ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.92/96 แข็งค่าจากเย็นวานนี้ รับเม็ดเงินไหลเข้า มองกรอบวันนี้ 34.90-35.00

ข่าวเศรษฐกิจ Friday July 22, 2016 09:22 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 34.92/96 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่า จากช่วงปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ 35.00 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากมีกระแสเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามา

"ปัจจัยที่มีผลต่อเงินบาทช่วงนี้เป็นเรื่อง capital inflow เป็นหลัก ส่วนการประชุม ECB เมื่อคืนไม่มีผลมากนัก" นัก
บริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ระหว่าง 34.90-35.00 บาท/ดอลลาร์

*ปัจจัยสำคัญ

  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 105.54 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 105.66 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1017 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1025 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.0380 บาท/
ดอลลาร์
  • กระทรวงการคลังเตรียมชงมาตรการช่วยธุรกิจเอสเอ็มอีเข้า ครม.สัปดาห์หน้า ตั้งกองทุนฟื้นฟู 2,000 ล้านบาท
พร้อมโครงการพี่ช่วยน้อง "สมคิด" ตะเพิดแบงก์ไม่ดูแลเอสเอ็มอีให้ไปทำโรงรับจำนำดีกว่า มอบกระทรวงอุตสาหกรรมปรับโครง
สร้างรองรับการสร้างผู้ประกอบการในอนาคต แบงก์ออมสินปล่อยกู้ซอฟท์โลน 30,000 ล้านบาท
  • ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ ที่ระดับ 0% ซึ่งเป็นระดับ
ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ ECB ยังได้คงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ระดับ -0.4% และคงอัตรา
ดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 0.25% ขณะเดียวกัน ECB ได้ประกาศคงวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่
ระดับ 8 หมื่นล้านยูโร/เดือน
  • นายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวว่า ECB มีความพร้อมที่จะใช้เครื่องมือทุกอย่างเพื่อ
สร้างเสถียรภาพในตลาด ขณะที่ปัจจัย Brexit เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในยูโรโซน เช่นเดียวกับความล่าช้าในการ
ปรับโครงสร้างในภูมิภาค และการชะลอตัวในตลาดเกิดใหม่ ECB จะยังคงจับตาความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ และทางการ
เมืองอย่างใกล้ชิด
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เรียกร้องให้สมาชิกกลุ่ม G20 ใช้นโยบายที่หลากหลายเพื่อควบคุมความ
เสี่ยง และกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ IMF ระบุว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงอ่อนแอและเปราะบาง ขณะที่การแยก
ตัวของสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) ได้สร้างความเสี่ยงในช่วงขาลงต่อเศรษฐกิจโลก
  • รายงานของรัฐบาลออสเตรเลียเผยให้เห็นว่า แม้การที่อังกฤษออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปจะส่งผลกระทบ
เชิงลบทางเศรษฐกิจ แต่ออสเตรเลียอยู่ในสถานะที่จะสามารถรับมือกับผลกระทบดังกล่าวได้ ตราบใดที่ไม่มีประเทศอื่น ๆ เจริญรอย
ตามอังกฤษ
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3
เดือน โดยลดลง 1,000 ราย สู่ระดับ 253,000 รายในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 16 ก.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. และ
ใกล้กับระดับ 248,000 ราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 43 ปีที่ทำไว้ในกลางเดือนเม.ย.
  • สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองในเดือนมิ.ย.พุ่งสู่ระดับสูง
สุดในรอบกว่า 9 ปี เพิ่มขึ้น 1.1% เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 5.57 ล้านยูนิต ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.2007 โดยได้
แรงหนุนจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองที่อยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2013
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (21 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเริ่มกลับมาวิตก
กังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาดอีกครั้ง หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ระบุว่า
สต็อกน้ำมันเบนซินปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างผิดคาด ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย.ลดลง 1 ดอลลาร์ หรือ
2.2% ปิดที่ 44.75 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI เดือนส.ค.ได้ครบกำหนดส่งมอบแล้วในวันพุธที่ 20 ก.ค. ส่วนสัญญา
น้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ย.ลดลง 97 เซนต์ หรือ 2.1% ปิดที่ 46.20 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (21 ก.ค.) โดยได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์
สหรัฐ นอกจากนี้ การร่วงลงของตลาดหุ้นนิวยอร์กยังเป็นอีกปัจจัยที่กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย สัญญา
ทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.พุ่งขึ้น 11.7 ดอลลาร์ หรือ 0.89% ปิดที่ระดับ 1,331.00
ดอลลาร์/ออนซ์
  • สกุลเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลเยน ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (21 ก.ค.) หลังจาก
นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ปฏิเสธที่จะใช้นโยบาย "helicopter money" หรือการอัดฉีดเม็ดเงิน
จำนวนมากเข้าสู่ระบบการเงิน โดยเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1017 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.1005
ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบเยนที่ระดับ 105.90 เยน จากระดับ 106.86 เยน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ