นักบริหารเงินจากธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 35.17/19 บาท/ดอลลาร์ ใกล้ เคียงกับช่วงเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 35.18/20 บาท/ดอลลาร์
วันนี้เงินบาทมีแนวโน้มไปในทิศทางแข็งค่า หลังจากที่ทั้งราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ตลอดจนดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์และ ดัชนีตลาดหุ้นนิเคอิปรับตัวเป็นบวก ซึ่งน่าจะเป็นการรีบาวน์ขึ้นภายหลังจากกรณีของ Brexit ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.10-35.20 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เปิดตลาดเช้านี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 102.61/65 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ 102.50 เยน/ดอลลาร์
- ส่วนเงินยูโร เช้านี้อยู่ที่ระดับ 1.1107/1112 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ 1.1072 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.2450 บาท/
- รัฐเดินเครื่องยุทธศาสตร์อีเพย์เมนท์ ขีดเส้นหน่วยงานราชการ-รัฐวิสาหกิจรับจ่ายเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ แจก
- กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มองภาวะตลาดหุ้นไทยครึ่งปีหลังว่า มีแนวโน้มผันผวน
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ผ่อนคลายเงินทุนไหลออกให้ไปลงทุนในต่างประเทศสะดวกและสมดุลกับภาวะ
- บริษัท มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ปรับลดมุมมองเครดิตของสถาบันการเงิน 8 แห่ง ในอังกฤษ อาทิ ธนาคารบาร์
- เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (29 มิ.ย.) เนื่องจากนักลง
ทั้งนี้ เงินปอนด์ได้รับแรงหนุนจากความคาดหวังที่ว่า ธนาคารกลางชั้นนำของโลกจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อ รับมือกับผลกระทบจากปัจจัย Brexit โดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ออกแถลงการณ์ยืนยันว่า เฟดพร้อมที่จะอัดฉีดดอลลาร์เพื่อ เสริมสภาพคล่องในตลาด หลังจากอังกฤษถอนตัวจากสหภาพยุโรป
- รัฐบาลญี่ปุ่น และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ)ออกแถลงการณ์ยืนยันว่า ญี่ปุ่นจะใช้มาตรการทุกๆด้านเพื่อจำกัดผลกระทบ
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 4% เมื่อคืนนี้ (29 มิ.ย.) หลังจากที่สต็อกน้ำมันดิบ
โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนส.ค.พุ่งขึ้น 2.03 ดอลลาร์ หรือ หรือ 4.2% ปิดที่ 49.88 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนส.ค.พุ่งขึ้น 2.03 ดอลลาร์ หรือ 4.2% ปิดที่ 50.61 ดอลลาร์/บาร์เรล
- กระทรวงพาณิชย์ญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ค. ร่วงลง 2.3% จากเดือนเม.ย.ที่เพิ่มขึ้น
0.5% ทั้งนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นปรับตัวลดลงมากกว่าคาดการณ์ในเดือนพ.ค. ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บ่งชี้ถึงความซบ
เซาของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ 3 ของโลก โดยตัวเลขการผลิตที่อ่อนแอได้เพิ่มความกังวลว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น
กำลังจะกลับมาชะงักอีก หลังจากที่เพิ่งกลับมาขยายตัวได้ในไตรมาสแรกปีนี้