ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.69/70 อ่อนค่าตามภูมิภาค จับตาตัวเลข GDP Q3/59 ของสหรัฐฯ-ผลประชุมโอเปก

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 29, 2016 17:33 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบีไทย เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.69/70 บาท/ดอลลาร์ อ่อน ค่าจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.52 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทในช่วงบ่ายปรับตัวอ่อนค่าลงตามทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค โดยนักลงทุนต่างจับตา 2 ประเด็น สำคัญในวันนี้และวันพรุ่งนี้ คือ สหรัฐฯ จะรายงานตัวเลข GDP ไตรมาส 3/2016 ในคืนนี้ ส่วนพรุ่งนี้จะทราบผลการประชุมของกลุ่ม ประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ว่าจะสามารถตกลงกันได้ในประเด็นการลดกำลังการผลิตน้ำมันหรือไม่

"บ่ายนี้บาทอ่อนค่าไปตามภูมิภาค คืนนี้นักลงทุนรอดูตัวเลข GDP ไตรมาส 3 ของสหรัฐฯ และรอผลประชุมโอเปกพรุ่ง นี้" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.60-35.75 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ช่วงเย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 112.60/62 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 111.80 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0596/0598 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0600/0640 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,497.18 จุด ลดลง 3.60 จุด (-0.24%) มูลค่าการซื้อขาย 49,000 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 3,029.20 ลบ.(SET+MAI)
  • ครม.เห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศช่วงปลายปี 2559 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
โดยนำค่าทัวร์และค่าที่พักสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ธ.ค.-31 ธ.ค.59 ไปหักลดหย่อนภาษีได้
ตามจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งเมื่อรวมกับในช่วงต้นปีที่เคยมีมาตรการนี้ออกมาแล้วก็จะรวมทั้งปีเป็นไม่เกิน 30,000 บาท

ทั้งนี้ กระทรวงการคลังคาดว่ามาตรการดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษีประมาณ 150 ล้านบาท แต่ในทางกลับ กันจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศให้มีการใช้จ่ายมากขึ้น อีกทั้งช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ ไม่ให้เงินตราไหลออกไป ต่างประเทศ

  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังเห็นชอบมาตรการกำหนดให้ใช้เงินตราสกุลอื่นที่ไม่ใช่เงินบาทมาคำนวณรายได้
รายจ่าย กำไรสุทธิ และการเสียภาษีรายได้จากปิโตรเลียม ได้แก่ BP พร้อมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรเพื่อให้บริษัท ห้างหุ้น
ส่วน และนิติบุคคล สามารถใช้สกุลเงินตราต่างประเทศมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อสะท้อนผลการดำเนินงานที่แท้จริง ไม่เกิด
ผลกระทบจากความผันผวนเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสิน ปรับประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี
59 เพิ่มขึ้นเป็น 3.2% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ 3.1% ต่อปี หลังจากคาดว่าครึ่งหลังของปีนี้ ยังมีปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโต
ของเศรษฐกิจจากกำลังซื้อของครัวเรือนที่ทยอยปรับตัวขึ้น, การท่องเที่ยวยังคงขยายตัว, เม็ดเงินการใช้จ่ายและการลงทุนของภาค
รัฐขยายตัวดีต่อเนื่อง ขณะที่ภาคการส่งออกสินค้ายังคงชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า แต่มีสัญญาณดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วง
ครึ่งแรกของปี
  • ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) แถลงแผนธุรกิจปี 60 โดยตั้งเป้าสินเชื่อขยายตัว 4-6% ภายใต้คาดการณ์อัตราการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ไทยในปีหน้าจะขยายตัว 3.3% ขณะที่ตั้งเป้าควบคุมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ก่อนการตั้งสำรอง
(Gross NPL) ให้มีสัดส่วนไม่เกิน 3.3-3.4% ของสินเชื่อรวม
  • นายมัตเตโอ เรนซี นายกรัฐมนตรีอิตาลี เปิดเผยว่า อิตาลีจะยังคงมีรัฐบาลต่อไป แม้ในกรณีที่กฎหมายปฏิรูปไม่ผ่าน
ประชามติในวันที่ 4 ธ.ค.นี้
  • เอสแอนด์พี โกลบอล เรทติ้งส์ เปิดเผยในรายงานประจำปีว่า ต้นทุนด้านอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นและความ
ผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศนั้น ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงสูงสุดที่มีต่ออันดับความน่าเชื่อถือของประเทศในกลุ่มเอเชีย
แปซิฟิกในปีหน้า โดยรายงานของเอสแอนด์พีระบุว่า ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายของคณะทำงานของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่
ประธานาธิบดีสหรัฐนั้น กำลังสร้างแรงกดดันต่อตลาดการเงิน
  • สถาบัน Ifo สถาบันวิจัยเศรษฐกิจชั้นนำของเยอรมนี เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์
เยอรมันที่มีต่อนโยบายเศรษฐกิจของโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ โดยผลสำรวจระบุว่า นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่แสดง
ความวิตกกังวลว่านโยบายการจัดเก็บภาษีและการค้าของทรัมป์จะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจของสหรัฐ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ