ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.23 ระหว่างวันผันผวน แนวโน้มยังแกว่งในกรอบ รอความชัดเจนเรื่อง Brexit

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 16, 2016 17:30 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.23 บาท/ดอลลาร์ จากเปิด ตลาดช่วงเช้าที่ระดับ 35.21/23 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 35.16-35.24 บาท/ดอลลาร์

"หลังเปิดตลาดมีแรงซื้อบาทเข้ามาจนลงไปแตะ 35.16 (บาท/ดอลลาร์) แต่พอช่วงบ่ายมีแรงเทขายดอลลาร์ออกมา หลังธนาคารกลางญี่ปุ่นคงนโยบายการเงิน โดยไม่มีการส่งสัญญาณว่าจะมีมาตรการเพิ่มเติม ทำให้นักลงทุนหันไปถือครองเยนเพิ่มขึ้นจน แข็งค่าไปเกือบ 2%" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 35.15-35.30 บาท/ดอลลาร์เช่นเดิม

"เงินบาทคงแกว่งตัวในกรอบ เพราะหลังหมดปัจจัยเรื่อง FOMC และ BOJ แล้ว ตลาดก็รอเรื่อง Brexit ยิ่งใกล้วัน ลงประชามติคงเคลื่อนไหวไม่มาก" นักบริหารเงินฯ กล่าว

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 10 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 105.70 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1266 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,411.19 จุด ลดลง 23.70 จุด, -1.65% มูลค่าการซื้อขาย 46,764.43 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 972.74 ล้านบาท (SET+MAI)
  • สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เผยหนี้สาธารณะคงค้าง ณ 30 เม.ย.59 มีจำนวน 6,050,595.88 ล้าน
บาท คิดเป็น 44.09% ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 36,946.02 ล้านบาท
มองกรณีธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดิมที่ 0.25-0.50% เป็นผลดีกับเศรษฐกิจตลาดเกิด
ใหม่ รวมถึงไทยด้วยที่คาดว่าจะมีเงินลงทุนไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
  • บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ระบุการทำประชามติเรื่องการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) ของสหราช
อาณาจักร (UK) หรือ EU Referendum ในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ หาก UK ตัดสินใจยังอยู่ร่วมกับ EU เหมือนเดิม หรือ "Remain" ผล
ที่กระทบต่อไทยจะมีเพียงความไม่แน่นอนของตลาดเงินระยะสั้นในเดือน มิ.ย. หลังจากนั้นจุดสนใจจะถูกดึงกลับไปยังจังหวะการขึ้น
อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) รวมทั้งทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ และจีนที่มีผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่ง
หลังของปี 2559

แต่หากผลโหวตออกมาว่า UK ตัดสินใจถอนตัวออกมาเป็นอิสระ หรือเกิด "Brexit" ผลกระทบเฉพาะหน้าจะเกิด ต่อตลาดเงินและตลาดทุนเป็นหลัก รวมทั้งส่งผลต่อเนื่องถึงระยะกลางจนกว่ากระบวนการเจรจาเพื่อหารูปแบบการออกจาก EU จะสิ้น สุดลง ซึ่งอาจใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ปี หลังจากนั้นจึงจะออกจากการเป็นสมาชิกภาพ

  • นายพอล อัชไลเนอร์ ประธานดอยช์แบงก์ เตือนว่า หากชาวอังกฤษลงคะแนนเสียงให้อังกฤษออกจากกลุ่มสหภาพ
ยุโรป (EU) จะเกิดหายนะทางเศรษฐกิจสำหรับอังกฤษ และหายนะทางการเมืองสำหรับ EU
  • สถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมนี (DIW) เตือนว่า หากอังกฤษถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป
(EU) อาจส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจเยอรมนีชะลอลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจาก Brexit จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการส่ง
ออกของเยอรมนี ตลอดจนทำให้ตลาดการเงินผันผวน และก่อให้เกิดผลกระทบทางลบอื่นๆตามมา
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) มีมติคงนโยบายการเงินในการประชุมวันนี้ ซึ่งรวมถึงการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติด
ลบสำหรับธนาคารบางแห่งที่นำเงินมาสำรองฝากไว้กับบีโอเจ
  • นายฮารุฮิโกะ คูโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เผยจะติดตามสถานการณ์การลงประชามติว่าอังกฤษจะ
ถอนตัวจากกลุ่มสหภาพยุโรปหรือไม่ (Brexit) ในวันที่ 23 มิ.ย.อย่างใกล้ชิด โดยได้ประสานงานกับทางธนาคารกลางอังกฤษ และ
ธนาคารกลางอื่นๆ เกี่ยวกับกรณีดังกล่าวไว้แล้ว
  • กระทรวงพาณิชย์ของจีน (MOC) เผยบริษัทในจีนเดินหน้าลงทุนมูลค่ามหาศาลในตลาดต่างประเทศในช่วง 5 เดือน
แรกของปีนี้ โดยยอดการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (ODI) ในช่วงเดือนม.ค.-พ.ค. เพิ่มขึ้น 61.9% เมื่อเทียบรายปี แตะ
4.79 แสนล้านหยวน (7.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยมาจากประเทศในกลุ่มอาเซียน ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป (EU) เขตการ
ปกครองพิเศษฮ่องกง ญี่ปุ่น รัสเซียและสหรัฐ โดยมียอดการลงทุนในประเทศเหล่านี้เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 5.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ
ราว 4 ใน 5 ของยอดรวมทั้งหมด
  • ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ในการประชุมวันนี้ พร้อมกับย้ำ

คำเตือนที่ว่า เงินฟรังก์สวิสแข็งค่าจนเกินไป ทั้งนี้ SNB คงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ระดับ -0.75% และคงเป้าหมายอัตราดอกเบี้ย

Libor ระยะ 3 เดือนในช่วง -1.25% ถึง -0.25%


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ