ภาวะตลาดเงินบาท: เย็นนี้ 35.18/20 แข็งค่าจากเงินไหลเข้า-ตลาดหุ้นบวก คาดกรอบพรุ่งนี้ 35.10-35.25

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 29, 2016 16:31 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทช่วงเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.18/20 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.25 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทปรับตัวแข็งค่าจากช่วงเช้า เนื่องจากมี fund flow ไหลเข้า ในขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยช่วงบ่ายปรับตัวเพิ่ม ขึ้น โดยช่วงนี้ปัจจัยที่นักลงทุนติดตาม คือ การประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ เช่น ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอ ปิดการขาย, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีภาคการผลิตเดือนมิ.ย.ของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เป็นต้น

นักบริหารเงิน คาดว่า เงินบาทวันพรุ่งนี้จะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.10 - 35.25 บาท/ดอลลาร์

ล่าสุด THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 35.2100 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ช่วงเย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 102.50 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 102.33 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 1.1072 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1047 ดอลลาร์/ยูโร
  • ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์วินิจฉัยว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 มาตรา
61 วรรคสอง ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 มาตรา 4 จึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความ
ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งชาติอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
พิจารณาวินิจฉัย
  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนพ.ค.59 สะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
โดยการใช้จ่ายรัฐบาลเป็นตัวขับเคลื่อนหลักจากรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลที่ขยายตัวสูงถึง 51.0% ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดี
ขึ้น พร้อมคาดแนวโน้มเศรษฐกิจไตรมาส 2/59 ทิศทางน่าจะดีกว่าในไตรมาส 1/59 โดยในเดือนก.ค.จะมีการปรับประมาณการ
อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอีกครั้ง
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าการที่อังกฤษจะถอนตัวจากสหภาพยุโรป (Brexit) จะมีผลกระทบต่ออัตราการขยายตัว
ขของเศรษฐกิจไทย (GDP) ในปีนี้ 0.07% หรือประมาณ 1 หมื่นล้านบาท และกระทบ GDP ไทยในปี 60 ราว 0.2% แต่ในกรณีที่
เลวร้ายที่ผลกระทบลามไปถึงเศรษฐกิจประเทศอื่นๆในสหภาพยุโรป (EU) อาจฉุด GDP ของไทยให้หายไป 0.2% ในปีนี้ และ
0.75% ในปี 60

นอกจากนี้ ได้ปรับลดประมาณการการส่งออกของไทยเป็นติดลบ 2% จากเดิมที่ประเมินว่า 0% เนื่องจากตัวเลขการส่ง ออกไทยในเดือนเมษายนที่ผ่านมาออกมาต่ำกว่าคาด ประกอบมีปัจจัยเกี่ยวกับ Brexit เข้ามากดดันเพิ่มเติม และในครึ่งปีหลังคาดว่า ภาวะอุปสงค์ของคู่ค้าหลัก คือ จีน จะยังมีความเปราะบาง ซึ่งกดดันการส่งออกยางพาราและมันสำปะหลังของไทยอย่างต่อเนื่อง

  • หนึ่งในคณะผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่า ความอ่อนแอของเศรษฐกิจทั่วโลก และความผันผวนในตลาด
การเงิน ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐตกอยู่ในอันตรายก่อนที่อังกฤษจะจัดการลงประชามติเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และผลจากการที่อังกฤษ
เลือกที่จะออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) นั้น ทำให้เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงที่จะเผชิญภาวะขาลงมากขึ้นอีก ขณะที่ตลาดการเงิน
สหรัฐตกอยู่ในภาวะตึงตัวเล็กน้อยนับตั้งแต่อังกฤษลงประชามติสัปดาห์ที่แล้ว โดยสกุลเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และราคาหุ้นปรับตัวลง
  • นายกรัฐมนตรีจีน เปิดเผยว่า จีนจะเดินหน้ามาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพ และหลีกเลี่ยงความผันผวนอย่างรุนแรง
ของตลาดการเงินในประเทศ ซึ่งความพยายามของจีนในการรักษาเสถียรภาพของตลาดการเงินและตลาดทุนจะนำไปสู่การเติบโต
อย่างมั่นคงของเศรษฐกิจทั่วโลก พร้อมกันนี้ จีนจะเดินหน้าพัฒนาตลาดทุนของประเทศอย่างค่อยเป็นค่อยไปผ่านการปฏิรูปทางการเงิน
  • กระทรวงพาณิชย์ญี่ปุ่น เผยยอดค้าปลีกเดือนพ.ค.ยังทรงตัว สะท้อนให้เห็นว่าการใช้จ่ายภาคครัวเรือนของญี่ปุ่นยังคง

ซบเซา และรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ยังคงเผชิญกับอุปสรรคและความท้าทาย ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์จับ

ตาดูตัวเลขการใช้จ่ายของผู้บริโภคญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด หลังจากพบว่าข้อมูลในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาชะลอตัวลง ซึ่งเป็นปัจจัยที่อาจผลัก

ดันให้นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชะลอการขึ้นภาษีบริโภคออกไปจากเดิมที่ได้วางแผนไว้ในปีหน้า


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ