(เพิ่มเติม1) "สมคิด"-รมว.คลัง-แบงก์ กดปุ่มเปิดใช้"พร้อมเพย์"เพิ่มความสะดวก-ลดอุปสรรคการทำธุรกิจ ก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 27, 2017 17:24 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การเปิดใช้บริการ"พร้อมเพย์"อย่างเต็มรูปแบบในวันนี้ ถือเป็นพื้น ฐานสำคัญที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการเงินของประเทศ เพิ่มความสะดวกให้กับประชาชน ลดอุปสรรคในการทำธุรกิจ ส่งเสริม ธุรกิจ SME และ e-Commerce ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในที่สุด

ด้านนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง กล่าวว่า วันนี้บริการ "พร้อมเพย์"สำหรับการโอนเงินระหว่างบุคคลสามารถให้ บริการอย่างเต็มรูปแบบ และจะเริ่มเปิดให้นิติบุคคลลงทะเบียนใช้"พร้อมเพย์" และเริ่มให้บริการโอนเงินได้ในวันที่ 1 มี.ค.นี้

สำหรับบริการ"พร้อมเพย์" เป็น 1 ในโครงการตามแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment ซึ่งเป็นงานที่กระทรวง การคลังให้ความสำคัญมาก โดย"พร้อมเพย์" เป็นโครงการแรก นอกจากนี้ ยังมีโครงการการขยายการใช้บัตรเดบิตและการติดตั้ง เครื่องรับบัตร (EDC), การปรับปรุงระบบภาษีอิเล็กทรอนิคส์, การบูรณาการสวัสดิการ และ e-Payment ภาครัฐ การสื่อสารให้ ความรู้กับประชาชนและ สุดท้ายเป็นโครงการพัฒนาตลาดทุน

ด้านนายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ขณะนี้ธนาคารทุกแห่งมีความพร้อมให้บริการ"พร้อมเพย์" อย่างเต็มที่ โดยสามารถให้บริการโอนเงินผ่านช่องทางอิเล็คทรอนิคส์ อาทิ ตู้ ATM, Mobile banking และ Internet Banking ซึ่งได้ทำการทดสอบระบบจนมั่นใจแล้วว่าสามารถให้บริการได้อย่างปลอดภัย สะดวก รวดเร็วและรองรับปริมาณธุรกรรม จำนวนมากได้

                              ค่าธรรมเนียมการโอนเงินระหว่างบุคคล
มูลค่าการโอนเงินต่อรายการ                                                   ค่าธรรมเนียมต่อรายการ
ไม่เกิน 5,000 บาท                                                                 ฟรี
มากกว่า 5,000-30,000 บาท                                                   ไม่เกิน 2 บาท
มากกว่า 30,000-100,000 บาท                                                 ไม่เกิน 5 บาท
มากกว่า 100,000-วงเงินสูงสุดที่กำหนด*                                           ไม่เกิน 10 บาท
*วงเงินสูงสุดตามที่แต่ละธนาคารกำหนด

นายปรีดี กล่าวต่อว่า หลังจากที่บริการ"พร้อมเพย์"สำหรับการโอนเงินระหว่างบุคคลเปิดใช้แล้วนั้น ต่อไปจะเข้าสู่การ เปิดใช้ในส่วนของนิติบุคคล ซึ่งจะเริ่มเปิดให้ลงทะเบียนได้ตั้งแต่สัปดาห์หน้า และให้บริการโอนเงินตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.60 เป็นต้นไป ซึ่งนิติบุคคลสามารถลงทะเบียนได้ด้วยเลขประจำตัว 13 หลัก เพื่อรับประโยชน์จากบริการรับเงินและโอนเงิน ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอน ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่องค์กร

"สมาคมธนาคารไทยมั่นใจว่าบริการพร้อมเพย์จะช่วยตอบโจทย์ให้แก่ทุกภาคส่วน ทั้งประชาชน, ธุรกิจ SME, ธุรกิจ ขนาดใหญ่, e-Commerce รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐให้มีการชำระเงินที่สะดวกยิ่งขึ้น ช่วยลดต้นทุนการจัดการเงินสดให้กับประเทศ และช่วยสนับสนุนการเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย" นายปรีดี กล่าว

พร้อมระบุว่า หลังจากที่พร้อมเพย์ให้บริการแล้วเชื่อว่าจะส่งผลให้การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ช่องทางโมบายแบงก์กิ้งเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่มีผู้ใช้บริการอยู่ 14 ล้านบัญชี และคาดว่าจะมีประชาชนมาลงทะเบียนใช้บริการพร้อม เพย์ได้ตามเป้าหมายที่ 30 ล้านคนในไม่ช้า

อนึ่ง ข้อมูลล่าสุด ณ สิ้นปี 58 พบว่า มีการทำธุรกรรมการเงินผ่านโมบายแบงกิ้ง 264 ล้านรายการ คิดเป็นมูลค่า 3 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 73%

ด้านนายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.ได้ร่วมสนับสนุนและผลักดัน ยุทธศาสตร์ National e-Payment โดยรับผิดชอบหลักใน 2 โครงการ คือ โครงการพร้อมเพย์ และโครงการขยายการใช้บัตรเด บิต ซึ่งในขั้นตอนการพัฒนาระบบพร้อมเพย์นั้นทุกฝ่ายได้ให้ความสำคัญกับความมั่นคงปลอดภัยของระบบเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในส่วนของระบบ กลาง ระบบงานของธนาคารแต่ละแห่ง และการเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า

ธปท.ได้ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด รวมทั้งได้ซักซ้อมและเตรียมการให้ธนาคารต่างๆ สามารถดูแลและให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้ บริการได้อย่างถูกต้อง มีวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที และมีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแลอื่นๆ เช่น กสทช. กำหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติเพื่อให้การใช้บริการพร้อมเพย์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น

"จากการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินต่างๆ นี้ ธปท.หวังเป็นอย่างยิ่งว่าปริมาณการใช้ e-Payment จะ เพิ่มสูงขึ้น สนับสนุนการทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจของทุกภาคส่วนดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว เพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และเพิ่มความ สามารถในการแข่งขันให้กับระบบการเงินไทย" ผู้ว่าฯ ธปท.ระบุ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ