ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.58/63 แกว่งแคบ ตลาดจับตาประชุม ECB วันพฤหัสนี้ คาดกรอบพรุ่งนี้ 35.50-35.70

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 6, 2016 17:31 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.58/63 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียง จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.60/62 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทตลอดทั้งวันยังเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินมาก นัก โดยนักลงทุนรอติดตามผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันที่ 8 ธ.ค.นี้ ว่าจะมีมติเรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบายออกมา อย่างไร

"วันนี้เงินบาทค่อนข้างจะทรงตัว เพราะไม่ค่อยมีปัจจัยหนุนเท่าที่ควร คงไปรอดูการประชุม ECB ในวันพฤหัสนี้อีกที ว่า จะมีมติเรื่องดอกเบี้ยอย่างไร" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.50 - 35.70 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ช่วงเย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 114.10 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 113.70 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0760 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0750 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,516.48 จุด เพิ่มขึ้น 14.82 จุด (+0.99%) มูลค่าการซื้อขาย 39,692 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,290.27 ลบ.(SET+MAI)
  • ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปี 60 จะขยายตัวได้ 3.5-4%
ซึ่งยังสามารถฟื้นตัวได้ต่อเนื่องจากปีนี้ โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากการใช้จ่าย และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในหลายโครงการ
ของภาครัฐ ซึ่งช่วยสนับสนุนความเชื่อมั่นของภาคเอกชนให้มีการลงทุนตาม ขณะที่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้อาจได้รับผลกระทบจาก
ปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ แต่ด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ก็ยังคาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะโตได้ 3.3-3.5%
  • พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวว่า หลังมีพระบรมราชโองการโปรด
เกล้าฯ แต่งตั้งองคมนตรี โดยมีรายชื่อ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ และ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม
คงจะต้องมีการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกครั้ง ส่วนจะปรับอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะ
เป็นผู้ตัดสินใจ แต่ในส่วนงานด้านความมั่นคงขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตัวบุคคล
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ เรียกร้องให้ผู้ว่าการธนาคารกลางทั่วโลก ดำเนินนโยบายต่างๆ เพื่อผลักดันเศรษฐกิจ
ให้ขยายตัวเป็นวงกว้าง พร้อมแนะแนวทาง 3 ประการ ในการรับมือกับภาวะขาดความเชื่อมั่นในตลาดแบบเปิด ประการแรก นัก
เศรษฐศาสตร์ต้องมีความรอบรู้อย่างถ่องแท้เกี่ยวกับความท้าทายต่างๆ ที่กำลังเผชิญอยู่ ประการที่สอง ควรผลักดันเศรษฐกิจภายใน
ประเทศให้เติบโตด้วยการสร้างสมดุลระหว่างนโยบายการเงิน นโยบายการคลัง และการปฏิรูปโครงสร้าง และประการที่สาม ควร
ผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโตเป็นวงกว้าง เนื่องจากทุกประเทศล้วนมีส่วนในระบบโลกาภิวัฒน์
  • ที่ประชุมยูโรกรุ๊ป ให้การรับรองมาตรการบรรเทาหนี้สินในระยะสั้นของกรีซ โดยมาตรการดังกล่าวนำเสนอโดยกอง
ทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) ซึ่งจะมีผลกระทบในด้านบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อการคลี่คลายปัญหาหนี้สินของกรีซอย่างยั่งยืน
โดยยูโรกรุ๊ปพร้อมที่จะใช้มาตรการในระยะกลางหากมีความจำเป็น หลังจากอายุของโครงการดังกล่าวสิ้นสุดลง หรือในช่วงครึ่งหลัง
ของปี 2561
  • ธนาคารกลางออสเตรเลีย มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.50% ในการประชุมวันนี้ ซึ่งสอดคล้องกับการคาด
การณ์ เนื่องจากอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในช่วงสิ้นปีมีแนวโน้มว่าจะชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี แบงก์ชาติออสเตรเลียยังคง
กังวลว่าหากมีการผ่อนคลายมาตรการเพิ่มเติม ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศที่ภาคครัวเรือนได้รับผลกระทบจากหนี้สิน
จำนวนมากอยู่แล้ว
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติของออสเตรเลีย เผยยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาส 3/2016 อยู่ที่ระดับ 1.36 หมื่น
ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้นักลงทุนจับตาดูตัวเลข GDP ไตรมาส 3 ของออสเตรเลียที่จะ
ประกาศในวันพรุ่งนี้ โดยนักวิเคราะห์คาดว่า GDP ไตรมาส 3 จะชะลอตัวลง เนื่องจากการขาดทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่ยังคง
หดตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราค่าแรงและกำไรในภาคเอกชนชะลอตัวลง นอกจากนี้ยังมีสัญญาณบ่งชี้ถึงภาวะซบเซาในตลาดแรงงาน
เช่นกัน
  • แหล่งข่าวจากรัฐบาลญี่ปุ่น ระบุว่า รัฐบาลญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะปรับลดการประมาณการรายได้จากการจัดเก็บภาษี
ประจำปีงบประมาณปี 2559 ลงสู่ระดับ 55.7 ล้านล้านเยน (4.90 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) จากระดับ 57.6 ล้านล้านเยน ซึ่ง
สะท้อนให้เห็นว่ารายได้จากการจัดเก็บภาษีภาคเอกชนปรับตัวลดลง

ทั้งนี้ หากเป็นไปตามคาดการณ์ ก็จะทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี หรือนับ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 ซึ่งเป็นช่วงที่สถานะการเงินของรัฐบาลทั่วโลกถดถอยลงอย่างหนัก อันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นใน ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ (วิกฤติซับไพร์ม)

  • นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนต.ค., ผลิตภาพ-ต้น

ทุนแรงงานต่อหน่วยไตรมาส 3/2559, จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานประจำสัปดาห์ และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเบื้องต้นเดือนธ.ค.

เป็นต้น ขณะที่ฝั่งสหภาพยุโรป จะมีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ เช่น ผลิตภัฑณ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตร

มาส 3/2016 และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน และแถลงมติอัตราดอกเบี้ยนโยบาย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ