อย่างไรก็ตาม หากการเปิดประมูลไม่ทันภายในเดือนก.ย.60 ก็อาจจะกระทบต่อการผลิตก๊าซธรรมชาติในทั้งสองแหล่งดังกล่าว โดยตามแผนคาดว่าก๊าซฯจะหายไปจากระบบ 3 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตในช่วงปี 2561-2568 ซึ่งจะต้องนำก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เข้ามาทดแทน แต่ก็ยังมีความกังวลว่าโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับการนำเข้า LNG อาจจะเสร็จไม่ทัน
สำหรับการจัดทำทีโออาร์เปิดประมูลแหล่งสัมปทาน 2 แหล่งดังกล่าวจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1-2 เดือนเพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาทั้งในส่วนทรัพย์สิน ราคา และปริมาณ
ส่วนการยกร่างกฎกระทรวง 5 ฉบับ และ 1 ประกาศ คาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 5 เดือนนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ประกอบด้วย 1.ประกาศ คณะกรรมการปิโตรเลียม เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดรูปแบบการให้สิทธิแต่ละแปลง 2.กฏกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข และการได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตพ.ศ....(ม.53/1)
3.กฏกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข และการได้มาซึ่งผู้รับสัญญาจ้างสำรวจและผลิตพ.ศ....(ม.53/9) 4.กฏกระทรวงกำหนดแบบสัญญาแบ่งปันผลผลิตพ.ศ....(ม.53/2) 5.กฏกระทรวงกำหนดแบบสัญญาจ้างสำรวจและผลิตพ.ศ....(ม.53/10) และ 6.กฏกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข และระยะเวลาในการให้ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตนำส่งค่าภาคหลวงแก่รัฐพ.ศ....(ม.53/6) อย่างไรก็ตามการจัดทำร่างกฎหมายดังกล่าว เพื่อรองรับการเปิดประมูลในระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC) และระบบสัญญาจ้างสำรวจและผลิต (SC) ต่อไป