(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.45/46 แข็งค่ารับเม็ดเงินไหลเข้า หลัง GDP Q3/59 ของไทยออกมาดี

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 22, 2016 11:29 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบีไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 35.45/46 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วงเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 35.51 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้น หลังจากได้ปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่สภาพัฒน์ประกาศ GDP ของไทยไตรมาส 3/59 ว่าเติบโต ได้ 3.2% โดยถือว่าเศรษฐกิจไทยยังการขยายตัวได้ต่อเนื่อง ส่งผลทำให้มี Flow ไหลเข้ามาในตลาดบ้านเรา

"บาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย น่าจะเป็นผลมาจากที่สภาพัฒน์ประกาศตัวเลข GDP ที่ออกมาดี จึงทำให้มี inflow เข้ามา"
นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่าวันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.40 - 35.50 บาท/ดอลลาร์

ล่าสุด SPOT อยู่ที่ระดับ 35.4508 บาท/ดอลลาร์ ส่วน THAI BAHT FIX 3M (21 พ.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.29306% ส่วน THAI BAHT FIX 6M (21 พ.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.52341%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.38/40 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 110.75 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรเช้านี้อยู่ที่ระดับ 1.0640/0642 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0635 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.5420 บาท/
ดอลลาร์
  • ธนาคารเอชเอสบีซี คาดการณ์ค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่าลงเช่นเดียวกับสกุลเงินอื่นในเอเชีย แม้ว่า
ปัจจัยที่มาจากเงินบาทโดยตรงจะมีจำกัด โดยเงินบาทจะค่อยๆ ปรับตัวอ่อนค่าลงเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐเมื่อเข้าสู่ปี 2560 แต่ก็ยัง
ไม่ถึงระดับของสถิติเมื่อเดือน ต.ค. 2558 ที่ 36.7 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
  • นายกฤชรัตน์ หิรัณยศิริ ประธานกรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทในเครือเอ็มทีเอส โกลด์ แม่ทองสุก เปิดเผยว่า ขณะนี้
ประชาชนเริ่มถอนเงินจากธนาคารหันมาซื้อทองคำแท่งเก็บมากขึ้น เนื่องจากการฝากเงินในธนาคารแทบจะไม่ได้ผลตอบแทน หรือได้
ดอกเบี้ยเฉลี่ย 1-2% ต่อปีเท่านั้น ที่สำคัญราคาทองคำช่วงนี้ปรับตัวร่วงลงมามาก จึงขอแนะนำให้ประชาชนทยอยซื้อทองคำเก็บไว้
หลังจากมีแนวโน้มว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือน ธ.ค.นี้ เพราะราคาทองคำในตลาดโลก
อาจลดลงได้อีก แล้วจึงค่อยๆปรับตัวขึ้น
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)เผยหนี้เสียขยับมากในกลุ่มพาณิชย์-อุปโภคบริโภคส่วนบุคคล-อุตสาหกรรม และเอส
เอ็มอี พบอุปโภคบริโภคฯ เกิดลูกหนี้รายใหม่เพิ่มขึ้นเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนลูกหนี้รายใหม่ทั้งหมดและมีลูกหนี้รี-เอ็นทรีสูงสุดด้วย ส่วน
อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นมากด้วยเหตุผลอื่น
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเคลื่อนตัวผันผวน ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (21 พ.ย.) หลังจากที่แข็งค่าขึ้น
ติดต่อกันเป็นเวลา 10 วันในช่วงก่อนหน้านี้ อันเนื่องมาจากกระแสคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า โดยดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเยนที่ระดับ 111.25 เยน จากระดับ 110.62 เยน และ
เงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0600 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0604 ดอลลาร์สหรัฐ
  • นายสแตนลีย์ ฟิสเชอร์ รองประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวในวันนี้ว่า การทะยานขึ้นของค่าเงินดอลลาร์
ในระยะนี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายด้านนโยบายของเฟด
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (21 พ.ย.) โดยทองคำดีดตัวขึ้นเป็นวันแรกในรอบ 4 วันทำการ เนื่อง
จากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเริ่มอ่อนค่าลง ซึ่งช่วยกระตุ้นแรงซื้อในตลาดทองคำ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงระมัดระวังการซื้อขาย
หลังจากมีสัญญาณบ่งชี้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า
  • นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ ได้โพสต์คลิปวิดีโอผ่านทางยูทูบ เพื่อแถลงแผนการบริหารประเทศเมื่อ
เขาขึ้นดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการ พร้อมประกาศความตั้งใจที่จะถอนสหรัฐออกจากการเป็นสมาชิกข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์
เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP)
  • นักลงทุนจับตาประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 13-14 ธ.ค.นี้ หลังจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดได้
ออกมาสนับสนุนให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนธ.ค. ซึ่งรวมถึงนางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟดที่ออกมาเตือนว่า
เศรษฐกิจสหรัฐอาจจะเผชิญกับความเสี่ยง หากเลื่อนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไป
  • นักลงทุนยังจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์,

ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนต.ค., ดัชนีราคาบ้านเดือนก.ย., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นเดือนพ.ย. จาก

Markit, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ย.จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน และยอดขายบ้านใหม่เดือนต.ค.


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ