นักบริหารเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.51 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก เปิดตลาดช่วงเช้าอยู่ที่ระดับ 35.55 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวตามแรงซื้อขายในกรอบระหว่าง 35.49-35.57 บาท/ดอลลาร์
"บาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.49-35.57 (บาท/ดอลลาร์) ตามแรงซื้อขายดอลลาร์" นักบริหารเงิน กล่าว
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบวันพรุ่งนี้ไว้ระหว่าง 35.45-35.60 บาท/ดอลลาร์
"ทิศทางบาทวันพรุ่งนี้น่าจะยังแกว่งตัวในกรอบ" นักบริหารเงิน กล่าว
- เงินเยนอยู่ที่ 110.75 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 110.90 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ 1.0635 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0595 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,478.30 เพิ่มขึ้น 4.44 จุด, +0.30% มูลค่าการซื้อขาย 38,130.13 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,654.56 ล้านบาท (SET+MAI)
- สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ระบุตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
(GDP) ไตรมาส 3/59 ขยายตัวได้ 3.2% ตามตลาดคาดการณ์ไว้เนื่องจากการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและการลงทุนภาครัฐขยายตัวดี
ต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกรอบ 7 ไตรมาส ส่วนทั้งปี 59 คาดการณ์เติบโตราว 3.2% จากเดิมคาดเติบ
โตในช่วง 3.0-3.5% หรือเฉลี่ยที่ 3.3% และปี 60 คาดจะเติบโตราว 3.0-4.0%
- ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัว 3.2% เมื่อเทียบกับ
ระยะเดียวกันปีก่อนที่สภาพัฒน์แถลงนั้น ใกล้เคียงกับที่ ธปท.ประเมินไว้ โดยเศรษฐกิจมีแรงขับเคลื่อนสำคัญจากการบริโภคภาคเอกชน
ที่ยังขยายตัวดีต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ประกอบกับภาคการส่งออกสินค้าที่มีสัญญาณดีขึ้น
- สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ เปิดเผยว่า หนี้สาธารณะ
คงค้าง ณ 30 กันยายน 2559 มีจำนวน 5,988,386.53 ล้านบาท หรือคิดเป็น 42.73% ของ GDP
- นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ตัว
เลขเศรษฐกิจไตรมาสที่ 3 ปี 2559 ขยายตัว 3.2% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงนั้นใกล้เคียงกับที่ ธปท.ประเมินไว้ โดยเศรษฐกิจมีแรงขับเคลื่อนสำคัญจากการบริโภคภาคเอกชนที่
ยังขยายตัวดีต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ประกอบกับภาคการส่งออกสินค้าที่มีสัญญาณดีขึ้น
- นายธีรัชย์ อัตนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้าน
ตลาดตราสารหนี้ เผยหนี้สาธารณะคงค้าง ณ 30 กันยายน 2559 มีจำนวน 5,988,386.53 ล้านบาท หรือคิดเป็น 42.73% ของ
GDP โดยแบ่งเป็น หนี้รัฐบาล จำนวน 4,471,220.22 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน จำนวน 994,794.29
ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 500,054.33 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ
จำนวน 22,317.69 ล้านบาท
- สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเตรียมออกพันธบัตรออมทรัพย์เพื่อขายให้ราย
ย่อยวงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท เริ่มขายตั้งแต่ 13 ธ.ค.59 ถึง 9 เม.ย.60 เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยนักลงทุน
สามารถซื้อได้ขั้นต่ำรายละ 1 พันบาท แต่ไม่เกิน 2 ล้านบาท
- ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 59 เป็น 3.2%
มองเศรษฐกิจเสี่ยงแผ่วปลาย เนื่องจากมีปัจจัยกดดันสำคัญที่รออยู่ ได้แก่ ปัจจัยฐานสูงจากปีก่อนหน้าของทั้งยอดขายรถและการใช้จ่าย
ภาครัฐ รวมถึง แรงกดดันต่อภาคการท่องเที่ยวจากการจัดการทัวร์ศูนย์เหรียญและบรรยากาศการบริโภคในประเทศที่ซบเซาลง EIC
มองว่าในไตรมาสสุดท้ายของปีมีโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะโตช้าที่สุดในรอบปี
- นายฟิลิป แฮมมอนด์ รัฐมนตรีคลังอังกฤษได้ออกโรงเตือนว่า เศรษฐกิจอังกฤษยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอน ในขณะที่
อังกฤษยังอยู่ในกระบวนการถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (Brexit)
- นางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เรียกร้องให้ภาคธุรกิจทำงานร่วมกับรัฐบาลให้มากขึ้นและมีความเป็นธรรม
ขึ้น เพื่อฟื้นฟูความไว้วางใจของประชาชนกลับคืนมาอีกครั้ง
- น.ส.ทาคาโกะ มาซาอิ หนึ่งในกรรมการกำหนดนโยบายธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้แสดงความวิตกเกี่ยวกับผล
กระทบด้านลบต่อตลาดเงิน จากความไม่แน่นอนในนโยบายเศรษฐกิจของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์
--อินโฟเควสท์ โดย ธนวัฏ เสือแย้ม/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์:
[email protected]