ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.00/35.04 กลับมาอ่อนค่าจากดอลล์แข็ง หลังประธานเฟดส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยชัดเจน

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 15, 2017 09:28 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 35.00/35.04 บาท/ดอลลาร์ อ่อน ค่าจากช่วงเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 34.98 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทปรับอ่อนค่าจากช่วงเย็นวาน เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐกลับมาแข็งค่าขึ้นพอสมควรหลังจากที่นางเจเน็ต เย ลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจนในเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในช่วงการแถลงรอบครึ่ง ปีต่อคณะกรรมาธิการธนาคารประจำวุฒิสภา

"เช้านี้บาทกลับไปอ่อนค่าจากเมื่อวาน คงเป็นเพราะดอลลาร์กลับมาแข็งค่าขึ้นมาก หลังจากที่นางเยเลน ออกมาส่ง สัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นในเรื่องการขึ้นดอกเบี้ย" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.95-35.10 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจ้ยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 114.28 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นที่ระดับ 113.41 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0574 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นที่ระดับ 1.0614 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.0120 บาท/
ดอลลาร์
  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ในปี 2560 น่าจะเป็นปีที่ธุรกิจนาโนไฟแนนซ์ มีการปล่อยกู้เพื่อแก้
หนี้นอกระบบได้คึกคักมากขึ้น หลังจากที่ผ่านมาผู้ประกอบการทั้งรายเล็กและรายใหญ่อยู่ระหว่างการเตรียมวางระบบให้มีความพร้อม
ทั้งการเก็บข้อมูลลูกหนี้ และเตรียมทำระบบคัดกรองลูกหนี้เพื่อป้องกันความเสี่ยง
  • ก.คลังเตรียมแก้ พ.ร.บ.เงินคงคลัง เพิ่มประสิทธิภาพบริหารสภาพคล่องระยะสั้น เปิดกว้างดึงมาใช้ประโยชน์พัฒนา
เศรษฐกิจ ปล่อยกู้ซอฟต์โลนช่วยเหลือกลุ่มเดือดร้อน
  • นักลงทุนต่างชาติหันไปลงทุนในตลาดตราสารหนี้ของไทยมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2556 อยู่ที่ 2,200 ล้านเหรียญสหรัฐ
(ราว 7.69 หมื่นล้านบาท) ในช่วงปี 2560 โดยมองว่าไทยสามารถรองรับผลกระทบจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง
สหรัฐ (เฟด) และแนวโน้มค่าเงินเหรียญสหรัฐแข็งค่าได้ในปีนี้ เนื่องจากมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูง ทุนสำรองระหว่างประเทศ
จำนวนมาก และมีอัตราเงินเฟ้อต่ำ
  • สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจยูโรโซนมีการขยายตัวในไตรมาส 4 ต่ำกว่าตัว
เลขประมาณการเบื้องต้น โดยเศรษฐกิจยูโรโซนขยายตัว 0.4% ในไตรมาส 4 เมื่อเทียบรายไตรมาส ทั้งนี้ได้รับผลกระทบจากการ
ทรุดตัวของผลผลิตในภาคอุตสาหกรรม ส่วนผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมร่วงลง 1.6% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งเป็นการ
ปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย.2012 ซึ่งขณะนั้นทรุดตัวลง 1.9%
  • ค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐทะยานขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ เกือบทั้งหมด ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้
(14 ก.พ.) ด้วยแรงหนุนจากถ้อยแถลงของนางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ย ในการแถลงรอบครึ่งปีต่อสภาคองเกรสเมื่อวานนี้ โดยประธานเฟดระบุว่าการประวิงเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนาน
เกินไปนั้น อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และอาจทำให้เฟดต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น ซึ่งจะเสี่ยงต่อการกระทบตลาดการเงิน
และฉุดเศรษฐกิจให้เข้าสู่ภาวะถดถอย
  • นักวิเคราะห์มองว่า ถ้อยแถลงของนางเยลเลน มีลักษณะที่เด็ดเดี่ยวมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ก่อนหน้านี้ ซึ่งหนุนให้ค่า
เงินดอลลาร์ทะยานขึ้นอย่างมาก โดยดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลใน
ตะกร้าเงิน ปรับตัวขึ้น 0.26% สู่ระดับ 101.220 ในการซื้อขายเมื่อคืนนี้
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนม.ค.เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่ง
สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.3% และเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.2012 โดยได้แรงหนุนจากราคาน้ำมัน
ที่พุ่งขึ้น
  • นักลงทุนยังคงจับตานางเยลเลน ซึ่งจะแถลงต่อเป็นวันที่สอง โดยในวันนี้นางเยลเลน จะแถลงต่อคณะกรรมาธิการ
บริหารการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ

นอกจากนี้ นักลงทุนยังรอดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งได้แก่ ยอดค้าปลีกเดือนม.ค., การผลิตภาค อุตสาหกรรม-อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนม.ค., สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนเดือนธ.ค., ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและ การอนุญาตก่อสร้างเดือนม.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐเดือนม.ค.โดย Conference Board


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ