ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.09/11 คาดแกว่งในกรอบแคบ นลท.รอผลประชุมกนง.พุธนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 9, 2016 09:15 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 35.09/11 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวันพุธที่ปิดตลาดที่ ระดับ 35.16/18 บาท/ดอลลาร์

วันนี้คาดว่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ เพราะตลาดรอผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันพุธที่ 11 พ.ค.นี้ ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่ารอบนี้ กนง.น่าจะยังคงดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิม

"วันนี้บาทคงแกว่งแคบๆ ตลาดรอผลประชุม กนง.พุธนี้ก่อน แต่ส่วนใหญ่เชื่อว่ายังคงดอกเบี้ย" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 35.05-35.20 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนเช้านี้อยู่ที่ระดับ 107.25/30 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวันพุธที่ระดับ 106.77 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรเช้านี้อยู่ที่ระดับ 1.1402/1405 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวันพุธที่ระดับ 1.1481 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.1070 บาท/
ดอลลาร์
  • นักบริหารเงิน ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในสัปดาหนี้ที่ 34.80-35.20 บาทต่อ
ดอลลาร์สหรัฐ โดยอาจต้องจับตากระแสการคาดการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ หลังการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอก
ภาคเกษตร ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด และข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งจะประกาศเพิ่มเติมในระหว่างสัปดาห์ อาทิ ดัชนีความเชื่อมั่น
ผู้บริโภคเดือน พ.ค. (เบื้องต้น) ยอดค้าปลีก ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนเม.ย. และสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจ-ค้าส่งเดือน มี.ค. นอก
จากนี้ นักลงทุนอาจมีจุดสนใจเพิ่มเติมที่การประชุมกนง. ในช่วงกลางสัปดาห์ (11 พ.ค.) และข้อมูลเศรษฐกิจจีน อาทิ เงินเฟ้อ
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ยอดค้าปลีก และสินเชื่อในเดือนเม.ย. ด้วยเช่นกัน
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ กนง.ยังคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระด้บเดิมที่ 1.50% รอดูท่าทีเศรษฐกิจหลังมาตรการ
รัฐสิ้นสุด ขณะที่เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นยังกดดันด้านส่งออก แต่หากสถานการณ์แย่ลงก็อาจผ่อนคลายนโยบายเพิ่มเติมได้
  • นางทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
การปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ลงในช่วงที่ผ่านมาอาจจะไม่ช่วยในการกระตุ้นการบริโภคในประเทศ รวมไปถึงการขยาย
ตัวของสินเชื่อได้มากนัก ส่วนหนึ่งเพราะประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้คนที่พึ่งรายได้จากดอกเบี้ยผลตอบแทนด้าน
เงินฝากอาจจะลดลงด้วย แต่อย่างไรก็ดีการลดดอกเบี้ยมีข้อดีในการช่วยลดภาระของคนมีหนี้ได้
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อวันศุกร์ (6 พ.ค.) หลังจากมีรายงานว่าเกิด
ไฟป่าเป็นวงกว้างในแหล่งทรายน้ำมันของแคนาดา โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 34 เซนต์ หรือ 0.8% ปิดที่
44.66 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค.เพิ่มขึ้น 36 เซนต์ หรือ 0.8% ปิดที่ 45.37 ดอลลาร์/
บาร์เรล
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งแรงเมื่อวันศุกร์(6 พ.ค.) หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานที่อ่อนแอเกินคาด
โดยสัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 21.7 ดอลลาร์ หรือ 1.71% ปิดที่
1,294.00 ดอลลาร์/ออนซ์ และเพิ่มขึ้น 0.27% ในสัปดาห์นี้ หลังจากที่พุ่งขึ้น 4.92% ในสัปดาห์ก่อน
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักเมื่อวันศุกร์ (6 พ.ค.) หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลการ
จ้างงานนอกภาคการเกษตรที่ต่ำเกินคาด โดยข้อมูลดังกล่าวได้เพิ่มแรงกดดันต่อแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ย
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 160,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. ซึ่ง
ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นราว 202,000 ตำแหน่ง และเพิ่มขึ้นน้อยที่สุดในรอบ 7 เดือน นับเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่า
เศรษฐกิจสหรัฐยังไม่ฟื้นตัวดี ส่วนอัตราว่างงานยังทรงตัวที่ระดับ 5% ในเดือนเม.ย. สอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์

ทั้งนี้ ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ซบเซาน่าจะช่วยลดความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะขึ้นดอกเบี้ยใน การประชุมเดือนมิ.ย. โดยเฟดอาจต้องการหลักฐานเพิ่มเติมที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้วจริงๆ

  • ธนาคารกลางจีนเปิดเผยว่า ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีนปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันในเดือนเม.
ย. โดยเพิ่มขึ้น 7.1 พันล้านดอลลาร์ ท่ามกลางการคลายความวิตกเกี่ยวกับการอ่อนค่าของเงินสกุลหยวน และการไหลออกของเงิน
ทุน หลังอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจส่งสัญญาณถึงการมีเสถียรภาพ
  • ธนาคารกลางจีน ประกาศย้ำจุดว่าจีนจะใช้นโยบายการเงินอย่างรอบคอบรัดกุมต่อไป และในขณะเดียวกันก็จะมีความ

ยืดหยุ่นเพื่อป้องกันความเสี่ยงทางการเงินเชิงระบบ นอกจากนี้ ธนาคารกลางจีนยังเตือนด้วยว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลกยังคง

อ่อนแอ และยังมีความไม่แน่นอนอีกมากมายรออยู่เบื้องหน้า


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ