นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาพื้นที่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (คนพ.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ว่า ที่ประชุมเห็นชอบโครงการสำคัญภายใต้แผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (60-64) ที่มีความจำเป็นต้องเร่งดำเนินการในปี 60 จำนวน 48 โครงการ วงเงินรวม 6,992.67 ล้านบาท โดยให้ขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป
สำหรับโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิติกส์ ทั้งในส่วนถนน รถไฟ ท่าเรือ และสนามบินในขณะนี้แผนงานต่างๆมีความชัดเจนอยู่แล้ว แต่ที่ประชุมได้เร่งรัดให้มีการดำเนินการในช่วงปี 60-61 ทั้งในส่วนการลงทุน การก่อสร้างและการเบิกจ่ายงบประมาณประกอบด้วย 1.โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) หมายเลข 7 รองรับรถ 72,000 คัน/วัน 2.โครงการก่อสร้าง/บูรณะ/ขยายช่องจราจร เช่น หมายเลข 3, 33, 36, 304, 314, 331 ระยะทางรวมประมาณ 1,000 กิโลเมตร
ประเภทรถไฟ เห็นชอบ 3.โครงการรถทางคู่ฉะเชิงเทรา-คลอง 19-แก่งคอย 4.โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-ระยอง รองรับผู้โดยสาร 43,200 คน/วัน 5.โครงการสถานีรถไฟอู่ตะเภา 6.โครงการรถไฟทางคู่ศรีราชา-เขาชีจรรย์-มาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด
ประเภทท่าเรือ เห็นชอบ 7.โครงการท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 รองรับสินค้าเหลว ก๊าซ อุตสาหกรรมต่อเนื่อง 8.โครงการท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ระยะที่ 3 9.โครงการศูนย์ขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟแหลมฉบัง (SRTO) 10.โครงการท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง 11.ท่าเทียบเรือขนส่ง และท่าเทียบเรือท่องเที่ยวเกาะล้าน (รวมศึกษาเรือเฟอร์รี่) 12.ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ
และเห็นชอบ 13.โครงการในสนามบินอู่ตะเภา (Aviation Hub) ระยะแรก- ศึกษาความเหมาะสม และ EIA/EHIA 14.ติดตั้งระบบ IT กล้องวงจรปิด เครื่อง X-Ray และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่อาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 15.ก่อสร้างศูนย์ฝึกอบรมบุคคลากรด้านการบิน
ส่วนแผนระยะที่ 2 เห็นชอบ 16. ก่อสร้าง High Speed Taxiway และ Taxiway 17.ก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ 2 18.ก่อสร้างศูนย์ซ่อมอากาศยาน MRO 19.ก่อสร้างศูนย์ขนส่งทางอากาศ Air Cargo
สำหรับแผนระยะที่ 3 เห็นชอบ 20. ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 รองรับผู้โดยสาร 15 ล้านคน/ปี 21.ก่อสร้าง Commercial Gateway 22.พัฒนาพื้นที่ Free trade zone และ Medical Hub
ที่ประชุมยังเห็นชอบ อุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพ ประกอบด้วย 23.โครงการอุตสาหกรรมเป้าหมาย-จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม s-curve 24.โครงการสิ่งแวดล้อม-Eco Town (พัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมนิเวศ ใน 3 พื้นที่ / กำกับตรวจสอบ และยกระดับมาตรฐานโรงงานจัดการกากอุตสาหกรรม) 25.โครงการการส่งเสริมการลงทุน-สิทธิประโยชน์ (ปัจจุบันพื้นที่ EEC ขอรับ BOI-นโยบายคลัสเตอร์ 18,354 ล้านบาท (ทั้งประเทศรวม 25,538 ล้านบาท) 26.โครงการการประชาสัมพันธ์-จัดทำ VDO ประชาสัมพันธ์/Roadshows 27.โครงการ OSS [ระดับพื้นที่ 2 แห่ง เช่น แหลมฉบัง มาบตาพุด] 27. โครงการ Free Trade Zone 28.กำหนดพื้นที่ FTZ นวัตกรรม 29.สำหรับแผนการพัฒนานวัตกรรม และพัฒนาบุคลากรรองรับ EEC 30.โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ 31.โครงการพัฒนาระบบ/เครือข่ายที่เชื่อมโยงครอบคลุม มีประสิทธิภาพสูง รองรับ e-commerce/Smart City 32.โครงการพัฒนาระบบไฟฟ้า/ขยาย ปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพ/พัฒนาระบบสายส่งและสถานี/พัฒนาโครงข่าย Smart Grid พัทยา
ในส่วนของระบบน้ำ เห็นชอบ 33.โครงการอ่างเก็บน้ำ-เพิ่มความจุอ่างฯ/เพิ่มระบบสูบน้ำ/ผันน้ำ/ปรับปรุงระบบระบายน้ำ 34. ระบบประปา-ก่อสร้างขยายระบบประปา/เพิ่มประสิทธิภาพการจ่ายน้ำ 35.โครงการท่อส่งน้ำ-ปรับปรุงระบบสูบน้ำ
สำหรับพัฒนาเมือง เห็นชอบ 36.โครงการผังเมือง-การวางผังพื้นที่กลุ่มจังหวัดชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา 37.โครงการขยะ -เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะ จ.ระยอง 38.โครงการก่อสร้างระบบเตาเผาขยะ แหลมฉบัง 39.โครงการก่อสร้างระบบกำจัดขยะแบบบูรณาการ พัทยา 40.โครงการน้ำเสีย-เพิ่มประสิทธิภาพระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย พัทยา (จ.ระยอง อยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบระบบ) 39.โครงการระบายน้ำ-ก่อสร้างระบบระบายน้ำป้องกันน้ำท่วม พัทยา
แผนด้านการท่องเที่ยว เห็นชอบ 41. พัฒนาพื้นที่แหลมบาลีฮาย 42.โครงการรถไฟรางเบา พัทยา, สำหรับด้านสาธารณสุข (สธ.) เห็นชอบ 43.พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศการให้บริการ และพัฒนาการให้บริการด้านอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม 44.โครงการการบริหารจัดการและลงทุนโรงพยาบาลเมืองพัทยา
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบ ในส่วนของภาพรวมโครงการ (สศช.) เห็นชอบ 45.โครงการการศึกษาจัดทำแผนแม่บทโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก 46.โครงการจัดตั้งสำนักงานฯ ชั่วคราว
อนึ่ง โครงการสำคัญภายใต้แผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ปี 60-64 มีมูลค่าโครงการรวม 7 แสนล้านบาท แบ่งเป็นการจัดสรรจากงบประมาณประจำปี 1.5 แสนล้านบาท จากงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ งบทุนภาคเอกชน และPPP
นายปรเมธี กล่าวว่า ที่ประชุมได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของคณะกรรมการไปดำเนินการต่อไป โดยเฉพาะการเร่งรัดดำเนินการตามแผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกให้บังเกิดผลโดยเร็วภายใน 1-3 ปี และนายกรัฐมนตรีได้สั่งการเพิ่มเติมในเรื่องการสร้างความรับรู้ความเข้าใจ การเตรียมแผนรองรับผลกระทบ ผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ การยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงกฎหมายใหม่ได้แก่ พ.ร.บ.โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development หรือ EEC) ซึ่งหลังจากผ่านความเห็นชอบจาก ครม.แล้ว จะมีการเร่งรัดนำเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในช่วงต้นปี 2560
เลขาธิการ สศช. กล่าวว่า ทางด้านการดึงดูดอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในปี 60 ที่ประชุมได้เน้นย้ำถึงการส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม s-curve การส่งเสริมการลงทุนและสิทธิประโยชน์ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ซึ่งขณะนี้มีโครงการที่ขอรับการส่งเสริมตามนโยบายคลัสเตอร์ 18,354 ล้านบาท และเร่งให้เกิดการลงทุนจริงในปีหน้า พร้อมทั้งเดินหน้าโรดโชว์เชิญชวนนักลงทุนเพิ่มมากขึ้น และมีการจัดตั้งศูนย์ one stop service ในระดับพื้นที่ 2 แห่งในที่แหลมฉบังและมาบตาพุด
สำหรับแผนงานใหม่ นายปรเมธี เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้เพิ่มเติมกระทรวงที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ประกอบด้วย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่จะเข้ามาช่วยในด้านนวัตกรรมและการพัฒนาบุคลกร ในด้านแรงงานฝีมือและนักวิจัยเพื่อรองรับ EEC และกระทรวงดิจิทัลเพือเศรษฐกิจและสังคม เข้ามาช่วยในการพัฒนาระบบและเครือข่ายเพื่อรองรับด้านอิคอมเมิร์ทและทำงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทยสร้างเมืองสมาร์ทซิติ้
ทางด้านภาพรวมของโครงการ มอบหมายให้ สศช.เร่งรัดการจัดทำแผนแม่บทโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก และให้มีการปรับปรุงแผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกให้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติในระยะ 20 ปี ทั้งแผนงบประมาณและผลประโยชน์ที่จะได้รับให้แล้วเสร็จใน 1 เดือน