ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.88/92 แข็งค่า หลังกนง.ปรับคาดการณ์ GDP ไทยปีนี้-ยังรอความชัดเจนจากเฟดปลายเดือนนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 14, 2016 17:38 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.88/92 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่า จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 34.94/99 บาท/ดอลลาร์

ช่วงเย็นนี้ เงินบาทกลับมาแข็งค่าจากช่วงเช้า หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ปรับคาด การณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 3.2% จากเดิม 3.1% ส่วนมติเรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบาย นั้น กนง.ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับเดิมที่ 1.50%

ขณะที่ปลายสัปดาห์นี้ยังต้องติดตามการประกาศอัตราเงินเฟ้อ (CPI) เดือน ส.ค.ของสหรัฐฯ และช่วงปลายเดือน ก. ย.ติดตามการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ว่าจะมีมติเรื่องอัตรา ดอกเบี้ยออกมาอย่างไร

"วันนี้บาทกลับมาแข็งค่า คงเป็นเพราะ กนง.ได้ปรับ GDP ในปีนี้เพิ่มขึ้นจากเดิมมาเป็น 3.2%" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 34.80-34.95 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ช่วงเย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 102.60 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 103.10 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1220 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1215 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,458.19 จุด เพิ่มขึ้น 11.35 จุด (+0.78%) มูลค่าการซื้อขาย 51,058 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,483.42 ลบ.(SET+MAI)
  • ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 1.50%
เนื่องจากประเมินว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และยังเผชิญกับความไม่แน่นอนทั้งในและต่างประเทศ ขณะที่อัตราเงิน
เฟ้อทั่วไปยังมีแนวโน้มกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงครึ่งหลังของปี และภาวะการเงินโดยรวมอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการ
ฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
  • สำนักวิจัยธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย มองทิศทางดอกเบี้ยไทยมีความไม่แน่นอนสูง จากภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันที่
อยู่บนความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก เช่น การขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ การผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางสำคัญๆ รวมทั้ง
ช่วงเวลาการเลือกตั้งของไทยเอง จึงอาจเป็นการยากที่จะสื่อสารทิศทางดอกเบี้ยของไทยได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม มองว่านับ
จากนี้ดอกเบี้ยไทยเป็นขาขึ้น เพียงแต่จะขึ้นได้น่าจะปี 2561 เป็นต้นไป
  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 59 เป็นเติบ
โต 3.2% จากเดิมคาดเติบโต 3.1% เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 2 สูงกว่าคาด ส่วนหนึ่งจากปัจจัยชั่วคราวและ
มาตรการกระตุ้นของภาครัฐ

ขณะที่ปี 60 เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราเท่ากับที่ประเมินไว้ที่ 3.2% โดยการลงทุนภาครัฐที่เพิ่มขึ้นช่วยชดเชย การส่งออกและการลงทุนภาคเอกชนที่ลดลง ส่วนมูลค่าการส่งออกในปีนี้คาดว่าจะหดตัว -2.5% ตามเดิม แต่ในปี 60 ได้ปรับลดลง จากเดิมที่คาดไว้ 0.0% มาเป็นหดตัว -0.5% ตามแนวโน้มเศรษฐกิจของคู่ค้า

  • สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ (ONS) เปิดเผยว่า จำนวนคนว่างงานในเดือน พ.ค.-ก.ค. ลดลง 39,000
ราย สู่ระดับ 1.63 ล้านราย ในขณะที่อัตราว่างงานอยู่ที่ 4.9% ในเดือนก.ค. ลดลงจากระดับ 5.6% ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่
แล้ว
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าแตะกรอบ 103 เยน ในการซื้อขายเช้านี้ที่ตลาดปริวรรตเงินตราโตเกียว หลังมีกระแส
คาดการณ์ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) พร้อมดำเนินนโยบายผ่อนคลายการเงินเพิ่มเติม นอกจากนี้ การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย
ระยะยาวในสหรัฐฯ ยังทำให้นักลงทุนมองว่า ช่องว่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ และญี่ปุ่นจะเพิ่มมากขึ้น ทำให้นักลงทุนหันมา
ซื้อสกุลเงินดอลลาร์มากขึ้นด้วย
  • กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ปรับลดประมาณการผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ค. โดย
ระบุว่า ผลผลิตปรับตัวลดลง 0.4% ซึ่งย่ำแย่กว่าการประมาณการเบื้องต้นที่ระบุว่าผลผลิตทรงตัวจากเดือนก่อน โดยสาเหตุที่ทำให้
กระทรวงฯ ปรับลดประมาณการผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในครั้งนี้ เป็นผลมาจากการผลิตประเภทเครื่องดื่ม เช่น ชา และกาแฟ รวม
ไปถึงชิ้นส่วนเครื่องบินปรับตัวลดลง
  • -หนังสือพิมพ์นิกเกอิรายงานว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกในการประชุมวันที่
20-21 ก.ย.นี้ แม้ว่าปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยของ BOJ อยู่ในระดับติดลบแล้วก็ตาม โดย BOJ มีเป้าหมายที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านทาง
การผ่อนคลายนโยบายการเงินในอนาคต เนื่องจากปฏิบัติการซื้อพันธบัตรรัฐบาลใกล้จะถึงระดับสูงสุดแล้ว
  • ธนาคารกลางจีน เปิดเผยว่ายอดปล่อยกู้ล็อตใหม่สกุลเงินหยวนประจำเดือนส.ค. อยู่ที่ระดับ 9.487 แสนล้านหยวน
(ประมาณ 1.4595 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าจากเดือนก่อนหน้า โดยปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ M2 ซึ่งครอบ
คลุมเงินสดหมุนเวียนและเงินฝากทุกประเภท ปรับตัวขึ้น 11.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ระดับ 151.1 ล้านล้านหยวน ณ สิ้น ส.ค.
  • กระทรวงพาณิชย์จีนรายงานว่า เม็ดเงินลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (ODI) ของบริษัทจีน ในช่วง 8 เดือนแรกปี
นี้ ทะยานขึ้น 53.3% เทียบรายปี สู่ระดับ 1.1806 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ