นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า รฟท.เร่งรัดแผนการลงทุนโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย ระยะทาง 323 กิโลเมตร วงเงิน 76,980 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษระยะที่ 2 จังหวัดเชียงราย คาดว่าจะเปิดให้มีการประมูลหาผู้รับเหมาได้ในปลายปี 60 และเปิดให้บริการเดินรถได้ภายในปี 63
"ที่ผ่านมาเส้นทางรถไฟ เด่นชัย-เชียงราย อยู่ในแผนการพัฒนาของการรถไฟฯ มาตั้งแต่ปี 2503 หรือกว่า 56 ปีที่แล้ว แต่ต้องติดปัญหาทำให้เกิดความล่าช้ามาตลอด อย่างไรก็ตามปัจจุบันการรถไฟฯ มั่นใจว่าโครงการจะเดินหน้าได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากรัฐบาลชุดนี้ให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ และพื้นเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างมาก"นายวุฒิชาติ กล่าว
ส้าหรับสถานะของโครงการรถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงราย ปัจจุบัน ได้ผ่านการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA (Environmental Impact Assessment ) ไปแล้ว เมื่อเดือนต.ค.59 ที่ผ่านมา
ขั้นตอนต่อไปจะมีการน้าเสนอเข้าการพิจารณาของคณะกรรมการการรถไฟฯ เพื่อเสนอต่อส้านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ขณะเดียวกันการรถไฟฯ จะมีการหารือกับฝ่ายวิศวกร เพื่อแบ่งโครงการก่อสร้างเป็น 3 ช่วง โดยจะสร้างไปพร้อม ๆ กัน แทนการสร้างเป็นทางยาวรวดเดียว เพื่อให้เกิดความ รวดเร็วยิ่งขึ้น
นายวุฒิชาติ กล่าวด้วยว่า เขตพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดเชียงรายถือเป็นพื้นที่ที่มีความส้าคัญต่อการเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงการเดินทาง การค้า การลงทุนทางภาคเหนือของไทย ประกอบไปด้วย 21 ตำบล ใน 3 อ้าเภอ ได้แก่ อ้าเภอเชียงของ อ้าเภอเชียงแสน และอ้าเภอแม่สาย และยังมีชายแดนติดกับประเทศเมียนมา สปป.ลาว รวมทั้ง เชื่อมต่อไปถึงมณฑลยูนนาน ประเทศจีนได้อีกด้วย
ทั้งนี้ รฟท.ประเมินว่าการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงราย จะช่วยเพิ่มโอกาสการพัฒนาทางเศรษฐกิจในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี โดยประเมินว่าภายในปี 65 จะมีผู้โดยสารมากถึง 2,004,215 คนต่อปีและมีปริมาณขนส่งสินค้าได้สูงถึง 2,095,930 ตันต่อปี
ส้าหรับแนวเส้นทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย มีระยะทาง 323 กิโลเมตร 26 สถานี ผ่านพื้นที่ 59 ต้าบล 17 อ้าเภอ ของ 3 จังหวัดแพร่-พะเยา-เชียงราย มีอุโมงค์ 3 แห่ง อุโมงค์แรก อ.สอง จ.แพร่ ยาว 6.4 กิโลเมตร ซึ่งยาวที่สุดในประเทศ อุโมงค์ที่สอง อ.เมืองพะเยา 2.8 กิโลเมตร และอุโมงค์สุดท้าย อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย 3.6 กิโลเมตร ตลอดระยะทางมีระบบป้องกันอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดทางรถไฟ เช่น สะพานข้าม ทางยกระดับ
ขณะที่มูลค่าโครงการลงทุนรวมประมาณ 76,980 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้างทางวิศวกรรม (รวมค่าจ้างที่ปรึกษา) 73,172 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 7,292 แปลง จ้านวนพื้นที่ 9,661 ไร่ มูลค่า 3,808 ล้านบาท