(เพิ่มเติม) พาณิชย์ แก้ไขตัวเลขส่งออกเดือน ก.ค.เป็นติดลบ -6.4% จากเดิมแถลงติดลบ -4.4%

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 31, 2016 15:38 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

กระทรวงพาณิชย์ แจ้งแก้ไขตัวเลขการส่งออกเดือน ก.ค.59 ติดลบเพิ่มขึ้นเป็น -6.4% จากเดิมที่แถลงไว้เมื่อวันที่ 26 ส.ค.ที่ผ่านมาว่าติดลบ -4.4% และการส่งออกช่วง 7 เดือนแรกของปี 59 ติดลบเพิ่มขึ้นเป็น -2.3% จากเดิมที่แถลงว่าติดลบ -2.0% โดยชี้แจงว่าการแถลงก่อนหน้านี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น เนื่องจากข้อมูลบางส่วนรอการตรวจสอบจากกรมศุลกากร ซึ่งขณะนี้ได้รับการยืนยันตัวเลขจากกรมศุลกากรแล้ว

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาดการณ์ ราคาน้ำมันที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ และผลผลิตภาคเกษตรที่หดตัวในระดับสูงจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกของไทยในเดือน ก.ค.ยังคงหดตัวต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ส่วนแบ่งตลาด (Market Share) ของไทยในตลาดส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับที่ดี โดยเฉพาะตลาดออสเตรเลียที่ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม คาดว่าการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีจะปรับตัวดีขึ้นตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลก แนวโน้มราคาน้ำมัน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทยอยปรับตัวสูงขึ้น

โดยข้อมูลล่าสุดที่สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า รายงานว่า ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือน ก.ค.59 มีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 17,045 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ -6.41% เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาดการณ์ ราคาน้ำมันที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ และผลผลิตภาคเกษตรที่หดตัวในระดับสูงจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 16,202 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว -7.2% แต่การค้าเกินดุล 843 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการเกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ติดต่อกัน

ทั้งนี้ส่งผลให้ช่วง 7 เดือนแรกของปี 59 (ม.ค.-ก.ค.) มีมูลค่าการส่งออกรวม 122,183 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวลดลง -2.3% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่ารวม 108,926 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวลดลง -9.8% โดยการค้าเกินดุลรวม 13,257 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม ส่วนแบ่งตลาดของไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับที่ดี โดยเฉพาะตลาดออสเตรเลียที่ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้คาดว่าการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีจะปรับตัวดีขึ้นตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลก แนวโน้มราคาน้ำมัน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทยอยปรับตัวสูงขึ้น

โดยการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ตามการลดลงของปริมาณการส่งออกเป็นส้าคัญ เนื่องจากความผันแปรของปัจจัยการน้าเข้าในตลาดคู่ค้าส้าคัญ ทั้งกำลังซื้อ ผลผลิต คู่แข่ง และกฎระเบียบใหม่ๆ รวมทั้งปัจจัยภายในประเทศที่เกิดจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ขณะที่ราคาส่งออกปรับตัวตามกลไกตลาด โดยภาพรวมเดือน ก.ค.59 มูลค่าการส่งออกสินค้าในกลุ่มนี้ลดลง -18.6% สินค้าสำคัญที่ลดลง ได้แก่ ข้าว -35.1%, ยางพารา -34.8%, ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง -28.4% และน้ำตาล -33.8% อย่างไรก็ตามการส่งออกกลุ่มสินค้าอาหารบางรายการยังขยายตัวได้ดีอย่าง ต่อเนื่อง อาทิ อาหารทะเลแช่แข็ง โดยเฉพาะกุ้ง ที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจากปัญหา EMS (ส่งออกไปสหรัฐอเมริกา แคนาดา และเวียดนาม) ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป (ส่งออกไปญี่ปุ่น ลาว และเยอรมนี) และเครื่องดื่ม (ส่งออกไป CLMV) รวม 7 เดือนแรก การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัว -6.2%

อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่าตัวเลขการส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบในเดือนนี้ต่ำกว่าตัวเลขที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงค่อนข้างมาก ซึ่งหากใช้ตัวเลขการส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบตามที่ ส.อ.ท.แถลงจะทำให้การส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบเดือนนี้หดตัวลดลงจาก -22.9% เหลือเพียง -6.7% และทำให้การส่งออกรวมหดตัว -6.4% เหลือเพียงประมาณ -4.4% รวม 7 เดือนแรกของปีจะหดตัว -2.0%

ส่วนการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในเดือน ก.ค.59 หดตัว -3.1% ตามการลดลงของการส่งออกรถยนต์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์เป็นสำคัญ ขณะที่สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ามันยังหดตัวอย่างต่อเนื่องตามราคาน้ามันที่ยังอยู่ในระดับต่ำ สินค้าสำคัญคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ -22.9% (ส่งออกไปตลาดออสเตรเลีย อาเซียน และญี่ปุ่น) , น้ำมันสำเร็จรูป -40.7%, เม็ดพลาสติก -14.8%, เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ -27.0% และเคมีภัณฑ์ -14.9% ขณะที่สินค้า สำคัญที่ยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ได้แก่ ทองคำ ขยายตัว 457.1% (ส่งออกไปตลาดสวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย ฮ่องกง ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ,อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์/ไดโอด ขยายตัว 104.0% (ส่งออกไปตลาด สหรัฐอเมริกา และฮ่องกง) และเครื่องยนต์สันดาป ขยายตัว 20.3% (ส่งออกไปตลาดสิงคโปร์ นิวซีแลนด์ และอาร์เจนตินา) รวม 7 เดือนแรก การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัว -0.2%

สำหรับการส่งออกไปยังตลาดสำคัญในภาพรวมยังคงหดตัว โดยตลาดหลักลดลง -6.4% อาทิ สหภาพยุโรป (15) -11.7% และญี่ปุ่น -8.5% ตลาดศักยภาพสูงหดตัว -8.6% ตลาดศักยภาพรองหดตัว -16.2% ทั้งนี้เป็นผลจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวช้ากว่าการคาดการณ์ และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการค้าท้าให้การค้าระหว่างประเทศมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตามการส่งออกไปยังกลุ่มอาเซียน อาทิ เมียนมา 11.6% อินโดนีเซีย 10.8% และบรูไน 2.3% นอกจากนี้การส่งออกไปทวีปออสเตรเลียยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ 4.2% รวม 7 เดือน (มค.-กค.59) ตลาดที่ขยายตัว ได้แก่ ฟิลิปปินส์ 12.3% ออสเตรเลีย 8.1% พม่า 2.2% อินโดนีเซีย 2.1% และเวียดนาม 0.4% ในขณะที่ตลาดอื่นๆ ยังคงหดตัว

ส่วนการค้าชายแดนและผ่านแดนในเดือน ก.ค.59 ยังคงหดตัว โดยมูลค้าการค้าชายแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย เมียนมา สปป.ลาว และกัมพูชา มีมูลค่า 80,571 ล้านบาท ลดลง -0.5% ขณะที่การค้าผ่านแดน (สิงคโปร์ จีนตอนใต้ เวียดนาม) มีมูลค่า 12,227 ล้านบาท ขยายตัว 10.2% รวมการค้าชายแดนและผ่านแดนมีมูลค่าทั้งสิ้น 92,798 ล้านบาท สูงขึ้น 0.8% รวม 7 เดือนแรก (มค.-กค.59) การค้าชายแดนมีมูลค่า 582,797 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.2% ได้ดุลการค้าชายแดน 114,337 ล้านบาท การค้าผ่านแดนมีมูลค่า 86,057 ล้านบาท ขยายตัว 10.6% ขาดดุลการค้า 3,527 ล้านบาท รวมการค้าชายแดนและผ่านแดนมีมูลค่าทั้งสิ้น 668,854 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.2%

ในภาวะที่การค้าไทยเผชิญกับความท้าทายภายใต้สถานการณ์การค้าโลกในปัจจุบัน กระทรวงพาณิชย์มีแนวทางในการผลักดันการส่งออกทั้งในช่วงที่เหลือของปี 2559 และระยะต่อไป โดยมุ่งเน้นการเจาะตลาด CLMV อาเซียน และตลาดใหม่ๆ และส่งเสริมสินค้าที่ใช้นวัตกรรม รวมทั้งผลักดันการส่งออกภาคบริการและการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ