ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.80/85 นลท.รอตัวเลขการจ้างงานสหรัฐฯ-ผลประชามติรธน. คาดบาทสัปดาห์หน้า 34.70-34.90

ข่าวเศรษฐกิจ Friday August 5, 2016 17:40 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดวันนี้อยู่ที่ระดับ 34.80/85 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 34.86/94 บาท/ดอลลาร์

เย็นนี้เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากช่วงเช้า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะยังมีเงินทุนไหลเข้า ประกอบกับล่าสุดที่ธนาคารกลาง อังกฤษ (BoE) ออกมาตรการ QE ซึ่งเป็นการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้น จึงทำให้มีสภาพคล่องในระบบมากขึ้น และมีโอกาสที่เงิน ทุนจะไหลเข้ามายังตลาดในเอเชียเพิ่มเติม เงินบาทจึงยังมีโอกาสแข็งค่าได้อีกในสัปดาห์หน้า

"บาทมีโอกาสจะแข็งค่าได้อีก เพราะหลังจากที่ BoE ออกมาตรการ QE ก็จะทำให้มีเงินเข้าสู่ระบบมากขึ้น สภาพคล่อง เยอะ และมีโอกาสสูงที่จะไหลเข้ามาในตลาดเอเชีย" นักบริหารเงิน กล่าว

ส่วนปัจจัยที่สำคัญคืนนี้ ต้องติดตามการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐ คือ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน ก.ค.(Nonfarm Payroll) ส่วนปัจจัยในประเทศนั้น ตลาดจับตาผลการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญวันอาทิตย์ที่ 7 ส.ค.นี้

นักบริหารเงิน คาดว่า ต้นสัปดาห์หน้าเงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 34.70 - 34.90 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ช่วงเย็นนี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 100.90 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 101.20 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโร เย็นนี้อยู่ที่ระดับ 1.1140 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1140 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,518.69 จุด เพิ่มขึ้น 10.76 จุด (+0.71%) มูลค่าการซื้อขาย 50,386 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 989.36 ลบ.(SET+MAI)
  • พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศในฐานะประชาชนว่าจะไปลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญในวัน
ที่ 7 ส.ค.นี้ พร้อมเห็นด้วยกับคำถามพ่วงท้าย เนื่องจากไม่ต้องการให้ทุกอย่างกลับไปสู่จุดเดิม ขณะเดียวกันยืนยันว่า การออกมา
แสดงความเห็นเรื่องการรับร่างรัฐธรรมนูญนี้ เป็นความเห็นส่วนตัวไม่ใช่ในฐานะนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่ง
ชาติ (คสช.) และไม่ได้เป็นการชี้นำแต่อย่างใด ซึ่งได้มีการปรึกษาทีมกฎหมายแล้วว่าสามารถแสดงความเห็นได้
  • นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ระบุว่า ขณะนี้ภาคเอกชนกำลังติดตามผลการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ในวัน
ที่ 7 ส.ค.นี้ ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน โดยประเมินว่าหากรัฐธรรมนูญผ่านประชามติก็จะมีส่วนช่วยเสริมความเชื่อมั่นมากขึ้น และมี
โอกาสจะดันให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ปีนี้โตได้ถึง 4%
  • นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการลงประชามติร่าง
รัฐธรรมนูญถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ออกมาประกาศรับร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงถือเป็นสัญญาณบวก
อย่างไรก็ดี หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการทำประชามติ ก็คงต้องถือว่าทำหน้าที่ดีที่สุดแล้ว และจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการร่างรัฐ
ธรรมนูญฉบับใหม่อีกต่อไป
  • อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่าผลการเบิกจ่ายเงิน ณ สิ้นเดือนก.ค.ของปีงบประมาณ 2559 (1 ต.ค.58 – 29
ก.ค.59) ว่าสามารถเบิกจ่ายงบประมาณภาพรวมแล้ว 2.21 ล้านล้านบาท ของวงเงินงบประมาณ 2.72 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น
81.46% สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.36% แบ่งเป็น รายจ่ายประจำ เบิกจ่ายแล้ว 1,927,975 ล้านบาท ของวงเงินงบ
ประมาณ 2,175,646 ล้านบาท หรือคิดเป็น 88.62% ขณะที่รายจ่ายลงทุน (ไม่รวมงบกลาง) เบิกจ่ายแล้ว 285,390 ล้านบาท
ของวงเงินงบประมาณ 457,096 ล้านบาท หรือคิดเป็น 62.44%

โดยการเบิกจ่ายเงินประมาณของภาครัฐในภาพรวมเบิกจ่ายได้สูงขึ้น เนื่องจากหน่วยงานราชการเร่งรัดให้มีการเบิก จ่าย เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งจะส่งผลให้มีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจช่วงครึ่งหลังของปี และผลักดันให้ภาพรวม เศรษฐกิจของประเทศสามารถขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

  • พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พลังงาน คาดว่าราคาขายปลีกน้ำมันของไทยในช่วงครึ่งหลังปีนี้ ทั้งในกลุ่มราคา
น้ำมันแก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซลซึ่งถือเป็นเชื้อเพลิงหลักที่สำคัญในภาคขนส่งและภาคอุตสาหกรรม จะทรงตัวอยู่ในระดับปัจจุบันที่ 23-
25 บาท/ลิตร ซึ่งจะส่งผลดีต่อค่าไฟฟ้าที่ไม่ปรับเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้ โดยภาพรวมจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและการลงทุนของ
ไทยตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
  • รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยอัตราการขยายตัวของค่าจ้างที่แท้จริงในญี่ปุ่น ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.8% ในเดือนมิ.ย. เมื่อเทียบ
เป็นรายปี ซึ่งเป็นอัตราการปรับตัวเพิ่มขึ้นที่สูงที่สุดในรอบเกือบ 6 ปี นอกจากนี้ ค่าจ้างที่แท้จริงซึ่งปรับค่าเงินเฟ้อแล้ว ยังทำสถิติเพิ่ม
ขึ้นเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันในเดือนมิ.ย. ในขณะที่อัตราการขยายตัวขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.53 ซึ่งเพิ่มขึ้น 1.9% เมื่อ
เทียบเป็นรายปี
  • กระทรวงเศรษฐกิจเยอรมนี เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือน มิ.ย.ปรับตัวลดลง 0.4% สวนทางกับที่นัก
วิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.5% หลังจากยอดสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมในยูโรโซนร่วงลงอย่างหนัก โดยรายงานระบุว่ายอดสั่งซื้อจาก
ยูโรโซนร่วงลง 3.8% ขณะที่ยอดสั่งซื้อจากประเทศอื่นๆ โดยรวม ปรับตัวลง 1.2%
  • คืนนี้ สหรัฐฯ เตรียมรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรในเดือน ก.ค. ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลข

จ้างงานดังกล่าวจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียง 180,000 ราย หลังจากที่พุ่งขึ้น 287,000 รายในเดือน มิ.ย. ส่วนอัตราว่างงานคาดว่าจะ

ลดลงสู่ระดับ 4.8% จากระดับเดือนก่อนหน้าที่ 4.9%


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ