นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.60 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า จากเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 34.57/59 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 34.56-34.61 บาท/ดอลลาร์
"บาทแกว่งตัวในกรอบแคบๆ นักลงทุนกังวลว่าแบงก์ชาติจะเข้ามาดูแลค่าเงินบาท" นักบริหารเงิน กล่าว
ปัจจัยเรื่องการปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ(FOMC) กลับมาอยู่ในภาวะที่ยังไม่มีความชัดเจน ทำให้ค่าเงิน ยังมีความผันผวน ซึ่งตลาดคงจะต้องรอดูการส่งสัญญาณในเรื่องดังกล่าวของประธานธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ซึ่งจะไปกล่าว ปาฐกถาต่อที่ประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลกในช่วงปลายเดือน ส.ค.นี้
นักบริหารเงินฯ ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ระหว่าง 34.50-34.65 บาท/ดอลลาร์
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 100.32 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 99.80/85 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1314 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1292/1305 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,547.01 จุด เพิ่มขึ้น 15.38 จุด, +1.00% มูลค่าการซื้อขาย 59,903.44 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 254.34 ล้านบาท (SET+MAI)
- นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ชี้เม็ดเงินต่างประเทศไหลเข้าตลาดทั้งไทยและญี่ปุ่นส่งผลให้เงินบาทและ
เงินเยนแข็งค่า โดยรัฐบาลมีมาตรการที่จะช่วยดูแลเพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งค่ามากจนเกินไป ซึ่งเป็นการบ่งบอกให้เห็นว่าศักยภาพของ
ไทยยังมีความพร้อม และไม่ควรจะมองเฉพาะเรื่องการแข่งขันทางการเมืองแต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรจะหันกลับไปมองการพัฒนา
ความเข้มแข็งของประเทศด้วย
- นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังสามารถดูแลค่าเงินบาทได้
หลังปรับตัวแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง โดยยืนยันกระทรวงการคลังจะไม่เข้าไปแทรกแซงการทำงานของ ธปท.อย่างแน่นอน
- ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจในช่วงไตรมาส 3 และ
ไตรมาส 4 ปีนี้อยู่ในระดับที่สูงกว่า 100 ซึ่งถือว่าดีขึ้นกว่าไตรมาส 1 และไตรมาส 2 โดยทั้งปีนี้ดัชนีอยู่ที่ระดับ 98.3 ขณะที่ในปี
60 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจอยู่ทีระดับ 119.5 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นว่าการดำเนินธุรกิจในปีหน้าจะดีกว่าปี
นี้ โดยมีสัญญาณที่ส่งมาจากภาคบริการ ภาคการค้า ภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งภาคเกษตรที่มองว่าสถานการณ์ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะ
เริ่มดีขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า หากไม่มีเหตุการณ์อะไรเข้ามาเป็นปัจจัยกดดันเพิ่มเติม และคาดว่าเศรษฐกิจโดยรวมในปีหน้าจะปรับ
ตัวดีขึ้นกว่าปัจจุบัน
- ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินผลกระทบของผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวต่อเหตุ
วินาศกรรมที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดทางภาคใต้ โดยเฉพาะในแหล่งท่องเที่ยว จะมีผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
(GDP) ของไทยเพียง 0.05-0.07% หากไม่เกิดเหตุซ้ำอีก โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะหายไปจากภาคใต้ประมาณ 1.24
แสนคน หรือคิดเป็น 1.1% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด และจะทำให้เม็ดเงินหายไปจากระบบเศรษฐกิจประมาณ 6,050 ล้าน
บาท โดยการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนจะลดลงราว 2,300 ล้านบาทในกรณีที่สถานการณ์มีผลต่อเนื่องนาน 1 เดือน แต่หาก
สถานการณ์ต่อเนื่องนานถึง 2 เดือน คาดว่าการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนจะลดลง 4,500 ล้านบาท
- นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เผยปรับเป้าหมายส่งเสริมการลงทุนปีนี้
เพิ่มเป็น ไม่น้อยกว่า 5.5 แสนล้านบาท จากเดิมที่ตั้งเป้าหมายจะมีมูลค่าเงินลงทุนที่ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนไม่น้อยกว่า 4.5 แสน
ล้านบาท เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.
ค.59) มีการยื่นคำขอรับส่งเสริมการลงทุนจำนวน 853 โครงการ เพิ่มขึ้น 77% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่าการลงทุน
รวม 320,827 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 218% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ช่วงครึ่งแรกของปีนี้ (ม.ค.-มิ.ย.59) มียอดการลงทุน
จริง 2 แสนล้านบาท ซึ่งตลอดทั้งปีจะพยายามผลักดันให้มีการลงทุนจริง 5-6 แสนล้านบาท
- รัฐบาลญี่ปุ่น และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยืนยันจะร่วมมือกันในการใช้มาตรการที่จำเป็นเพื่อรับมือกับการเก็งกำไร
ในตลาดปริวรรตเงินตรา หลังจากดอลลาร์ร่วงหลุดระดับ 100 เยน โดยที่ตลาดโตเกียวเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาดอลลาร์ปรับตัวลดลงสู่
กรอบบน 99 เยน เพราะได้รับแรงกดันจากการคาดการณ์ว่าสหรัฐอาจจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะใกล้
- ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปีปิดทรงตัวในวันนี้ เนื่องจากผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 5 ปีที่
ออกมาราบรื่นได้กระตุ้นแรงซื้อ ซึ่งช่วยสกัดแรงขายในช่วงก่อนหน้านี้ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรหมายเลข 343 ซึ่งเป็นมาตรวัด
อัตราดอกเบี้ยระยะยาว ปิดที่ -0.085% ไม่เปลี่ยนแปลงจากระดับปิดวานนี้ ขณะที่ราคาสัญญาพันธบัตรอายุ 10 ปี ส่งมอบเดือนก.ย.
เพิ่มขึ้น 0.06 จุด แตะที่ 151.39 ที่ตลาดหุ้นโอซาก้า
- สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ เผยยอดค้าปลีกเดือน ก.ค.เพิ่มขึ้น 1.4% จากเดือน มิ.ย. และเพิ่มขึ้น 5.9%
จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยได้รับปัจจัยหนุนจากสภาพอากาศที่อบอุ่นขึ้น และเงินปอนด์ที่อ่อนค่า โดยยอดขายปรับตัวขึ้นทุก
ประเภท นำโดยยอดขายที่ห้างสรรพสินค้า และร้านเสื้อผ้า และหากไม่รวมยอดขายน้ำมันเชื้อเพลิง ยอดค้าปลีกเดือน ก.ค.เพิ่มขึ้น
1.5%
- สำนักงานสถิติแห่งชาติของฝรั่งเศส เผยอัตราว่างงานของฝรั่งเศสลดลงสู่ระดับ 9.9% ในไตรมาสสอง จากระดับ
10.2% ในไตรมาสแรก ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 4 ปีที่อัตราว่างงานอยู่ระดับต่ำกว่า 10% และเป็นสถิติที่ดีที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส
3 ของปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 9.8%
--อินโฟเควสท์ โดย ธนวัฏ เสือแย้ม/นิศารัตน์ โทร.02-2535000 ต่อ 322 อีเมล์: nisarat@infoquest.co.th--