พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ“คืนความสุขให้คนในชาติ"ว่า สำหรับ 4 คือกลุ่มอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ รัฐบาลกำลังผลักดันให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออก เป็นระเบียงเศรษฐกิจ ที่เรียกว่า Eastern Economic Corridor มีศักยภาพในการสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวม คิดเป็นร้อยละ 39 ของเศรษฐกิจประเทศ ด้วยการลงทุนด้าน ปิโตรเคมี พลังงาน ยานยนต์ และกิจกรรมต่อเนื่อง จากผู้ประกอบการภายในและต่างประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องมีการลงทุนเพิ่มเติม ในกลุ่มที่ 5 อุตสาหกรรม เช่นการบินและโลจิสติกส์ โดยได้วางกรอบการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน กว่า 2.2 ล้านล้านบาท อาทิ เส้นทางหลวงพิเศษ กรุงเทพ – พัทยา – ระยอง ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง ให้มีขีดความสามารถรองรับปริมาณสินค้า เพิ่มขึ้นเป็น 11 ล้าน TEU ต่อปี พร้อมกับการก่อสร้างท่าเรือชายฝั่ง สามารถรองรับสินค้าได้ 3 แสน TEU ต่อปี ศูนย์การขนส่งทางราง ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางราง ได้ปีละ 2 ล้าน TEUท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ ที่ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่อเรือ โดยพัฒนาท่าเรือ Ferry เพื่อเชื่อมต่อการเดินทาง ระหว่าง 2 ฝั่งทะเล“อ่าวไทย" พัทยา – จุกเสม็ด – ชะอำ สนามบินอู่ตะเภา ให้สามารถรองรับผู้โดยสาร 5 ล้านคนต่อปี และการพัฒนาศูนย์ซ่อมอากาศยาน เพื่อขยายศักยภาพ ให้สามารถรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการบินในภูมิภาค สามารถซ่อมบำรุงอากาศยานได้ 144 ลำต่อปี และซ่อมเครื่องยนต์ได้ 72 เครื่องต่อปีทั้งนี้ เราก็ได้คิดให้มีระบบรถไฟและรถไฟความเร็วสูงเพื่อจะเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานทางการคมนาคม ทุกระบบ ทั้งทางบก ทางราง ท่าเรือ ทางอากาศด้วย เพื่อให้รองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งผมได้สั่งการให้ดำเนินการจัดทำแผนการลงทุนแล้ว ให้สำเร็จภายใน 3 เดือน
ทั้งนี้ มี 6 กลุ่ม อุตสาหกรรมยานยนต์ ที่เป็นอุตสาหกรรมเดิม ที่ไทยมีศักยภาพ เรามีจุดแข็ง ในการเป็นฐานการผลิตและส่งออกรถยนต์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับอยู่แล้ว โดยสามารถผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ เช่น รถยนต์ไฟฟ้า รถยนต์ไฟฟ้า เพื่อการก้าวเข้าสู่ยุคพลังงานไฟฟ้าในอนาคต พลังงานสีเขียว เป็นมิตรกับธรรมชาติ เป็นทิศทางของโลก ในอนาคต ในระยะยาว แทนการใช้เชื้อเพลิงจากน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติที่มาจากฟอสซิลในอนาคตด้วย ทั้งนี้เราต้องลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในการที่โลกกำลังร้อนขึ้นทุกวัน และนับวันเชื้อเพลิงเหล่านั้นก็จะร่อยหลอลงทุกที สิ่งที่ภาครัฐกำลังดำเนินการอยู่ ในทุกมิตินั้นได้แก่
(1) คือการสร้างความรับรู้ ทั้งในเรื่องพลังงานทดแทน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ความเชื่อมั่นในนวัตกรรมรถยนต์ไฟฟ้าที่จะใช้แทนรถยนต์พลังงานน้ำมันในอนาคต คงไม่ใช่ทั้งหมดในวันนี้ แล้วก็แทนรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติด้วย โลกต้องเปลี่ยนแปลง เราต้องเตรียมการตั้งแต่บัดนี้ ขณะเดียวกัน เราก็ต้องส่งเสริม รถยนต์พลังงานชีวภาพ เช่น ไบโอดีเซล เอทานอล แก๊สโซฮอล์ และ “Eco car" ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วันนี้เราเป็นศูนย์กลางการผลิต Eco Car เราหยุดไม่ได้อยู่แล้ว ก็ทำคู่ขนานกันไปให้เกิดความสมดุล ไม่มีผลกระทบกันทางด้านเศรษฐกิจ การลงทุน ก็คงจะเป็นทางเลือกของประชาชนในโอกาสต่อไป ในระยะแรกเพื่อให้เป็นการสร้างความคุ้นเคยเราก็ได้อนุญาตให้มีการนำเข้ารถโดยสารประจำทางไฟฟ้า มาให้บริการสาธารณะ ให้ประชาชนได้รู้จัก ได้คุ้นเคยก่อนที่จะขยายไปสู่รถยนต์ส่วนบุคคล ระยะแรกอาจจะต้องนำเข้า แต่ราคาสูง ถ้าเอาเข้ามาแล้วก็ต้องเร่งรัดในเรื่องการส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนา การร่วมทุนต่างๆ จะได้ทันต่ออนาคต
เรื่องที่ 2 คือการส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาวิศวกรรมการผลิตทั้งระบบ ทั้งตัวรถ ชิ้นส่วนประกอบ แบตเตอรี่ หัวจ่าย สถานีชาร์จ และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ให้มีความพร้อม แบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งมีหลายกระทรวง และหน่วยงาน ทั้งภาคเอกชน ก็สามารถเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ส่วนร่วม อาจจะเป็นการสร้างความมั่นใจ และเกิดความชัดเจนมากขึ้น ขณะนี้ได้ให้ BOI ไปศึกษาแล้วก็ให้เกิดการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
เรื่องที่ 3 คือการสร้างแรงจูงใจ นักลงทุนชาวไทย และชาวต่างประเทศ ในเรื่องสิทธิประโยชน์ มาตรการทางภาษีต่างๆ รวมทั้งการปรับปรุงกฎ ระเบียบ การขออนุญาต การเสียภาษี การจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อกระตุ้นการลงทุนและพัฒนาเทคโนโลยีนี้อย่างจริงจังในอนาคต เรื่องที่ 4 คือการส่งเสริมการ การสร้างแรงงานฝีมือ วางระบบการศึกษา อาชีวะ วิศวกร รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการจัดตั้งศูนย์ทดสอบ สนามทดสอบ ล้อรถยางรถยนต์ และรถยนต์ ในประเทศอีกด้วย
ทั้งนี้ “ไทยแลนด์ 4.0" นั้นยังมี 7 กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิตอล เป็นเหมือน “กระดูกสันหลัง" ในด้านข้อมูลข่าวสาร การศึกษา โทรคมนาคม การติดต่อสื่อสาร เพื่อรองรับการพัฒนากิจกรรมต่างๆ ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายข้างต้น รวมทั้ง “วิสาหกิจเริ่มต้นใหม่" Start-up ที่ภาครัฐให้ความสำคัญ ในเรื่อง
(1) คือการปรับปรุงกฎหมาย ให้ทันสมัย เป็นสากล รองรับการเติบโตของ Start-up ซึ่งเป็นไปตามกระแสของโลกในปัจจุบัน
(2) มาตรการทางภาษี การเงิน การคลัง เช่น การลดภาระค่าธรรมเนียม การค้ำประกันสินเชื่อ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อส่งเสริมให้เกิด “เถ้าแก่ใหม่" กล้าลงทุน เป็นเจ้าของ เปิดกิจการใหม่ แล้วก็เป็นทางเลือกให้สังคมด้วย โดยเฉพาะ Eco System หรือธุรกิจที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ ระบบนิเวศน์
(3) การสร้างแรงจูงใจ การอำนวยความสะดวก ช่วยการดึงนักลงทุน นักการตลาด นักวิจัย ที่มีความรู้ ความสามารถ เข้ามาลงทุน ทำงานในเมืองไทย นำองค์ความรู้และเทคโนโลยีชั้นสูง สมัยใหม่ เข้ามาเพิ่มศักยภาพให้กับนักลงทุนหน้าใหม่ของไทย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งในการ “แตกกิ่งก้านสาขา" ใหม่ๆ ให้กับระบบเศรษฐกิจของไทย โดยอีกบทบาทของภาครัฐ คือ
(4) เป็นผู้กำกับด้านนโยบาย อาทิ ผลักดันให้มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ในระบบ ICT การคมนาคมสื่อสาร อินเทอร์เน็ต ให้เกิดการเชื่อมองค์ความรู้ เทคโนโลยี สำหรับนักวิจัยหน้าใหม่ ในลักษณะ “ศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพ" หรือ “Think Tank" ซึ่งรัฐบาลได้ขับเคลื่อนแล้ว ตามแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม Digital Economy ซึ่งนอกจากจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนแล้ว ยังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สอดคล้องกับนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0" ด้วย