ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.10/11 แนวโน้มยังแข็งค่าต่อหลังดอลล์อ่อน มองกรอบ 35.05-35.20

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 9, 2016 09:15 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 35.10/11 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ ระดับ 35.22 บาท/ดอลลาร์

"วันนี้ลุ้นแนวรับแรก 35.05 ถ้าหลุดก็อาจจะได้เห็น Figure ส่วนข้างบนแนวต้านแรก 35.15 บาท แนวต้านถัดไป 35.20 บาท/ดอลลาร์" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน กล่าว่า ดอลลาร์ยังคงลงอย่างต่อเนื่อง ประเด็นที่ตลาดรอคือการประชุม FOMC สัปดาห์หน้า ซึ่งตลาด ค่อนข้างแน่ใจ 100% แล้วว่าไม่น่าจะมีการขึ้น Rate แล้ว

ประเมินกรอบวันนี้ 35.05-35.20 บาท/ดอลลาร์

ปัจจัยสำคัญ

  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 106.60 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 107.08 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1408 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 1.1370 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 35.2230 บาท/
ดอลลาร์
  • IMF ประเมินเศรษฐกิจไทยโตอัตราต่ำสุดในอาเซียนและต่ำกว่าค่าเฉลี่ยการขยายตัวเศรษฐกิจไทยในอดีต มองต่อไป
ยังมีความท้าทายอีกเพียบ หนุนใช้มาตรการ macroprudential เข้มงวดยุคดอกเบี้ยต่ำ เตือนอย่าเน้นการใช้มาตรการกระตุ้นระยะ
สั้น ด้าน SCB ชี้เศรษฐกิจไทยยังต้องพึ่งมาตรการคลัง แนะพัฒนา 3 กลุ่มหลัก "ท่องเที่ยว-ไอซีที-กลุ่ม CLMV" รองรับสู่ยุคธุรกิจ
บริการเฟื่องฟู
  • นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในการปาฐกถาพิเศษหัวข้อ อนาคตไทยกับทศวรรษใหม่แห่งการ
ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ที่จัดโดยศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกยังอยู่ใน
สถานการณ์ไม่ปกติ การลงทุนของภาครัฐจึงเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ ซึ่งจากนี้ภาครัฐจะมีการลงทุนปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของ
ประเทศไม่ต่ำกว่า 5.5 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม กับการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน
พลังงานใกล้เคียงกันถึงปี 65 อย่างละ 2.5 ล้านล้านบาท และการลงทุนเศรษฐกิจดิจิตอลใน 5 ปี อีก 5 แสนล้านบาท
  • นายประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทาลิส เปิดเผยว่า ภาวะ
อัตราดอกเบี้ยในประเทศจะทรงตัวอยู่ในระดับต่ำไปจนถึงกลางปี 2560 เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจโลกยังไม่ดี
และคาดว่าในครึ่งปีหลังมีความเป็นไปได้ที่ธนาคารพาณิชย์จะทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก โดยเฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ทั่ว
ไป แต่คงไม่ถึงขั้นลดจากเดิม 0.125% จนเหลือ 0% แน่นอน เพราะจะมีกระแสต่อต้านจากประชาชน อย่างที่ได้เห็นกรณีที่เกิดขึ้นใน
ช่วงก่อนหน้า
  • กระทรวงการคลังเร่งปรับระบบรองรับ e-Payment ศึกษาออกมาตรการหนุน หวังเก็บภาษีเพิ่มนับแสนล้านบาท ย้ำ
ตั้งเป้าปี 2575 ประชาชนทุกคนจะต้องมีรายได้ต่อเดือน 40,000 บาทต่อเดือน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ-ช่องว่างในสังคมไทย
  • ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ออกรายงานประเมินภาวะเศรษฐกิจโลกรอบครึ่งปี ปรับขึ้นคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมใน
ประเทศ (จีดีพี) ของไทย ว่าจะขยายตัวได้ 2.5% ในปีนี้ จากคาดการณ์เดิมที่ 2% และจะขยายตัวขึ้น 2.6% ในปีหน้า จากคาด
การณ์เดิมที่ 2.4% ซึ่งนับเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกที่ได้ปรับคาดการณ์จีดีพีเพิ่มจากรายงานเดิมเดือน ม.
ค.ที่ผ่านมา โดยได้แรงหนุนจากการลงทุนและบริโภคที่คาดจะขยายตัวขึ้น
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (8 มิ.ย.) หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการ
พลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบร่วงลงมากกว่า 3 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่สถาบันปิโตรเลียม
อเมริกันระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐปรับตัวลงเช่นกัน โดยข้อมูลดังกล่าวช่วยให้นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทาน
น้ำมันล้นตลาด โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค.เพิ่มขึ้น 87 เซนต์ หรือ 1.7% ปิดที่ 51.23 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญา
น้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนส.ค.เพิ่มขึ้น 1.07 ดอลลาร์ หรือ 2.1% ปิดที่ 52.51 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 15 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้ (8 มิ.ย.) เพราะแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะใกล้นี้ นอกจากนี้ ทองคำยังได้รับแรงหนุนจากสกุลเงินดอลลาร์ที่
อ่อนค่าลง ซึ่งช่วยกระตุ้นแรงซื้อทองคำให้คึกคักขึ้นด้วย ส่วนสัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.
ค. พุ่งขึ้น 15.30 ดอลลาร์ หรือ 1.23% ปิดที่ 1,262.30 ดอลลาร์/ออนซ์
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐยังคงอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (8 มิ.ย.)
เนื่องจากนักลงทุนได้ปรับลดการคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย.นี้
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยในวันนี้ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สำคัญ
ปรับตัวขึ้น 2.0% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้น 2.3% ในเดือนเม.ย.
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันนี้ว่า ผลสำรวจการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของพนักงาน
(JOLTS) รายเดือน พบว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานเพิ่มขึ้น 2% หรือ 118,000 ตำแหน่ง สู่ 5.8 ล้านตำแหน่งในเดือนเม.ย.
ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.ในปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี ตัวเลขอัตราการจ้างงานกลับลดลงเป็นเดือนที่ 2 สู่ระดับ 5.1 ล้าน
ตำแหน่ง โดยลดลงสู่ 3.5% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.2014 จาก 3.7% ในเดือนมี.ค.
  • องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (CLI) สำหรับสหรัฐ
ปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ 98.95 ในเดือนเม.ย. จาก 98.93 ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนก.ค.2014
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยผลสำรวจภาคบริการ (QSS) รายไตรมาสในวันนี้ ซึ่งบ่งชี้ถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่
แข็งแกร่ง และการลงทุนในสินทรัพย์ทางปัญญาที่ดีกว่าที่คาดไว้

แท็ก เงินบาท  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ