นางทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงข่าว บริการโอนเงินและรับโอนเงินแบบใหม่ “พร้อมเพย์ –PromptPay” ซึ่งเป็นบริการที่ภาคธนาคารร่วมมือกันพัฒนาขึ้น เพื่อสนับสนุน โครงการระบบการชำระเงินแบบ Any ID ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ แห่งชาติของรัฐบาล
พร้อมเพย์เป็นบริการที่จะช่วยให้ประชาชนและภาคธุรกิจสามารถโอนเงินได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดยใช้หมาย เลขโทรศัพท์เคลื่อนที่และ/หรือเลขประจำตัวประชาชนแทนการระบุเลขที่บัญชีเงินฝากของผู้รับเงิน
ทั้งนี้ ในระยะแรกจะเปิดให้บริการโอนเงินระหว่างบุคคลทั่วไปก่อนและสำหรับนิติบุคคลจะเปิดให้บริการในช่วงต่อไป และในอนาคตหน่วยงานภาครัฐจะสามารถโอนเงินสวัสดิการ เงินช่วยเหลือ และเงินคืนภาษีให้กับประชาชนผ่านบริการพร้อมเพย์ด้วย
หากสนใจใช้บริการพร้อมเพย์ ผู้ใช้บริการต้องลงทะเบียนเพื่อผูกบัญชีเงินฝากธนาคาร กับหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ/หรือเลขประจำตัวประชาชนที่ต้องการ โดยเลือกบัญชีเงินฝากธนาคารที่ต้องการใช้เป็นบัญชีในการรับเงิน และแจ้งลงทะเบียนกับ ธนาคารผ่านช่องทางที่ธนาคารแต่ละแห่งเตรียมไว้ให้บริการ เช่น เอทีเอ็ม, Internet Banking, Mobile Banking หรือที่ สาขาธนาคาร และจัดเตรียมเอกสารประกอบการลงทะเบียนตามที่ธนาคารกำหนดเช่น สมุดบัญชีหรือเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคาร บัตร ประจำตัวประชาชน โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ต้องการลงทะเบียน หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือเลขประจำตัวประชาชนหนึ่งหมายเลขจะ สามารถใช้ผูกหรือจับคู่กับบัญชีเงินฝากปลายทางได้หนึ่งบัญชีและประชาชนสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงการผูกบัญชีได้ตลอดเวลา โดยปฏิบัติตามขั้นตอนที่ธนาคารแต่ละแห่งกำหนด
ทั้งนี้ ธปท. ยึดหลักในการให้บริการของธนาคารโดยคำนึงถึงสิทธิของประชาชนที่จะได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วน สามารถ เปลี่ยนแปลงยกเลิกการผูกบัญชีได้ง่าย และสามารถเลือกใช้บริการได้อย่างอิสระ ระบบกลางของบริการพร้อมเพย์จะพร้อมให้บริการ ลงทะเบียนสำหรับทุกธนาคารได้ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นไป อย่างไรก็ดี ธนาคารที่มีความพร้อมสามารถเปิดให้ลง ทะเบียนก่อนกำหนดได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2559
นางทองอุไร กล่าวว่า บริการพร้อมเพย์ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาบริการชำระเงินของประเทศซึ่งจะช่วยลดการใช้ เงินสดเพิ่มความรวดเร็ว ถูกต้อง และสามารถตรวจสอบรายการย้อนหลังได้ และเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนปรับเปลี่ยนมาใช้ e-Payment ในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนของระบบการชำระเงินโดยรวมและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของ ประเทศ
ด้านนายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า บริการพร้อมเพย์ (PromptPay) เป็นบริการรับโอน เงินแบบใหม่ ที่มีการผูกบัญชีของผู้รับเงินโอนกับเลขที่บัตรประชาชนหรือเบอร์โทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะทำให้ผู้โอนเงินสามารถโอนเงินให้ผู้ รับโดยไม่ต้องระบุธนาคารและเลขที่บัญชีของผู้รับโอน เพียงระบุเลขประจำตัวประชาชนหรือเบอร์โทรศัพท์มือถือของผู้รับโอนที่ผูกไว้ก็ สามารถทำธุรกรรมได้ ช่วยให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการทำธุรกรรมโอนและรับโอนเงิน เนื่องจากผู้โอนไม่ต้องจำเลขที่บัญชี และผู้รับโอนไม่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลบัญชีของตน มีหลักฐานการโอนเงินในระบบชัดเจน และลดความเสี่ยงจากการพกพาเงินสดอีก ด้วย
ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ในไทยทั้ง 15 แห่ง และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคาร สงเคราะห์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้ร่วมกันพัฒนาบริการพร้อมเพย์ ด้วยมาตรฐานความปลอดภัยสูง ซึ่งทุกธนาคารพร้อมให้ประชาชนลงทะเบียนเพื่อใช้บริการ โดยมีขั้นตอนการตรวจสอบตัวตนและความ เป็นเจ้าของบัญชีของผู้ลงทะเบียน รวมทั้งตรวจสอบความเป็นเจ้าของเบอร์โทรศัพท์มือถือ ในกรณีการลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วย
สำหรับคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนพร้อมเพย์ ต้องเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝากและเจ้าของเบอร์โทรศัพท์มือถือที่จะลง ทะเบียน เลือกบัญชีออมทรัพย์หรือบัญชีกระแสรายวัน เป็นบัญชีเดี่ยว (ไม่ใช่บัญชีร่วม) ที่จะใช้เป็นบัญชีหลักในการทำธุรกรรมโอนและ รับโอน เพื่อนำมาผูกกับเลขประจำตัวประชาชนหรือเบอร์โทรศัพท์มือถือภายใต้บริการพร้อมเพย์ โดยบัญชีธนาคารที่นำมาลงทะเบียน 1 บัญชี จะมีหมายเลข หรือ ID เพื่อการผูกบัญชีได้สูงสุด 4 เบอร์ ได้แก่ เลขประจำตัวประชาชน 1 เบอร์ และหมายเลขโทรศัพท์ มือถืออีกไม่เกิน 3 เบอร์ ทั้งนี้ หมายเลข หรือ ID ที่นำมาผูกนั้นจะต้องไม่เคยผูกกับบัญชีใดมาก่อน
โดยธนาคารจะเปิดรับลงทะเบียนผ่านช่องทางต่าง ๆ ตามความพร้อมของแต่ละธนาคาร อาทิ ช่องทางเอทีเอ็ม ธนาคารทางอินเทอร์เน็ต ธนาคารบนโทรศัพท์มือถือ และสาขา ทั้งนี้ จะมีธนาคารบางแห่งเปิดลงทะเบียนล่วงหน้า (Pre- register) ในวันที่ 1-14 กรกฎาคม 2559 และทุกธนาคารจะเปิดรับลงทะเบียนบริการพร้อมเพย์อย่างเป็นทางการ พร้อมกันทั่ว ประเทศ ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นไป โดยไม่มีกำหนดสิ้นสุดการรับลงทะเบียน
กรณีที่ผู้ลงทะเบียนมีความประสงค์จะเปลี่ยนธนาคารที่ผูก ID ไว้ ก็สามารถยกเลิกการลงทะเบียนกับธนาคารเดิมที่ใช้ บริการอยู่และไปลงทะเบียนกับธนาคารใหม่ หรือในกรณีที่ผู้ใช้บริการพร้อมเพย์ต้องการเปลี่ยนแปลงหมายเลขบัญชีหรือหมายเลข โทรศัพท์ที่ลงทะเบียนไว้แล้ว ก็สามารถทำได้เช่นกัน
นายปรีดี กล่าวเพิ่มเติมว่า ลูกค้าที่เลือกใช้การโอนเงินผ่านบริการพร้อมเพย์จะได้รับความสะดวกจากการที่ไม่ต้องสอบ ถามบัญชีธนาคารของผู้รับโอน การคิดค่าธรรมเนียมของพร้อมเพย์จึงไม่มีการแยกรายการเป็นแบบในเขต ข้ามเขต หรือรายการใน ธนาคารเดียวกันหรือต่างธนาคาร แต่จะอ้างอิงวงเงินในการโอนแต่ละครั้งเป็นหลัก บริการพร้อมเพย์จึงนับเป็นบริการรูปแบบใหม่ที่มี โครงสร้างการคิดค่าธรรมเนียมที่แตกต่างจากบริการโอนเงินรูปแบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ส่วนการที่กำหนดเพดานการคิดค่าธรรมเนียมการโอนเงินระหว่างบุคคลในแต่ละช่วงมูลค่าการโอนไว้นั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละ ธนาคารพาณิชย์จะไปกำหนดอัตรากันเอง เนื่องจากแต่ละธนาคารย่อมมีโครงสร้างต้นทุนที่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ดี จะต้องไม่เกินไป จากอัตราเพดานที่ธปท.ได้กำหนดไว้ คือ วงเงินไม่เกิน 5,000 บาทต่อรายการ ฟรีค่าธรรมเนียมทุกรายการ วงเงินมากกว่า 5,000 – 30,000 บาท คิดค่าธรรมเนียมไม่เกิน 2 บาทต่อรายการ วงเงินมากกว่า 30,000 – 100,000 บาท คิดค่า ธรรมเนียมไม่เกิน 5 บาทต่อรายการ และวงเงินมากกว่า 100,000 บาทขึ้นไป คิดค่าธรรมเนียมไม่เกิน 10 บาทต่อรายการ
"เดิมคิดค่าธรรมเนียม 25 บาท แต่ถ้าใช้ PromptPay จะลดมาเหลือฟรีเลยถ้าโอนไม่เกิน 5,000 บาท นี่เป็นความ ตั้งใจที่ทุกธนาคารพาณิชย์ต้องการให้ระบบการชำระเงินแบบนี้เกิดขึ้นมา และจะช่วยประหยัดต้นทุนโดยรวมของทุกคน"นายปรีดี กล่าว
อย่างไรก็ดี จากการที่ค่าธรรมเนียมการโอนจะปรับลงมาต่ำมากเมื่อเทียบกับปัจจุบัน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อรายได้ ของธนาคารพาณิชย์ที่มีรายได้ส่วนหนึ่งมาจากการคิดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมทางการเงินด้วยนั้น นายปรีดี กล่าวว่า ขณะนี้คง ยังไม่สามารถตอบได้ เนื่องจากระบบยังไม่เปิดให้ใช้บริการ แต่ยอมรับว่าคงจะมีผลกระทบต่อรายได้ค่าธรรมเนียมบ้าง
“ตอนนี้คงยังไม่สามารถตอบได้ เพราะมันยังไม่เกิดขึ้น แต่ที่คาดการณ์ไว้นั้น ก็คงมีบ้าง เพียงแต่ความชัดเจนยังไม่เกิด ขึ้น” ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าว
ทั้งนี้ บริการพร้อมเพย์จะถือเป็นทางเลือกในการโอนเงินระหว่างบุคคลรูปแบบหนึ่ง ลูกค้ายังคงสามารถเลือกทำธุรกรรม โอนเงินผ่านบริการพร้อมเพย์ หรือเลือกทำผ่านช่องทางอื่น ๆ ได้ตามปกติเช่นเดิม
การให้บริการพร้อมเพย์ จะเริ่มให้บริการรับโอนเงินระหว่างประชาชนได้ ในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2559 จากนั้นจะ ขยายไปสู่บริการธุรกรรมอื่น อาทิ การจ่ายบิลต่าง ๆ
"ภาคธนาคารเชื่อมั่นว่าพร้อมเพย์จะเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการทำธุรกรรมและเข้าถึง บริการชำระเงินที่หลากหลายยิ่งขึ้น ส่วนภาคธุรกิจก็จะได้รับโอกาสทางธุรกิจจากการที่ลูกค้าสามารถชำระเงินได้สะดวกรวดเร็ว ขณะ ที่ภาครัฐจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการโอนเงินจากภาครัฐสู่ประชาชนได้ถึงมือตัวบุคคลโดยตรงและทั่วถึงยิ่งขึ้นด้วย รวมทั้งช่วยลด การใช้เงินสดในสังคมไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมของระบบเศรษฐกิจในระยะยาว จึงขอเชิญชวนลูกค้าประชาชนทุกท่านลง ทะเบียนพร้อมเพย์ที่ธนาคารที่สะดวกตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคมนี้เป็นต้นไป" นายปรีดี กล่าว
ส่วนกรณีความปลอดภัยของข้อมูลทางการเงินในบัญชีของประชาชนถ้ามาใช้ระบบ PromptPay นั้น เชื่อว่าแต่ละธนาคาร พาณิชย์มีระบบการรักษาความปลอดภัยในข้อมูลบัญชีของลูกค้าเป็นอย่างดีอยู่แล้ว หากจะเปรียบเทียบคงเหมือนในช่วงปี 2526 ที่ ประเทศไทยเริ่มใช้การถอนเงินสดผ่านทางตู้ ATM ซึ่งในช่วงนั้นประชาชนอาจจะไม่มีความมั่นใจอยู่บ้าง แต่จากระยะเวลาที่ผ่านมาจน ถึงปัจจุบันก็ทำให้เห็นแล้วว่าตู้ ATM ทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบาย และมีความน่าเชื่อถือ ความผิดพลาดที่แม้จะมีเกิดขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ามีสัดส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ที่ไปใช้บริการที่สาขาด้วยตัวเอง