ภาวะตลาดเงินบาท: ปิดตลาด 35.31 อ่อนค่าตามภูมิภาค-ทิศทางดอลลาร์ มองกรอบพรุ่งนี้ 35.25-35.35

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 12, 2016 17:27 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.31 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 35.24/26 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามค่าเงินภูมิภาคจากแรงซื้อ-ขายดอลลาร์ ประกอบกับมีความเห็นจากผู้บริหารธนาคารแห่ง ประเทศไทย (ธปท.) เกี่ยวกับผลกระทบจากภัยแล้งซึ่งเป็นปัจจัยลบเศรษฐกิจไทย

"หลังเปิดตลาด เงินบาททยอยอ่อนค่าตามภูมิภาค เนื่องจากมีแรงเทขายดอลลาร์ แต่ช่วงบ่ายมีแรงซื้อดอลลาร์กลับเข้า มา ปิดตลาดวันนี้อ่อนค่าสุดของวัน" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทวันพรุ่งนี้ไว้ระหว่าง 35.25-35.35 บาท/ดอลลาร์

"ทิศทางบาทวันพรุ่งนี้น่าจะแกว่งตัวในกรอบ เพราะยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามา" นักบริหารเงิน กล่าว
  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.15 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 108.50 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1407 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1425 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,399.31 จุด เพิ่มขึ้น 16.90 จุด, +1.22% มูลค่าการซื้อขาย 43,165.81 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 878.96 ล้านบาท (SET+MAI)
  • นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ระบุขณะนี้ความผันผวนในตลาดเงินตลาดทุนยังสูง
จึงอยากส่งสัญญาณเตือนผู้ประกอบการอย่าชะล่าใจ เพราะความผันผวนของค่าเงินบาทอาจเกิดขึ้นได้ทั้งสองด้านในบางช่วงเวลา
พร้อมทั้งยืนยันการใช้กรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อในการดูแลภาวะเศรษฐกิจและรักษาเสถียรภาพในประเทศยังมีความเหมาะสม

ส่วนกรณีที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กังวลว่าอัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าอาจจะไม่เอื้อต่อการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจบางช่วงนั้น ธปท.จะไม่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนในระดับใดระดับหนึ่งเพื่อให้มากำหนดความสามารถในการแข่งขัน และยัง มองว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศหากต่ำนานๆ เกินไปก็จะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมนำไปสู่การเก็งกำไร หรือเกิดปัญหาฟอง สบู่ในบางภาคธุรกิจได้

อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยขณะนี้ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ยังต้องจับตาปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะเหตุการณ์นอก ประเทศที่ส่งผลต่อตลาดเงินตลาดทุนในประเทศทำให้สัญญาณบางอย่างแผ่วลง

  • น.ส.วัฒนา ถิรานุชิต กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด คาดภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 59 จะยังคงอ่อนตัว
ต่อเนื่องจากปีก่อน โดยมีอัตราการขยายตัวระหว่าง 2.7-3.0% จากปีก่อนที่ขยายตัวราว 2.8% ซึ่งต่ำกว่าศักยภาพของประเทศที่เคย
ขยายตัวเฉลี่ย 4.5% ในช่วงปี 43-55
  • น.ส.วัฒนา ถิรานุชิต กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ระบุขณะนี้ยังไม่มีปัจจัยที่เกื้อหนุนให้มีการปรับ
อันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยดีขึ้นจากปัจจุบัน ซึ่งอยู่ที่ระดับ BBB+ เพราะต้องดูจากหลายปัจจัย ขณะที่การเติบโตทาง
เศรษฐกิจของประเทศไทยยังต้องพึ่งพิงการส่งออกเป็นหลัก
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
(GDP) ในปี 59 เหลือเติบโต 3% จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโต 3.5-4% โดยปัจจัยลบที่มีผลต่อเศรษฐกิจไทยในปีนี้ ได้แก่ ภัยแล้งยาว
นาน หนี้ภาคครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ประกอบกับเศรษฐกิจโลกยังฟื้นตัวไม่ชัดเจน ส่วนในปี 60 คาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตได้ราว
3.4% ได้รับอานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นบริโภค การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่อเนื่องจากปีนี้ และภาคการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะยังคง
เติบโตอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกคาดว่าจะเติบโตสูงขึ้นมาที่ 0.8% จาก 0.4% ในปีนี้ และอัตราเงินเฟ้อเป็นบวกเพิ่มขึ้นมาที่
1.2% จาก 0.4% ในปีนี้
  • ผลสำรวจความเห็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินในช่วงไตรมาส 1 ปี 2559 ของดีลอยท์ บริษัทที่ปรึกษาทางการ
เงิน พบว่าบรรดาประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน 68% ในภาคธุรกิจมองว่าสภาวะเศรษฐกิจและการเงินในยุโรปมีความไม่แน่นอนสูง
โดยผลสำรวจครั้งนี้มีตัวเลขสูงกว่าผลสำรวจในไตรมาสที่ 3 ของปี 2558 ซึ่งอยู่ที่ 66%
  • ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปี ปิดปรับตัวลงสู่แดนลบในวันนี้ เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อพันธบัตรจากกระแส
คาดการณ์ที่ว่าภาวะอุปทาน-อุปสงค์พันธบัตรตึงตัว จะยังเกิดขึ้นต่อไป โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรหมายเลข 342 ซึ่งเป็นมาตรวัด
อัตราดอกเบี้ยระยะยาว ปิดที่ -0.115% ลดลง 0.010% จากระดับปิดวานนี้ ขณะที่ราคาสัญญาพันธบัตรอายุ 10 ปีส่งมอบเดือนมิ.ย.
เพิ่มขึ้น 0.08 จุด แตะที่ 151.95 ที่ตลาดหุ้นโอซาก้า
  • สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น เผยความเชื่อมั่นทางธุรกิจของชาวญี่ปุ่นที่ประกอบอาชีพที่มีความอ่อนไหวต่อแนวโน้มของ
เศรษฐกิจปรับตัวลงในเดือนเม.ย. หลังจากเพิ่มขึ้นในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากการบริโภคและกิจกรรมของภาคเอกชนได้รับผลกระทบ
จากเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงในพื้นที่ตะวันตกเฉียงใต้ที่เกิดขึ้นในเดือนเดียวกัน ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่น diffusion index ในกลุ่ม
อาชีพที่อ่อนไหวต่อสภาพเศรษฐกิจ อาทิ คนขับรถแท็กซี่ และพนักงานร้านอาหาร ลดลง 1.9 จุด จากเดือนก่อนหน้า สู่ระดับ 43.5
ในเดือนเม.ย.
  • สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซนในเดือนมี.ค. ปรับตัว

ลดลง 0.8% จากเดือนก.พ. ซึ่งเป็นการร่วงลงอย่างหนักติดต่อกันเป็นเดือนที่สอง บ่งชี้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในเขตยูโรโซนยัง

คงซบเซา


แท็ก เงินบาท   ธปท.  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ