ยนจำนวนร้านค้าปลีก
  • กระทรวงแรงงานญี่ปุ่น เผยอัตราว่างงานเดือนมี.ค.ร่วงลงสู่ระดับ 3.2% จากเดือนก.พ.ที่ระดับ 3.3% ส่วนอัตรา
ตำแหน่งงานที่รองรับจำนวนคนว่างงานปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะ 1.30 ในเดือนมี.ค. ซึ่งหมายความว่า ตำแหน่งงานว่าง 130 ตำแหน่ง
สำหรับรองรับจำนวนคนหางานได้ 100 ราย สะท้อนให้เห็นว่าตลาดแรงงานของญี่ปุ่นยังคงตึงตัว เมื่อพิจารณาเป็นภาคส่วนพบว่า การ
จ้างงานในภาคสาธารณะสุขและสวัสดิการสังคม ภาคการเงิน และธุรกิจประกัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบเป็นรายปี แต่การจ้างงานใน
ภาคการผลิตปรับตัวลดลง
  • ธนาคารกลางนิวซีแลนด์มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 2.25% ในการประชุมวันนี้ แม้เศรษฐกิจภายในประเทศและใน
ต่างประเทศยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอน โดยนายแกรม วีลเลอร์ ผู้ว่าการธนาคารกลางนิวซีแลนด์ เปิดเผยว่า แนวโน้มการเติบโต
ของเศรษฐกิจทั่วโลกยังคงอ่อนแรงในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากเศรษฐกิจจีนและกลุ่มตลาดเกิดใหม่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอ
ลง ขณะที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์บางประเทศยังคงปรับตัวลง
  • กระทรวงทรัพยากรบุคคลของสิงคโปร์ เผยอัตราว่างงานในไตรมาสแรกปีนี้ยังคงอยู่ที่ระดับต่ำสุดที่ 1.9% ส่วนการ
จ้างงานในไตรมาสแรกปีนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการจ้างงานในภาคบริการ ขณะที่การจ้างงานในภาคการผลิตยังคง
ปรับตัวลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 6 สำหรับการจ้างงานในเดือนมี.ค.ปีนี้ อยู่ที่ 3,667,600 ตำแหน่ง ซึ่งเพิ่มขึ้น 1.4% จากปีที่แล้ว
  • สถาบัน Ifo ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมนี เผยบริษัทสัญชาติเยอรมันมีแผนจ้างงานเพิ่มในเดือนเม.ย.

หลังจากอัตราแรงงานในไตรมาสแรกลดลง โดยดัชนีการจ้างงานของ Ifo ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 108.1 จุดในเดือนเม.ย. จากระดับ

107.4 จุดเมื่อเดือนมี.ค.


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ