นักบริหารเงินจากธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 34.77/78 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า จากช่วงเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 34.67 บาท/ดอลลาร์
เช้านี้เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าจากเมื่อวาน เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นจากข้อมูลด้านแรงงานที่ออกมาดี ขณะที่ผล ประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) เมื่อวานนี้ มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตรการผ่อนคลายเชิง ปริมาณ (QE) แต่อย่างใด
"เมื่อวาน ECB ก็คงทั้งอัตราดอกเบี้ย และมาตรการ QE ไว้ตามเดิม ผิดจากที่ตลาดคาดไว้" นักบริหารเงิน ระบุ
นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทมีโอกาสจะอ่อนค่าได้อีก โดยน่าจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 34.70-34.80 บาท/ ดอลลาร์
ล่าสุด SPOT อยู่ที่ระดับ 34.7633 บาท/ดอลลาร์ ส่วน THAI BAHT FIX 3M (8 ก.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.29636% ส่วน THAI BAHT FIX 6M (8 ก.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.52715%
- เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 102.18/20 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานที่ระดับ 101.62 เยน/ดอลลาร์
- ส่วนเงินยูโรเช้านี้อยู่ที่ระดับ 1.1270/1273 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานที่ระดับ 1.1246 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 34.6740 บาท/ดอลลาร์
- รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ตั้งแต่ต้นปีจนถึง 8 ก.ย.นี้ ธปท.ได้เข้าดูดซับสภาพ
คล่องในระบบการเงินภายหลังจากเข้าดูแลค่าเงินบาทผ่านการรับซื้อเงินเหรียญสหรัฐ จนทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็น
1.93 แสนล้านเหรียญสหรัฐ จากเมื่อต้นปีมีทุนสำรองที่ 1.69 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 8.24
แสนล้านบาท (คิดที่อัตราแลกเปลี่ยนที่ 34.50 บาท)
- ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเอกฉันท์ 183 เสียง เห็นชอบวาระ 3 ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณราย
จ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 วงเงิน 2,733,000 ล้านบาท โดยใช้เวลาประชุมเพียงแค่ 2 ชั่วโมงครึ่ง ซึ่งขั้นตอนหลังจาก
นี้ก็จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
- ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ระดับ 0% ซึ่งเป็นระดับต่ำ
สุดเป็นประวัติการณ์ ขณะเดียวกัน ECB ยังได้ประกาศคงวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่ระดับ
8 หมื่นล้านยูโร/เดือน และไม่มีการขยายช่วงเวลาในการดำเนินนโยบายดังกล่าวที่มีกำหนดสิ้นสุดในเดือน มี.ค. 2017 โดยระบุ
เพียงว่าจะมีการขยายช่วงเวลาดังกล่าวออกไป หากมีความจำเป็น
- ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนในปีนี้ สู่ระดับ 1.7% จาก
เดิมที่คาดการณ์ในเดือนมิ.ย.ที่ระดับ 1.6% และได้คงตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อในปีนี้ที่ระดับ 0.2%
- กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์ที่แล้ว ลดลง
4,000 ราย สู่ระดับ 259,000 รายในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 3 ก.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่กลางเดือนก.ค. ทั้งนี้จำนวน
ชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกได้อยู่ต่ำกว่า 300,000 ราย เป็นสัปดาห์ที่ 79 ติดต่อกัน ซึ่งยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี
1970
- สกุลเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (8 ก.ย.) หลังจาก
ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ไม่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และไม่มีการขยายช่วงเวลาในการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อน
คลายเชิงปริมาณ (QE) ในการประชุมเมื่อวานนี้ เงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1257 ดอลลาร์สหรัฐ
จากระดับ 1.1239 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเยนที่ระดับ 102.50 เยน จากระดับ 101.77 เยน
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (8 ก.ย.) หลังจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ไม่ได้ปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบาย และไม่มีการขยายช่วงเวลาในการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในการประชุมเมื่อวานนี้
โดยสัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ร่วงลง 7.6 ดอลลาร์ หรือ 0.56% ปิดที่
1,341.6 ดอลลาร์/ออนซ์
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (8 ก.ย.) หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้าน
การพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบร่วงลงอย่างหนักในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งข้อมูลดังกล่าวช่วยให้ตลาด
คลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะน้ำมันล้นตลาด ขณะเดียวกันนักลงทุนยังคงจับตาการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของกลุ่มประเทศผู้
ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ในเดือนนี้ โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนต.ค.พุ่งขึ้น 2.12 ดอลลาร์ หรือ 4.7% ปิดที่ 47.62
ดอลลาร์/บาร์เรล ขณะที่สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนพ.ย.เพิ่มขึ้น 2.01 ดอลลาร์ หรือ 4.2% ปิดที่ 49.99 ดอลลาร์/บาร์เรล
- นักลงทุนยังคงจับตาการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ในวันที่ 26-28 ก.ย.
นี้ นอกรอบการประชุมพลังงานระหว่างประเทศ (IEF) ที่แอลจีเรีย โดยที่ประชุมจะหารือการตรึงกำลังการผลิต เพื่อรักษา
เสถียรภาพของราคาน้ำมัน
- ธนาคารกลางฝรั่งเศส (BdF) ประกาศคงตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจฝรั่งเศสที่ระดับ 0.3% ในไตร
มาส 3 สำหรับตลอดทั้งปีนี้นั้น BdF คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 1.2% แต่ยังคงต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ที่ระดับ 4.2%
- ผู้นำประเทศสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป) ทั้ง 16 ประเทศ ออกแถลงการณ์ระบุ
ว่า จะเร่งผลักดันการเจรจามากยิ่งขึ้นเพื่อให้ได้ข้อสรุปข้อตกลงเร็วที่สุด โดยไม่ได้ระบุถึงช่วงเวลาที่จะหาข้อสรุปได้ ในวันสุดท้าย
ของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว
--อินโฟเควสท์ โดย กษมาพร กิตติสัมพันธ์/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--