ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.05 ทิศทางแข็งค่าต่อ รอดูตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯสัปดาห์นี้

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 4, 2016 09:28 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารธนชาต เปิดเผยว่า เงินบาทเช้านี้เปิดมาที่ระดับ 35.05 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับช่วงเย็นวัน ที่ 30 มิ.ย.ที่อยู่ที่ระดับ 35.16/17 บาท/ดอลลาร์

นักบริหารเงิน กล่าวว่า ธนาคารไทยหยุดทำการไป 1 วัน เงินบาทแข็งค่าลงมา ดอลลาร์อ่อนไป 10 สตางค์ ส่วน ปัจจัยเกี่ยวกับ Brexit น่าจะเบาบางลงแล้ว คนหายตกใจก็กลับมาลงในสินทรัพย์เสี่ยง พวกหุ้น พันธบัตร แต่เงินปอนด์ยังอ่อนค่าอยู่

"คาดว่าวันนี้คงจะอยู่แถวๆนี้ โดยวันนี้ตลาดนิวยอร์คหยุด ตลาดอาจจะเงียบ ด้านล่างน่าจะอยู่ที่ 35.00 ถ้วน ด้านบนน่า จะอยู่ประมาณ 35.20 สัปดาห์นี้ก็ไปรอตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ หรือ Non Farm Pero" นักบริหารเงิน กล่าว

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 102.60 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันที่ 30 มิ.ย.ที่อยู่ที่ระดับ 102.80 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1135 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันที่ 30 มิ.ย.ที่อยู่ที่ระดับ 1.1120 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.1950 บาท/
ดอลลาร์
  • ธนาคารกสิกรไทย ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสัปดาห์นี้ (4-8 ก.ค.) ที่ 35.00-35.30 บาทต่อ
ดอลลาร์ฯ โดยตลาดน่าจะยังคงติดตามประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับ BREXIT และสัญญาณที่อาจบ่งชี้ถึงแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ
จากถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด และข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ ประกอบด้วย ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร อัตราการว่างงาน
ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือนมิ.ย. ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนพ.ค. และบันทึกการประชุมเฟดเมื่อวันที่ 14-15 มิ.ย. ที่ผ่านมา

นอกจากนี้ นักลงทุนอาจติดตามข้อมูลทุนสำรองฯ ของจีน และดัชนี PMI ของประเทศชั้นนำอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ กล่าวว่า การออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของอังกฤษ (Brexit)
ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ผ่านค่าเงินปอนด์ซึ่งอ่อนค่าและส่งผลกดดันรายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยวเป็นหลัก โดยหลังผล
ประชามติค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงมาแล้วราว 10% เทียบกับค่าเงินบาท แต่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยคาดว่าจะมีจำกัด เนื่องจากการ
ส่งออกสินค้าไปอังกฤษ คิดเป็นเพียง 1.8% ของการส่งออกทั้งหมดในปีที่แล้ว
  • กระทรวงพาณิชย์ แถลงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) เดือน มิ.ย.59 อยู่ที่ 107.05 ขยายตัว 0.38% เมื่อเทียบ
กับ มิ.ย.58 (จากตลาดคาด 0.5%) และขยายตัว 0.03% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ CPI ช่วง 6 เดือนแรกปี 59 หด
ตัว 0.09%
  • รมช.คลัง กล่าวว่า ผู้ประกอบการเอกชนให้ความสนใจยื่นซองประกวดราคาในโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ
ไม่ถึง 10 ราย หลังจากที่ได้เปิดให้มายื่นซองประกวดราคาเมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่ให้ความสนใจพื้นที่ในกรุงเทพฯ
และเชียงใหม่มากที่สุด โดยเอกชนที่มายื่นซองประกวดราคามีจำนวนน้อยกว่าจำนวนผู้มาซื้อซองประกวดราคาทั้งสิ้น 16 ราย หลังจาก
นี้จะต้องเข้าสู่ขั้นตอนการคัดเลือกผู้ประกอบการที่จะดำเนินโครงการต่อไป
  • กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เชื่อส่งออกไทยจะดีขึ้น หลังสถานการณ์ค้ามนุษย์ขึ้นมาอยู่ที่ “เทียร์ 2” แต่ข่าว
ร้าย “แคนาดา-สหรัฐ” ออกมาตรการคุมปริมาณสารพิษตกค้างในสินค้าเกษตร ขณะที่ข้าวไทยโดนเต็มๆ จับตาใกล้ชิดหวั่นเป็น
มาตรการกีดกันการค้า
  • สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เตรียมเสนอแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและ
ขนาดย่อม ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2560-2564) หรือแผนเอสเอ็มอี 4.0 เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ สสว. ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์
โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในเร็วๆ นี้ โดยแผนเบื้องต้นจะสร้างผู้ประกอบการใหม่ที่มีมูลค่าสูง ยกระดับให้ใช้เทคโนโลยีและ
นวัตกรรม พัฒนาส่งเสริมความเป็น ผู้ประกอบการ ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ เป็นต้น
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ก ระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะยังคงมีแนวโน้มขยายตัวมากกว่า 2%
ในช่วงหลายเดือนข้างหน้า หลังจากมีการเปิดเผยข้อมูลการขยายตัวของการใช้จ่ายของผู้บริโภคในระดับปานกลาง และมีการฟื้นตัว
ของภาคการผลิต
  • ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ระบุว่า ภาคการผลิตของสหรัฐมีการขยายตัวติดต่อกันเป็น
เดือนที่ 4 ในเดือนมิ.ย.
  • มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทสำรวจข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ภาคการผลิตของสหรัฐมีการขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 3
เดือนในเดือนมิ.ย.
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อคืนนี้ (1 ก.ค.) เพราะได้รับปัจจัยหนุนจาก
การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ซึ่งช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน เนื่องจากการอ่อนค่าของดอลลาร์จะส่งผลให้สัญญาน้ำมันซึ่งซื้อ
ขายในสกุลเงินดอลลาร์ได้รับความสนใจจากนักลงทุนที่ถือครองสกุลเงินอื่นๆ โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนส.ค.เพิ่มขึ้น 66
เซนต์ หรือ 1.4% ปิดที่ 48.99 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนส.ค.เพิ่มขึ้น 67 เซนต์ หรือ 1.3% ปิดที่
50.35 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อคืนนี้ (1 ก.ค.) เพราะได้รับปัจจัยหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงิน

ดอลลาร์ และทำสถิติปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 5 ติดต่อกัน โดยสัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบ

เดือนส.ค.เพิ่มขึ้น 18.40 ดอลลาร์ หรือ 1.39% ปิดที่ 1,339 ดอลลาร์/ออนซ์ และเพิ่มขึ้น 1.26% ในสัปดาห์นี้


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ