รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง ระบุว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ ได้มีมติเห็นชอบแผนการบริหารหนี้ สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2560 ที่มีวงเงินดำเนินการรวมทั้งสิ้น 1,560,746.24 ล้านบาท โดยเป็นการก่อหนี้ใหม่ 614,979.17 ล้านบาท (39.40%) และการบริหารหนี้เดิม (การปรับโครงสร้างหนี้และการบริหารความเสี่ยง) 945,767.07 ล้าน บาท (60.60%)
แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2560 แบ่งเป็น 1. การก่อหนี้ใหม่ วงเงิน 614,979.17 ล้านบาท ในส่วนของกระทรวงการคลัง วงเงิน 466,287.50 ล้านบาท ประกอบด้วย 1) วงเงินกู้มาใช้โดยตรง 407,854.23 ล้านบาท แบ่งเป็น (1) เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 390,000 ล้านบาท
(2) เงินกู้เพื่อนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ 48 ล้านบาท
(3) โครงการเงินกู้ DPL 2,106.23 ล้านบาท และ (4) โครงการเงินกู้เพื่อการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากร น้ำและระบบขนส่งทางถนน ระยะเร่งด่วน : มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 จำนวน 15,700 ล้านบาท
วงเงินให้กู้ต่อ (กู้ในประเทศ) 50,613.27 ล้านบาท แบ่งเป็นการกู้เงินเพื่อให้ รฟม.กู้ต่อ 22,747.85 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อให้ รฟท. กู้ต่อ 27,865.42 ล้านบาท
วงเงินให้กู้ต่อ (กู้ต่างประเทศ) 230 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเท่า 7,820 ล้านบาท เป็นการกู้เงินจาก ADB เพื่อ ให้ รฟม. กู้ต่อสำหรับดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
ด้านรัฐวิสาหกิจ 8 แห่ง (กคช. กปภ. กฟผ. กฟน. กฟภ. ขสมก. ธพส. และ รฟท.) มีแผนกู้เงินในประเทศ วง เงิน 76,889.42 ล้านบาท แบ่งเป็น การกู้เงินเพื่อลงทุนในโครงการ 58,263.16 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อดำเนินกิจการทั่วไป และอื่นๆ 18,626.26 ล้านบาท
ส่วนรัฐวิสาหกิจที่ไม่ต้องขออนุมัติภายใต้กรอบแผนฯ วงเงิน 70,874.14 ล้านบาท ประกอบด้วย 1) เงินกู้ของรัฐ วิสาหกิจที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัด (บกท. และ ปตท.) 25,904.14 ล้านบาท และ 2) เงินกู้ระยะสั้นเพื่อเสริมสภาพคล่องในรูป Credit Line ของรัฐวิสาหกิจ 7 แห่ง (กฟภ. ทีโอที ไทยสมายล์แอร์เวย์ ธพส. บมจ. การบินไทย บวท. และ บสย.) 44,970 ล้านบาท
และสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) วงเงิน 928.11 ล้านบาท เพื่อให้ ความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับโครงการพัฒนาจุดผ่านแดนถาวรสตึงบทและถนนเชื่อมโยงไปกับถนนหมายเลข 5 ราชอาณาจักร กัมพูชา
2. การบริหารหนี้เดิม (การปรับโครงสร้างหนี้และการบริหารความเสี่ยง) วงเงิน 945,767.07 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลัง วงเงินรวม 642,847.63 ล้านบาท เป็น 1) หนี้ในประเทศ วงเงิน 597,061.25 ล้านบาท ประกอบด้วย การปรับโครงสร้างหนี้ 1) เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 268,998.80 ล้านบาท 2) เงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กอง ทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) 313,119.04 ล้านบาท และ 3) เงินกู้มาเพื่อให้กู้ต่อ 14,943.41 ล้าน บาท
2) หนี้ต่างประเทศ วงเงิน 45,786.38 ล้านบาท ประกอบด้วย 1) การปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้มาเพื่อให้กู้ต่อในรูป แบบ Euro Commercial Paper (ECP) ที่กระทรวงการคลังให้ บมจ.การบินไทย กู้ต่อวงเงิน 150 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบ เท่า 5,100 ล้านบาท และ 2) การบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน วงเงิน 40,686.38 ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจ 10 แห่ง (กคช. กทพ. กปน. กปภ. กฟผ. ขสมก. ธ.ก.ส. ธพส. รฟท. และ รฟม.) วงเงินรวม 228,341.57 ล้านบาท 1) หนี้ในประเทศ วงเงิน 206,470.10 ล้านบาท เป็นการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ที่ครบกำหนดชำระ คืน 2) หนี้ต่างประเทศ วงเงิน 21,871.47 ล้านบาท เป็นการปรับโครงสร้างหนี้ 2,240.30 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 627.28 ล้านบาท และการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน 75,872.11 ล้านเยน หรือเทียบเท่า 21,244.19 ล้านบาท
ด้านรัฐวิสาหกิจที่ไม่ต้องขออนุมัติภายใต้กรอบแผนฯ วงเงินรวม 74,577.87 ล้านบาท เป็น 1) หนี้ในประเทศ วง เงิน 30,444 ล้านบาท เป็นการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ที่ครบกำหนดชำระคืน (3,200 ล้านบาท) และการบริหารความเสี่ยง จากอัตราแลกเปลี่ยน (27,244 ล้านบาท) ของ บมจ. การบินไทย 2) หนี้ต่างประเทศ วงเงิน 44,133.87 ล้านบาท เป็นการ บริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของ บมจ. การบินไทย และ บมจ. ท่าอากาศยานไทย
จากการดำเนินการตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2560 ดังกล่าว กระทรวงการคลังได้คาด การณ์ระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP และภาระหนี้ต่องบประมาณ จากการดำเนินการตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบ ประมาณ 2560 พบว่า ณ สิ้นปี 2560 – 2564 ยังคงอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดให้ ไม่เกิน 60% และไม่เกิน 15% ตามลำดับ ดังนี้
สัดส่วน (%) 2560 2561 2562 2563 2564 หนี้สาธารณะคงค้าง/ GDP 45.5% 46.7% 48.1% 49.2% 49.9% ภาระหนี้/งบประมาณ 8.9% 9.3% 9.8% 10.3% 10.8%
ทั้งนี้แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2560 ดังกล่าวสอดคล้องตามนโยบายที่สำคัญต่างๆ ของรัฐบาล ทั้งด้านการลงทุนในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และ โครงการพัฒนา ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เป็นต้น โดยยังคงให้ความสำคัญในการดำเนินการ บริหารหนี้และความเสี่ยงในเชิงรุก (Proactive Debt Management) ภายใต้กรอบการดำเนินงานตามกฎหมาย และการดูแลให้ ระดับหนี้สาธารณะและภาระหนี้อยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง