ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.63/64 แกว่งในกรอบ ตลาดรอดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯศุกร์นี้

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 3, 2016 17:36 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดวันนี้ที่ระดับ 34.63/64 บาท/ดอลลาร์ จากตอน เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 34.59/61 บาท/ดอลลาร์

"ระหว่างวันไม่ไปไหนเลย วิ่งอยู่ในกรอบ 34.60-34.65 แช่อยู่ตรง 34.63 คงรอตัวเลข Non Farm Payroll หรือ การจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯในคืนวันศุกร์" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดว่า วันพรุ่งนี้เงินบาทจะยังเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 34.50-34.75 บาท/ดอลลาร์

"ถ้าคืนนี้ยืนเหนือ 34.60 ได้ก็น่าจะขึ้นต่อ"นักบริหารเงิน กล่าว
  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 101.37 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 101.35 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1234 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.1240 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,490.94 จุด เพิ่มขึ้น 7.73 จุด, +0.52% มูลค่าการซื้อขาย 30,892.68 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,694.84 ลบ.(SET+MAI)
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ก.ย.59 ดัชนีฯ ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน
จากระดับ 47.8 มาอยู่ที่ระดับ 50.3 ตามความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในเกือบทุกกลุ่มอุตสาหกรรม และเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในทุก
องค์ประกอบย่อยของดัชนี โดยเฉพาะองค์ประกอบด้านการผลิตของกลุ่มผลิตเหล็ก ที่เร่งผลิตเพื่อสะสมสินค้าคงคลังหลังราคาวัตถุดิบ
เหล็กในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง
  • กระทรวงพาณิชย์ แถลงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) เดือน ก.ย.59 อยู่ที่ 106.68 ขยายตัว 0.38% เมื่อเทียบ
กับก.ย.58 และหากเทียบกับเดือนก่อนหน้าขยายตัว 0.04% ส่งผลให้ CPI ช่วง 9 เดือนปี 59 (ม.ค.-ก.ย.59) ขยายตัว
0.02%
  • สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือ สภาผู้ส่งออก ยังคงคาดการณ์การส่งออกไทยในปี 59 หด
ตัว -2% แม้ว่ามูลค่าการส่งออกในกลุ่มสินค้าสำคัญและตลาดหลักของไทยในเดือนส.คจะกลับมาเติบโตได้ค่อนข้างดี โดยตัวเลขส่งออก
เดือน ส.ค.59 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.5% สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก
  • สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) ระบุถึงมุมมองเศรษฐกิจไตรมาส 4/59 ว่า ช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้
เศรษฐกิจแม้คาดว่าจะดูดีขึ้นกว่าในช่วงที่ผ่านๆ มา แต่ก็ยังคงต้องเผชิญมรสุมปัจจัยเสี่ยงที่โดยมากมาจากต่างประเทศ โดยรวมยังเชื่อ
ว่าเศรษฐกิจโลกและไทยยังไม่เกิดวิกฤติอันใกล้ เพียงแต่มีแรงกดดันเป็นช่วง ๆ ไป ทำให้การเติบโตยังต่ำกว่าศักยภาพ โดยเฉพาะ
การค้าโลกที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ดี มองว่านี่คือกระบวนการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจโลก เพื่อให้สามารถเติบโตได้
อย่างสวยงามอีกครั้ง
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี (TMB Analytics) เปิดเผยมุมมองแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 60 เติบโตได้ต่อ
เนื่องราว 3.5% จาก 3.3% ในปีนี้ โดยเครื่องยนต์ทุกด้านมีแรงขับเคลื่อนมากขึ้น และมองว่ามีหลายอุตสาหกรรมที่ปัจจุบันมีความ
พร้อมและมีศักยภาพที่จะต่อยอดการพัฒนาให้ก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 ได้ไม่ยาก แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
รวมถึงความไม่แน่นอนของทิศทางการเมืองของประเทศเศรษฐกิจหลัก ที่จะส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนในภูมิภาค ขณะที่ ธุรกิจ
ธนาคารพาณิชย์จะมีทิศทางดีขึ้น แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังคุณภาพสินเชื่อในอุตสาหกรรมการผลิตและสินเชื่อที่อยู่อาศัย
  • รมว.คลัง ยืนยันว่าระบบพร้อมเพย์จะสามารถเปิดให้ใช้ประชาชนทั่วไปใช้ได้ตามแผน คือ ภายในวันที่ 31 ต.ค.นี้
ซึ่งเชื่อว่าเมื่อเปิดให้บริการแล้วระบบจะมีความพร้อมและไม่มีอะไรเป็นปัญหาอย่างแน่นอน ขณะที่ในส่วนของแผนการขยายการใช้
เครื่องรับบัตรเครดิต (EDC) นั้น ก่อนหน้านี้ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบขอขยายระยะเวลาการดำเนินงานออกไป แต่ตนมองว่ายังมี
เวลาเหลือถึงสิ้นปี จึงได้กำชับให้ดำเนินการตามแผนเดิมไปก่อน
  • สมาชิกสภาผู้นำธุรกิจไทย-สหราชอาณาจักร (Thai-UK Business Leadership Council) ซึ่งประกอบด้วยฝ่าย
ไทย 13 องค์กร และ ฝ่ายสหราชอาณาจักร 11 องค์กร ได้ประชุมร่วมกันครั้งแรกเพื่อหารือแนวทางในการขยายความร่วมมือของ
ภาคเอกชนในการเพิ่มการค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศ โดยการเปิดเจรจาธุรกิจระหว่างสมาชิกด้วยกันนั้นมีโอกาสที่ทาง
Rolls Royce จะเข้ามาลงทุนต่อยอดเทคโนโลยีที่มีอยู่ในไทย
  • ดอยซ์แบงก์ ธนาคารรายใหญ่ของเยอรมนี มีแนวโน้มที่จะบรรลุข้อตกลงกับตัวแทนสหภาพแรงงานในสัปดาห์นี้ เพื่อปู
ทางสู่การปรับลดจำนวนพนักงานลง1,000 รายภายในประเทศ ตามแผนการลดต้นทุนที่นายจอห์น ไครอัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
ของธนาคารดอยซ์แบงก์ได้ประกาศไปเมื่อปีที่แล้ว
  • ธนาคาร ING Groep NV ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ของเนเธอร์แลนด์ เตรียมปลดพนักงานอีกรอบเพื่อปรับโครง
สร้าง ในขณะที่ธนาคารพยายามที่จะลดค่าใช้จ่ายและลงทุนด้านบริการดิจิทัล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ