ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.63 แข็งค่าเล็กน้อย นักลงทุนจับตาดัชนี PMI ภาคการผลิตประเทศเศรษฐกิจรายใหญ่

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 1, 2016 17:23 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.63 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ ระดับ 35.69/71 บาท/ดอลลาร์

ตลอดทั้งวันเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ โดยมาปรับแข็งค่าขึ้น 3-4 สตางค์ในช่วงบ่าย ซึ่งคืนนี้นักลงทุนรอดูการ ประกาศตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของประเทศเศรษฐกิจรายใหญ่ทั้ง จีน สหรัฐ และสหภาพยุโรป รวมทั้งรอ ดูรายงานภาวะเศรษฐกิจ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ในคืนนี้ด้วย

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 35.55 - 35.70 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ช่วงเย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 109.45 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 110.66/71 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1139 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1118/1119 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,415.76 จุด ลดลง 8.52 จุด (-0.60%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 42,858 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 453.96 ลบ.(SET+MAI)
  • กระทรวงพาณิชย์ เผยดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ค.59 ขยายตัว 0.46% เมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้เงินเฟ้อเฉลี่ย 5 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.) ยังลดลง 0.20% ทั้งนี้คาดว่าอัตราเงิน
เฟ้อในช่วงครึ่งปีหลังจะมีแนวโน้มเป็นบวก โดยประเมินว่าในไตรมาส 3 จะขยายตัว 1% และไตรมาส 4 โต 2%

ขณะที่ทั้งปียังคงประมาณการเงินเฟ้อไว้เท่าเดิมที่ 0-1% โดยประเมินว่าปัจจัยสนับสนุนยังมีผลต่อเนื่อง โดยเฉพาะจาก การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ ขณะที่สถานการณ์ Supply Disruption ในตลาดน้ำมันเริ่มคลี่คลาย อุปทานน้ำมันในตลาดโลกยัง อยู่ในระดับสูง และเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนลงเล็กน้อยในช่วงครึ่งปีหลัง จากปัจจัยสำคัญคือการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคาร กลางสหรัฐ (เฟด)

  • นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ขณะนี้ยังไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน
นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในขณะนี้ยังเป็นไปตามที่ ธปท.ได้
ประเมินไว้ว่าจะพลิกเป็นบวกในไตรมาส 2 และอัตราเงินเฟ้อในปีนี้อาจแตะกรอบล่างของคาดการณ์

สำหรับอัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ค.59 ที่เพิ่มขึ้น 0.46% และเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังจากติดลบไป ปีกว่านั้น นายวิรไท มองว่าไม่ถือว่าเงินเฟ้อขยายตัวเร็วเกินไป เพราะเป็นไปตามคาดการณ์ของ ธปท.อยู่แล้ว

  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจเยอรมนี รายงานว่า เศรษฐกิจของเยอรมนีอาจชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 2 เนื่องจากปัจจัยขับ
เคลื่อนเศรษฐกิจหลักๆอ่อนแรงลง โดยมีแนวโน้มจะเติบโตขึ้น 0.3% ในไตรมาส 2 หลังจากที่เติบโตขึ้น 0.7% ในไตรมาสแรกของปี
นี้ อย่างไรก็ดี การบริโภคจะเติบโตในอัตราที่ช้ากว่าเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ขณะที่แรงกดดันต่อรัฐบาลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้านผู้อพยพก็จะลด
ลงด้วย
  • นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น กล่าวว่า จะเลื่อนการปรับขึ้นภาษีการบริโภคออกไปจนกว่าจะถึงเดือน ต.
ค.62 เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค โดยการประกาศครั้งนี้มีขึ้นในช่วงที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคอ่อนตัวลง นับตั้งแต่ที่รัฐบาลได้
ประกาศขึ้นภาษีบริโภคไปเมื่อเดือนเม.ย.57 และการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ต่างก็ชะลอตัวลง
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติอินโดนีเซีย เผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 3.33% ในเดือนพ.ค.เมื่อ
เทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2552 เนื่องจากราคาอาหารปรับตัวลดลง และอาจเปิดทางให้ธนาคารกลางอินโดนีเซีย
ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนนี้ ทั้งนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียได้กำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อปีนี้เอาไว้ในกรอบ 3-5%
  • องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) มีมุมมองเชิงลบต่อเศรษฐกิจโลกมากขึ้น โดยเตือน

ว่า เศรษฐกิจจะเติบโตในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง หากรัฐบาลไม่ปรับเปลี่ยนทิศทางการใช้จ่ายและการค้า พร้อมระบุว่าในบรรดาความ

เสี่ยงที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลกนั้น รวมถึงกรณีที่อังกฤษจะถอนตัวจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) ด้วย


แท็ก เงินบาท  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ