(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.37/38 แนวโน้มยังอ่อนค่าจากผลของ Brexit มองกรอบวันนี้ 35.30-35.52

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 27, 2016 11:09 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงิน ธนาคารธนชาต เปิดเผยว่า เช้านี้เงินบาทเปิดตลาด 35.37/38 โดยในช่วงวันนี้ปัจจัยที่มีผลต่อค่าเงิน บาทยังคงมาจากประเด็นเรื่องของการทำประชามติของอังกฤษเกี่ยวกับการออกของสหภาพยุโรป (Brexit) เพราะว่าส่งผลให้ตอน เช้าเงินปอนด์ร่วงลงต่อเนื่อง 20 points ขณะที่ค่าเงินยูโรร่วงลงมา 1.1000 ดอลลาร์/ยูโร ส่วนค่าเงินเยนปรับแข็งค่าขึ้น 101.60 เยน/ดอลลาร์ในช่วงเช้า

สำหรับทิศทางวันนี้ มองว่า ค่าเงินบาทมีโอกาส test high เดิมที่ 35.52 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากวันนี้ยังไม่มีปัจจัย อื่นที่จะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงิน ประเมินกรอบความเคลื่อนไหววันนี้ 35.30-35.52 บาท/ดอลลาร์

ล่าสุด SPOT อยู่ที่ระดับ 35.3417 บาท/ดอลลาร์ ส่วน THAI BAHT FIX 3M (24 มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.22221% ส่วน THAI BAHT FIX 6M (24 มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.37395%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 101.70 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 103.02 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรเช้านี้อยู่ที่ระดับ 1.1000 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 1.1106 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.4060 บาท/
ดอลลาร์
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย คาดแนวโน้มตลาดเงินและค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้จะได้รับความผันผวนต่อ
เนื่องจากการถอนตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (อียู) รวมถึงยังต้องจับตามองไปที่ข้อตกลงที่อังกฤษเคยมีกับอียู หากอังกฤษ
สามารถเจรจาเรื่องการลงทุนและการค้าเสรีกับอียูใหม่ได้เร็ว ก็น่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดเงินน้อย แต่ถ้าอังกฤษไม่สามารถเจรจา
เรื่องการลงทุนและการค้ากับอียูได้เลย อาจส่งผลกระทบรุนแรง ซึ่งในขั้นตอนเจรจาระหว่างนี้จะส่งผลให้ตลาดเงิน และค่าเงินบาทมี
โอกาสผันผวนอย่างน้อยไปอีก 1 ปี จึงขอเตือนให้ระมัดระวังการลงทุนในตลาดหุ้น รวมถึงผู้นำเข้าส่งออกควรทำประกันอัตราแลก
เปลี่ยนเพื่อลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจ
  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลกระทบเบื้องต้นจากการที่สหราชอาณาจักร (ยูเค) นำโดย
อังกฤษ ลงประชามติออกจากสหภาพยุโรป (อียู) หรือเบร็กซิต คาดผลจากค่าเงินปอนด์ของอังกฤษที่อ่อนค่าลง มีผลต่อการส่งออกกลุ่ม
อาหารไทยไปอังกฤษ ที่ปริมาณจะลด 10% แต่ยังไม่น่ากังวลมาก เพราะต้องใช้เวลากว่า 2 ปี การทำขั้นตอนถึงจะเสร็จ
  • สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) ชี้ครึ่งปี 2559 เอกชนยังต้องลดต้นทุนต่อ
เหตุภาวะเศรษฐกิจยังเต็มไปด้วยความเสี่ยง เผยครัวเรือนยังพุ่งไม่หยุดแม้จีดีพีขยายตัว "แรงงาน-กต." ประสานเสียง 5 ข้อเรียก
ร้องเมียนมาแค่โลกโซเชียลฯ
  • บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส คาดทิศทางตลาดหุ้นไทยวันที่ 27 มิ.ย.นี้ ดัชนีจะปรับตัวลดลงตามทิศทางตลาดหุ้น
เอเชีย หลังจากดัชนีดาวโจนส์และตลาดหุ้นยุโรปปิดตลาดเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.ที่ผ่านมาปรับตัวลงแรง ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยยังคงได้รับ
ผลกระทบทางจิตวิทยา แม้สหราชอาณาจักร (ยูเค) ออกจากสภาพยุโรป (เบร็กซิต) ไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจไทยมาก
นัก
  • ประชามติให้สหราชอาณาจักร(ยูเค) ออกจากสหภาพยุโรป(อียู) ส่อพ่นพิษใส่อังกฤษ หลังคนแห่ลงชื่อทะลุ 3 ล้านชื่อ
ขอให้จัดทำประชามติใหม่ อ้างคนมาใช้สิทธิ์ไม่ถึงร้อยละ 75 ของผู้มีสิทธิ์ลงคะแนน และคะแนนสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ถึงร้อยละ
60 ขณะที่ "สกอตแลนด์" เล็งจัดลงประชามติแยกตัวจากสหราชอาณาจักรเป็นครั้งที่ 2 อ้างชาวสกอตส่วนใหญ่เลือกอยู่กับอียู
  • รัฐมนตรีต่างประเทศ 6 ชาติสมาชิกก่อตั้งสหภาพยุโรป(อียู) ออกมากดดันให้สหราชอาณาจักรเริ่มต้นกระบวนการแยก
ตัวออกจากการเป็นสมาชิกอียูโดยเร็วที่สุด หลังผลการลงประชามติเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ชี้ว่า อังกฤษต้องการออกจากอียู
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) และรัฐบาลญี่ปุ่น ได้จัดการประชุมร่วมกันในวันนี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับผลกระทบทาง
เศรษฐกิจ อันเนื่องมากจากความไม่แน่นอนของแนวโน้มเศรษฐกิจทั่วโลก หลังจากอังกฤษตัดสินใจแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป
(Brexit)
  • นายทาโร อาโสะ รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่นเปิดเผยในการประชุมระหว่างรัฐบาลญี่ปุ่น และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ใน
วันนี้ว่า ตลาดปริวรรตเงินตราเริ่มกลับมามีเสถียรภาพในระดับหนึ่ง หลังจากที่ประชุม G7 ได้ยืนยันความร่วมมือที่จะรักษาเสถียรภาพ
ในตลาดการเงินเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ที่ประชุมรัฐมนตรีคลัง G7 ออกแถลงการณ์ระบุว่า ความผันผวนในตลาดการเงินเป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ และ ธนาคารกลางของกลุ่ม G7 จะสร้างความมั่นใจในการรักษาสภาพคล่องอย่างเพียงพอในตลาด

นอกจากนี้ ทางการญี่ปุ่นยังระบุว่า พร้อมเข้าดำเนินการในตลาด หากมีความจำเป็น ในกรณีที่ตลาดปริวรรตเงินตรามี ความผันผวน

  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงเมื่อวันศุกร์ (24 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่า การที่
สหราชอาณาจักรตัดสินใจออกจากสหภาพยุโรป จะส่งกระทบเศรษฐกิจโลกและกระทบอุปสงค์น้ำมันอีกทอดหนึ่ง โดยสัญญาน้ำมันดิบ
WTI ส่งมอบเดือนส.ค. ร่วงลง 2.47 ดอลลาร์ หรือ 4.9% ปิดที่ 47.64 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือน
ส.ค. ร่วง 2.5 ดอลลาร์ หรือ 5.164% ปิดที่ 48.41 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งเมื่อวันศุกร์ (24 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อทองคำซึ่งจัดเป็นสินทรัพย์
ปลอดภัย หลังจากผลการลงประชามติของสหราชอาณาจักรชี้ ฝ่ายสนับสนุนให้ออกจากสหภาพยุโรป (EU) ชนะฝ่ายที่ต้องการอยู่ใน EU
  • สกุลเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและปอนด์เมื่อวันศุกร์ (24 มิ.ย.) หลังจากผลการลงประชามติ

ของสหราชอาณาจักรสะท้อนว่า ฝ่ายสนับสนุนให้ออกจากสหภาพยุโรป (EU) ชนะฝ่ายที่ต้องการอยู่ใน EU โดยเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อ

เทียบดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1144 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.1355 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบเย

นที่ระดับ 102.24 เยน จากระดับ 105.82 เยน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ