หอการค้าฯประกาศ"ปฏิญญาอยุธยา"หวังดันมูลค่าการค้า-บริการในปท.เพิ่มไม่ต่ำ 0.5-1.0 แสนลบ./ปี หนุนศก.ปี 60 โต 4%

ข่าวเศรษฐกิจ Saturday November 26, 2016 19:40 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า งานสัมมนาหอการ ค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 34 ได้ประกาศ"ปฏิญญาอยุธยา"เป็นข้อสรุปร่วมกัน
ในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ สานพลังความร่วมมือตาม แนวทางประชารัฐเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน 
ขณะที่จะยกระดับผู้ประกอบการสู่ Trade & Services 4.0 ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
มาเพิ่มประสิทธิภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจ

โดยคาดว่าจะช่วยผลักดันมูลค่าการค้าและบริการในประเทศให้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าปีละ 50,000-100,000 ล้านบาท หนุน ให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ปี 2560 เติบโต 4%

"การดำเนินการดังกล่าว หอการค้าไทย คาดว่าจะช่วยผลักดันให้มูลค่าการค้าและบริการของประเทศไทยเพิ่มขึ้นจาก เดิมอีกอย่างน้อยไม่ต่ำกว่าปีละ 50,000-100,000 ล้านบาท หรือช่วยให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 0.4-0.7% ซึ่งจะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยในปี 2560 เติบโตที่ระดับ 4.0%"นายอิสระ กล่าว

นายอิสระ กล่าวว่า สำหรับแนวทาง"ปฏิญญาอยุธยา" ประกอบด้วย 1.หอการค้าทั่วประเทศ จะสานพลังร่วมมือตามแนว ทางประชารัฐร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน ในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ เพื่อลดความ เหลื่อมล้ำ และนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Inclusive Growth)

2.หอการค้าทั่วประเทศ จะสนับสนุนภาครัฐในการขับเคลื่อนประเทศไทย ตามนโยบาย Thailand 4.0 และ3.หอการ ค้าทั่วประเทศ จะลงมือทำนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล มาให้พัฒนากระบวนการทางธุรกิจไปสู่การค้าและบริการ 4.0 (Trade and Service 4.0) ซึ่งเป็นการค้าและบริการบนระบบอัจฉริยะ (Smart Platform)

ทั้งนี้ 
ภาพรวมการจัดสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ในปีนี้ใช้แนวคิดในการสัมมนาฯ"นวัตกรรม ทำจริง 
สู่ประเทศไทย 4.0" เพื่อการพัฒนาและยกระดับประเทศด้วยการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันทางด้านการค้า การลงทุน การวิจัยและพัฒนา นวัตกรรม 
และเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้ก้าวสู่ระบบการค้าอัจฉริยะ Trade & Service 4.0

นายเดช เฉิดสุวรรณรักษ์ กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย 
ในฐานะประธานคณะ กรรมการส่งเสริมผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (YEC) หอการค้าไทย กล่าวว่า การสัมมนาหอการค้า
ทั่วประเทศในครั้งนี้ ได้มีการจัดสัมมนา กลุ่ม Young Entrepreneur Chamber of Chamber (YEC) โดยกลุ่มคนรุ่นใหม่จะมาประชุมกำหนดกรอบการทำงานร่วมกัน เพื่อ พัฒนาต่อยอดธุรกิจการค้าและสร้างเครือข่ายอย่างเป็นรูปธรรม 
โดยมีผู้ประกอบการรุ่นใหม่ทั่วประเทศ จำนวน 300 คน เข้าร่วมการ สัมมนาฯ

นายสนั่น อังอุบลกุล รองประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และประธานกลุ่มที่ 1 เรื่อง "การเชื่อมโยงธุรกิจใน ภูมิภาค CLMVT+" (CLMVT + :Regional Value Chain Linkage) กล่าวว่า กลุ่มประเทศ CLMV 
เป็นกลุ่มประเทศคู่ค้าที่มี ความสำคัญต่อประเทศไทย ด้วยกำลังซื้อจากประชากรกว่า 250 ล้านคน อัตราการเติบโต
เฉลี่ยของจีดีพีมากกว่า 7% สูงกว่าการเติบ โตและมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2558 ที่ผ่านมาประเทศไทยมีมูลค่าการค้ากับประเทศ CLMV อยู่เพียง 1 ล้านล้านบาท แต่ในขณะเดียวกันกลุ่มประเทศ CLMV มีมูลค่าการค้าขายกับทั่วโลกมากถึง 12.5 ล้านล้านบาท เท่ากับว่าประเทศ ไทยทำการค้ากับกลุ่มประเทศ CLMV เพียง 8.6% 
ซึ่งประเทศไทยยังมีโอกาสในการดึงส่วนแบ่งการตลาดใน CLMV จากตลาดโลก

ดังนั้น การค้า
และการลงทุนในประเทศ CLMV ถือเป็นเป้าหมายสำคัญของประเทศไทย เพื่อยกระดับเศรษฐกิจไทยให้ เติบโต เข้มแข็ง และสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ อย่างไรก็ตาม การเข้าไปลงทุนยังมีประเด็นที่ต้องได้รับการแก้ไข 
จากการ ระดมความเห็นจึงได้ข้อเสนอแนะ ดังนี้

1) โครงสร้างพื้นฐาน ผลักดันให้ยกระดับด่านการค้าเพิ่มขึ้น, ขยายเวลาเปิดด่านการค้าชายแดนถึง 24.00 น.

2) ปลดล็อกทางการค้า การใช้เงินสกุลท้องถิ่นบริเวณชายแดน, ยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างกันออกไป (NTM / NTB), ผลักดันความตกลง GMS CBTA, ส่งเสริมให้มีการนำเข้าสินค้าจาก CLMV, ความตกลงร่วมมือในการขนส่งสินค้า ระหว่างกัน

3) Knowledge Tank ศูนย์รวมข้อมูลการค้าการลงทุนให้กับผู้ประกอบการไทย สามารถหาข้อมูลได้ในจุดเดียว

4) การพัฒนาบุคลากรและการศึกษา การพัฒนาบุคลากรในประเทศ CLMV เพื่อรองรับการลงทุนของธุรกิจไทย, การ พัฒนาผู้ประกอบการให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ตลาด CLMV

5) การอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวACMECS Single Visa เพื่อให้สอดคล้องกับ concept 
"5 Countries 1 Destination", การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ , การรักษาพยาบาล

6) ความร่วมมือระหว่างกัน การพบปะกันระหว่างกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ (YEC), การตั้งศูนย์กระจายสินค้า

7) Team Thailand + ปลดล็อคปัญหาทางการค้าที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่ร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน 
และ เป็นศูนย์ กลางในการรวบรวมข้อมูลเชิงลึกที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่

นายสุรงค์ บูลกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานกลุ่มที่ 2 เรื่อง "องค์กรที่ประสบผลสำเร็จ
ใน สภาวะเศรษฐกิจยุคใหม่" กล่าวว่า องค์กรที่สามารถปรับตัวและอยู่รอดจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของภาวะเศรษฐกิจและ สังคมตามทิศทางของโลก ซึ่งความเปลี่ยนแปลง
ในปัจจุบันที่เห็นได้ชัด คือ การมี New Business Model ของหลายบริษัทที่ได้มีการ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจ
ของตนเองจากเดิม เปลี่ยนไปใช้ Social Media ต่าง ๆ เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถสะท้อนถึงบทบาทสำคัญของเทคโนโลยีที่ทำให้รูปแบบของธุรกิจเปลี่ยนไป

จากการระดมความคิดเห็นร่วมกัน สามารถสรุปประเด็นสำคัญสำหรับองค์กรธุรกิจในสภาวะเศรษฐกิจยุคใหม่
ที่จะสามารถ ดำเนินธุรกิจได้อย่างก้าวกระโดด (Leapfrog) และทำให้ก้าวไปสู่เป้าหมายทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ดังนี้

1) นวัตกรรม เป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น นวัตกรรมของสินค้าและบริการ 
(Product and Service) หรือ กระบวนการ (Process) ซึ่งเป็นสิ่งที่หอการค้าไทยให้ความสำคัญมาตลอด 
อาทิ การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัต กรรม (Innovation-Driven Entrepreneurship: IDE) และโครงการคูปองนวัตกรรม เป็นต้น

2) เทคโนโลยี เป็นปัจจัยที่เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ เช่น การใช้เทคโนโลยี
เพื่อทำการตลาด, การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design), การเข้าถึงลูกค้าจำนวนมากด้วย e-Commerce 
หรือ การใช้ Big Data กำหนดทิศ ทางของธุรกิจและวิเคราะห์ความต้องการลูกค้า เป็นต้น

3) การบริหารองค์กร ประกอบไปด้วยระบบงานส่วนหน้า (Front Office), ส่วนกลาง (Middle Office), ส่วน หลัง (Back Office) เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากองค์กรที่จะประสบความสำเร็จได้ จะต้องมีการบริหาร จัดการที่ดีและเหมาะสมกับรูปแบบการประกอบธุรกิจ

4) New Marketplace การเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจในการเข้าสู่ตลาด จากเดิมที่เป็นรูปแบบปกติ คือ การนำสินค้า
เข้าสู่ Modern Trade เป็นการก้าวกระโดด ด้วยการใช้ e-Commerce ให้สามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
และหลากหลายกลุ่ม

นายกลินท์ สารสิน รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานกลุ่มที่ 3 เรื่อง "การสร้างเศรษฐกิจ
จาก วัฒนธรรม" กล่าวว่า Thailand Services 4.0 เป็นกลไกสำคัญในการเพิ่มมูลค่าและ
ความแตกต่างให้กับธุรกิจ โดยมีปัจจัยขับ เคลื่อนในรูปแบบของเอกลักษณ์และเสน่ห์ไทย หรือ "Innovative on Thai Services" คือมีความคิดสร้างสรรค์ (Creative) มีวัฒนธรรม (Cultural) และมีการนำเทคโนโลยีดิจิตอล (Digital Technology) เข้ามายกระดับการให้บริการ ทั้งนี้ ต้องมี ปัจจัยพื้นฐานคือ มาตรฐานการบริการ รวมถึงการพัฒนาบุคลากรและผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง ภายใต้การดำเนินตาม หลักการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) กล่าวคือ ความมีเหตุผล - ความพอประมาณ - มีภูมิคุ้มกัน และ ใช้ความรู้ควบคู่กับคุณธรรม รวมทั้ง 
การมีส่วนร่วม (Inclusive) ของชุมชนและทุกภาคส่วน จะนำพาให้การบริการของไทยก้าวสู่ยุค ใหม่ ได้อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ จากการระดมความคิดเห็น ได้ข้อเสนอเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และยกระดับขีดความสามารถ
ในการแข่งขัน ผ่านแนวคิด “Cultural Economy” ดังนี้

1) การปรับเปลี่ยนภาคการบริการ (Service Sector) ของประเทศไทยให้เข้าสู่ “Thailand Services 4.0” โดยดำเนินการผ่านแนวคิด “Cultural Economy” ของหอการค้าไทยคือ การใช้วัฒนธรรม ภูมิปัญญา อัตลักษณ์ท้องถิ่น เชื่อมโยงกับ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อสร้างความแตกต่างสำหรับสินค้าและบริการ นำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทาง เศรษฐกิจ และคุณค่าในทางสังคม โดยเชื่อมโยงตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าการท่องเที่ยว (Value Chain)

2) การขับเคลื่อนการสร้าง Cultural Economy ผ่านโครงการ “ไทยเท่ ทั่วไทย” ซึ่งเป็นการจัดประกวดโครงการ ที่นำวัฒนธรรมท้องถิ่น ผนวกกับความคิดสร้างสรรค์ มาสร้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่ม ให้กับเศรษฐกิจ

ในพื้นที่แต่ละจังหวัดทั่วประเทศไทย

3) แนวทางของหอการค้าไทยและหอการค้าทั่วประเทศ ในการสนับสนุนการขับเคลื่อน Cultural Economy โดย เสริมสร้างผู้ประกอบการให้มีขีดความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่า และสร้างเศรษฐกิจในท้องถิ่น ตามแนวคิด Cultural Economy ผ่านเครื่องมือที่หลากหลาย ตั้งแต่การให้คำปรึกษา การสัมมนา การศึกษาดูงาน การฝึกอบรมในหลักสูตร ต่างๆ เช่น หลักสูตร IDEA ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นต้น


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ