นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.72 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเปิดตลาดเช้าที่ระดับ 35.63 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 35.63-35.75 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากรอปัจจัยใหม่จากต่างประเทศเข้า มา โดยตัวเลขเศรษฐกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ประกาศออกมายังสะท้อนว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจน ขณะที่ค่าเงินใน ภูมิภาคเคลื่อนไหวแบบผสมผสาน
"บาทเคลื่อนไหวแกว่งตัวอ่อนค่าขึ้นมาจากช่วงเช้า รอปัจจัยใหม่เข้ามา" นักบริหารเงิน กล่าว
โดยคืนวันศุกร์จะมีการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมของสหรัฐฯ
ทั้งนี้ นักบริหารเงินได้ประเมินการเคลื่อนไหวในวันพรุ่งไว้ที่ 35.65-35.80 บาท/ดอลลาร์เช่นเดิม
ล่าสุด THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 35.7300 บาท/ดอลลาร์
- ค่าเงินเยนอยู่ที่ 110.98 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ 110.94 เยน/ดอลลาร์
- ค่าเงินยูโรอยู่ที่ 1.1129 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ 1.1151 ดอลลาร์/ยูโร
- นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
(MPI) ในเดือนเม.ย. 59 อยู่ที่ 99.59 มีอัตราขยายตัวต่อเนื่อง 1.54% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ส่วนแนวโน้มดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน พ.ค.59 น่าจะยังดี ขณะที่คงเป้าทั้งปี 59 โต 2-3% และอัตรา การขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ภาคอุตสาหกรรมคาดว่าจะเติบโตที่ 1.5-2.5%
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจเดือน เม.ย.59 ขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมี
แรงส่งที่ดีจากภาคบริการ ขณะที่ภาคการผลิตยังขยายตัวค่อนข้างต่ำ เพราะการส่งออกสินค้ายังคงซบเซาตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า
สำคัญ ประกอบกับกำลังซื้อภายในประเทศได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ส่งผลต่อเนื่องให้การลงทุนภาคเอกชนยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่
ต่อเนื่องอย่างชัดเจน สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐแผ่วลงเล็กน้อยหลังจากที่เร่งไปมากในเดือนก่อน
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับมาเป็นบวกเล็กน้อยตามการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารสดและราคา น้ำมัน อัตราการว่างงานทรงตัวจากเดือนก่อน ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล จากมูลค่าการนำเข้าที่อยู่ในรนะดับต่ำ ประกอบกับราย
- นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก ประเมินการส่ง
ออกในไตรมาส 2 หากยังอยู่ที่ -2 ถึง 0% แต่ไตรมาส 3 และ 4 กลับมาเป็นบวกได้ จะทำให้ทั้งปีการส่งออกไทยจะมีโอกาสเติบโต
ได้ 0-2% และยังเป็นเป้าที่สภาผู้ส่งออกคงไว้จนกว่าจะเห็นผลการส่งออกที่ชัดเจนในไตรมาส 2 จึงจะปรับเป้าหมายใหม่ แต่หากใน
เดือนมิ.ย.สถานการณ์เศรษฐกิจโลกยังไม่เริ่มดีขึ้น และปัจจัยเสี่ยงกลายเป็นปัจจัยลบที่ทวีความรุนแรงขึ้น เช่น ปัญหาเศรษฐกิจใน
จีน, สหภาพยุโรป, ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก สงครามการค้าและค่าเงิน ราคาน้ำมันดิบและสินค้าโภคภัณ์ฑ์ การที่อังกฤษออก
จากสหภาพยุโรป ความขัดแย้งทางการเมืองในหลายภูมิภาค การก่อการร้าย ปัญหาผู้ลี้ภัย ภัยธรรมชาติ และโรคระบาด ซึ่งหากสุด
ท้ายนานาประเทศไม่สามารถปฏิรูปเศรษฐกิจและร่วมมือกันแก้ไขปัญหาได้อย่างจริงจัง โลกก็จะเข้าสู่ภาวะถดถอยและเกิดวิกฤติ
เศรษฐกิจในที่สุด และประเทศไทยจะส่งออกติดลบเป็นปีที่ 4
- นายเจมส์ บุลลาร์ด ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์ เผยต้องการจะรอดูข้อมูลเศรษฐกิจเพิ่ม
เติม ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะสนับสนุนการปรับขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่ในการประชุมเดือนมิ.ย.หรือครั้งถัดไปในเดือนก.ค. โดยเมื่อวันศุกร์ที่
ผ่านมากระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้ประกาศตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ประจำไตรมาส
แรก อยู่ที่ระดับ 0.8% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2558 ซึ่งนายบุลลาร์ดมองว่าตัวเลขดังกล่าวดูมีทิศทางที่ดี แต่ก็
ยังนับว่าอ่อนแรง โดยเศรษฐกิจสหรัฐจำเป็นต้องมีสัญญาณบ่งชี้ที่ชัดเจนกว่านี้
- นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ได้ให้คำมั่นเพื่อส่งเสริมบริษัทเทคโนโลยี เพื่อยกระดับศักยภาพทางการแข่งขันของจีน
ในเวทีโลก ตามยุทธศาสตร์ Internet Plus และ Made in China 2025 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อหนุนให้จีนเป็นผู้นำในตลาดโลก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และอากาศยาน
- นายทาโร อาโสะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า รัฐบาลญี่ปุ่นยังคงเดินหน้าตามเป้าหมายทาง
การคลังภายในปีงบประมาณ 2563 แม้ว่าจะมีการเลื่อนการปรับขึ้นภาษีบริโภคออกไป
--อินโฟเควสท์ โดย ธนวัฏ เสือแย้ม/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--